สามประเทศกลุ่ม IMT-GT ผนึกกำลังฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วางแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน โต 100% จากปัจจุบันด้วยการชู 4 แนวทางกระตุ้น ทั้ง อีเวนต์ โฮมสเตย์ เมดิคัลทัวร์ และใช้เวที TTM พลัส เป็นหน้าร้านนำเสนอสินค้า กระทรวงการท่องเที่ยวฯ คึก ส่งไทยนำร่องอัดงบ 20 ล้านบาท จัดงาน IMT-GT เซเรเบรชั่น นำเสนอแหล่งท่องเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้ พร้อมดันเป็นเมดิคัลฮับในกลุ่มสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมกรอบแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย หรือ IMT-GT ได้ตกลงที่จะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันโดยจัดเป็นแผนระยะ 4-5 ปี คือ ตั้งแต่ 2552-2558 ซึ่งแผนงานดังกล่าวนี้เป็นการปรับเปลี่ยนจากแผนเดิมที่วางไว้ว่าในปี 2552 จะส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่เมื่อโลกเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และมีการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 ทำให้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถูกกระทบอย่างหนัก จึงต้องใช้ระยะเวลาที่จะส่งเสริมนานขึ้น
ในรูปแบบจะมี 3-4 แนวทางการทำงาน ได้แก่ 1.จัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่างกัน เบื้องต้นที่คิดไว้ จะเป็นอีเวนต์ประเภทการแข่งขันกีฬา เช่น เจ็ตสกี วินด์เซิร์ฟ และกอล์ฟ โดยหมุนเวียนไปจัดในสถานที่ต่างๆ ของทั้ง 3 ประเทศด้วย โดยเดือนธันวาคมนี้จะเริ่มจัดแข่งขันตีกอล์ฟ ใน 3 เมืองได้แก่ หาดใหญ่ (สงขลา), เมดาน(อินโดนีเซีย) และมาเลเซีย
2.ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ นำร่อง มาเลเซีย-ไทย โดยจะคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมประเทศละ 2-3 หมู่บ้าน จัดเป็นโปรแกรมทัวร์ 7 วัน 6 คืน เที่ยวและพักในโฮมสเตย์ของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งแนวคิดของโครงการนี้ เพราะเล็งเห็นแล้วว่า วิถีชีวิตของประชนชนของทั้ง 3 ประเทศมีความใกล้เคียงกัน นับถือศาสนาเดียวกัน และมีอาหารฮาลาล มากมาย ล่าสุดสั่งงานให้สำนักกีฬานันทนาการและการท่องเที่ยวจังหวัดในเขตภาคใต้ ไปเร่งสำรวจหมู่บ้านที่พร้อมเป็นโฮมสเตย์ รวมถึงจัดรูปแบบการทำงานมารายงานภายใน 2 เดือน จากนั้นจะเชิญสื่อมวลชนจากมาเลเซียและอินโดนีเซียเข้ามาสำรวจ
3.ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบเฮลธ์ทัวริสซึม ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมมากทั้งเรื่องการรักษาพยาบาล เทคโนโลยีการแพทย์ และการฟื้นฟูสุขภาพจิตแบบองค์รวม และชีวจิต ที่ จ.ภูเก็ต เรามีโรงพยาบาลกรุงเทพ และมีโรงแรมระดับอินเตอร์เชน มากมากที่จะรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับไฮเอนด์
“เฮลธ์ทัวริสซึม จะได้นักท่องเที่ยวคุณภาพสูงและพำนักนาน เพราะนอกจากการมารับการรักษาแล้ว บางรายต้องมีการพักฟื้น นอกจากนั้น ลักษณะการเดินทางมา ส่วนใหญ่จะมีผู้ติดตามเข้ามาดูแลด้วย ตรงนี้ก็ให้โจทย์ทางสำนักงานภาคใต้ไปคิดรูปแบบการนำเสนอเช่นกัน โดยมีจุดหมายว่า ต้องการให้ภาคใต้ขอไทยเป็นศูนย์กลางด้านเฮลธ์ทัวริสซึมของนักท่องเที่ยวใน 3 ประเทศ”
4.จะนำเสนอให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดบูทให้แก่ IMT-GT ที่งานไทยแลนด์ทราเวลมาร์ทพลัส (TTM+) ในการจัดงานคราวหน้าด้วย เพื่อนำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวของทั้ง 3 ประเทศ ให้บายเออร์ต่างชาติได้มาเห็นโปรดักส์ทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการ่วมมือของกลุ่ม IMT-GT และเพื่อให้เห็นโอกาสด้านการค้าการลงทุนในสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอขอเบิกเงินจากสำนักงบประมาณ วงเงิน 20 ล้านบาท เพื่อจัดงาน IMT-GT เซเรเบรชั่น จำนวน 2 วัน ที่หาดใหญ่ โดยมีกิจกรรมแข่งขันกีฬา และการสัมมนา โดยประเทศไทยมุ่งหวังนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวใน 14 จังหวัดภาคใต้
แผนงานครั้งนี้ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการใน 5 ปีข้างหน้า จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกันได้มากกว่าเท่าตัว หรือ 100% จากปัจจุบันที่มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากกว่าปีละ 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เดินทางทางรถยนต์ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ อ.สะเดา ส่วนนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียปัจจุบันมีราว 7 แสนคน เติบโตปีละมากกว่า 15% สิ่งสำคัญคือ จะต้องเพิ่มเที่ยวบินตรงจากเมืองเมดาน และอินหลายเมืองเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ให้มาลงที่สนามบินหาดใหญ่ สนามบินภูเก็ต และสนามบินกระบี่ เป็นต้น
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ยังกล่าวอีกว่า จากการประชุมครั้งนี้ ทางมาเลเซียได้รายงานว่า เกิดความติดขัดที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง สะเดา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลเนื่องจากมีพื้นที่คับแคบ จึงเตรียมนำเรื่องนี้หารือกับ สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และกรมศุลกากร เพื่อจัดการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมกรอบแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย หรือ IMT-GT ได้ตกลงที่จะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันโดยจัดเป็นแผนระยะ 4-5 ปี คือ ตั้งแต่ 2552-2558 ซึ่งแผนงานดังกล่าวนี้เป็นการปรับเปลี่ยนจากแผนเดิมที่วางไว้ว่าในปี 2552 จะส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่เมื่อโลกเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และมีการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 ทำให้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถูกกระทบอย่างหนัก จึงต้องใช้ระยะเวลาที่จะส่งเสริมนานขึ้น
ในรูปแบบจะมี 3-4 แนวทางการทำงาน ได้แก่ 1.จัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่างกัน เบื้องต้นที่คิดไว้ จะเป็นอีเวนต์ประเภทการแข่งขันกีฬา เช่น เจ็ตสกี วินด์เซิร์ฟ และกอล์ฟ โดยหมุนเวียนไปจัดในสถานที่ต่างๆ ของทั้ง 3 ประเทศด้วย โดยเดือนธันวาคมนี้จะเริ่มจัดแข่งขันตีกอล์ฟ ใน 3 เมืองได้แก่ หาดใหญ่ (สงขลา), เมดาน(อินโดนีเซีย) และมาเลเซีย
2.ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ นำร่อง มาเลเซีย-ไทย โดยจะคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมประเทศละ 2-3 หมู่บ้าน จัดเป็นโปรแกรมทัวร์ 7 วัน 6 คืน เที่ยวและพักในโฮมสเตย์ของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งแนวคิดของโครงการนี้ เพราะเล็งเห็นแล้วว่า วิถีชีวิตของประชนชนของทั้ง 3 ประเทศมีความใกล้เคียงกัน นับถือศาสนาเดียวกัน และมีอาหารฮาลาล มากมาย ล่าสุดสั่งงานให้สำนักกีฬานันทนาการและการท่องเที่ยวจังหวัดในเขตภาคใต้ ไปเร่งสำรวจหมู่บ้านที่พร้อมเป็นโฮมสเตย์ รวมถึงจัดรูปแบบการทำงานมารายงานภายใน 2 เดือน จากนั้นจะเชิญสื่อมวลชนจากมาเลเซียและอินโดนีเซียเข้ามาสำรวจ
3.ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบเฮลธ์ทัวริสซึม ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมมากทั้งเรื่องการรักษาพยาบาล เทคโนโลยีการแพทย์ และการฟื้นฟูสุขภาพจิตแบบองค์รวม และชีวจิต ที่ จ.ภูเก็ต เรามีโรงพยาบาลกรุงเทพ และมีโรงแรมระดับอินเตอร์เชน มากมากที่จะรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับไฮเอนด์
“เฮลธ์ทัวริสซึม จะได้นักท่องเที่ยวคุณภาพสูงและพำนักนาน เพราะนอกจากการมารับการรักษาแล้ว บางรายต้องมีการพักฟื้น นอกจากนั้น ลักษณะการเดินทางมา ส่วนใหญ่จะมีผู้ติดตามเข้ามาดูแลด้วย ตรงนี้ก็ให้โจทย์ทางสำนักงานภาคใต้ไปคิดรูปแบบการนำเสนอเช่นกัน โดยมีจุดหมายว่า ต้องการให้ภาคใต้ขอไทยเป็นศูนย์กลางด้านเฮลธ์ทัวริสซึมของนักท่องเที่ยวใน 3 ประเทศ”
4.จะนำเสนอให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดบูทให้แก่ IMT-GT ที่งานไทยแลนด์ทราเวลมาร์ทพลัส (TTM+) ในการจัดงานคราวหน้าด้วย เพื่อนำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวของทั้ง 3 ประเทศ ให้บายเออร์ต่างชาติได้มาเห็นโปรดักส์ทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการ่วมมือของกลุ่ม IMT-GT และเพื่อให้เห็นโอกาสด้านการค้าการลงทุนในสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอขอเบิกเงินจากสำนักงบประมาณ วงเงิน 20 ล้านบาท เพื่อจัดงาน IMT-GT เซเรเบรชั่น จำนวน 2 วัน ที่หาดใหญ่ โดยมีกิจกรรมแข่งขันกีฬา และการสัมมนา โดยประเทศไทยมุ่งหวังนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวใน 14 จังหวัดภาคใต้
แผนงานครั้งนี้ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการใน 5 ปีข้างหน้า จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกันได้มากกว่าเท่าตัว หรือ 100% จากปัจจุบันที่มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากกว่าปีละ 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เดินทางทางรถยนต์ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ อ.สะเดา ส่วนนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียปัจจุบันมีราว 7 แสนคน เติบโตปีละมากกว่า 15% สิ่งสำคัญคือ จะต้องเพิ่มเที่ยวบินตรงจากเมืองเมดาน และอินหลายเมืองเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ให้มาลงที่สนามบินหาดใหญ่ สนามบินภูเก็ต และสนามบินกระบี่ เป็นต้น
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ยังกล่าวอีกว่า จากการประชุมครั้งนี้ ทางมาเลเซียได้รายงานว่า เกิดความติดขัดที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง สะเดา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลเนื่องจากมีพื้นที่คับแคบ จึงเตรียมนำเรื่องนี้หารือกับ สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และกรมศุลกากร เพื่อจัดการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว