นายสุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในทศวรรษที่ 3 ของมูลนิธิฯว่า จะเปิดโอกาสให้องค์กรภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในทุกๆด้านมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ผ่านมามูลนิธิมีบทบาทของผู้ปฏิบัติและผู้ประสานงานมาตลอด จนกระทั่งปัจจุบันพบว่า มีหลายองค์กรสนใจอยากมีส่วนเข้าร่วมดำเนินโครงการเพื่อสังคมของมูลนิธิและแจ้งความจำนงเข้ามา
“กว่า 20 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิได้ดำเนินโครงการเพื่อลดจุดด้อยและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรมาโดยตลอด ก่อเกิดเป็นประสบการณ์ความรู้ เป็นโมเดลหรือรูปแบบการทำงานร่วมกับเกษตรกร เข้าใจธรรมชาติของเขาและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันพบว่ามีหลายหน่วยงานที่มองเห็นและแสดงความจำนงต้องการเข้าร่วมมือกับทางมูลนิธิ เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สังคม หน่วยงานแต่ละแห่งต่างมีจุดเด่นและข้อจำกัดกันคนละอย่าง แต่เมื่อมารวมกันแล้ว กลับทำให้เกิดพลังความร่วมมือและสร้างสรรค์สังคมได้มากยิ่งขึ้น” นายสุปรีกล่าว
ดังนั้น นับแต่นี้ไปมูลนิธิฯ จะเน้นการพัฒนาเครือข่าย (Networking) ซึ่งเปรียบการทำงานของมูลนิธิเป็นเจ้าภาพจัดการโครงการ หรือ Organizer โดยนำรูปแบบโครงการที่สำเร็จแล้วไปขยายผล ยกตัวอย่างเช่น โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่ต้องถ่ายทอดความรู้และการจัดการอย่างเป็นระบบ ที่ผ่านมามูลนิธิอาจใช้เวลาถึง 20 ปีในการดำเนินโครงการให้ได้ 278 โรงเรียน แต่ในปี 2552 นี้ มูลนิธิอาจสามารถดำเนินโครงการได้ราว 80-100 แห่งภายในปีเดียว เนื่องจากได้รับความสนใจจากโรงเรียนต่างๆ ขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง ตลอดจน NGO ต่างๆที่มีงบประมาณสนับสนุนแต่ขาดแคลนบุคลากรผู้ลงมือทำ ก็ได้แสดงความต้องการเข้าร่วมโครงการด้วย กรณีเช่นนี้ มูลนิธิฯ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการดำเนินโครงการฯ จะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการฯ ของแต่ละโรงเรียน และเชิญชวนมาเป็นเจ้าภาพร่วมในการดำเนินการ เป็นต้น
นอกจากนี้ มูลนิธิฯยังเน้นการดำเนินโครงการตามพระราชดำริในโครงการอื่นๆด้วย ได้แก่ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ 14 สหกรณ์ ในพื้นที่ 8 จังหวัด โครงการศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนเกษตรห้วยทราย โครงการนักเรียนทุนในพระราชานุเคราะห์ โครงการพัฒนาอาชีพพื้นที่ตำบลปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา และโครงการครอบครัวอุปการะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนางานเกษตรกรรมอย่างรอบด้าน
“หน่วยงาน หรือองค์กรใดที่ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือประสงค์จะร่วมกับมูลนิธิเพื่อพัฒนาสังคมในโครงการตางๆ ที่มูลนิธิดำเนินการอยู่ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 02-625-7342” นายสุปรีกล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในอันที่จะดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในงานพัฒนาสังคมขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“กว่า 20 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิได้ดำเนินโครงการเพื่อลดจุดด้อยและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรมาโดยตลอด ก่อเกิดเป็นประสบการณ์ความรู้ เป็นโมเดลหรือรูปแบบการทำงานร่วมกับเกษตรกร เข้าใจธรรมชาติของเขาและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันพบว่ามีหลายหน่วยงานที่มองเห็นและแสดงความจำนงต้องการเข้าร่วมมือกับทางมูลนิธิ เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สังคม หน่วยงานแต่ละแห่งต่างมีจุดเด่นและข้อจำกัดกันคนละอย่าง แต่เมื่อมารวมกันแล้ว กลับทำให้เกิดพลังความร่วมมือและสร้างสรรค์สังคมได้มากยิ่งขึ้น” นายสุปรีกล่าว
ดังนั้น นับแต่นี้ไปมูลนิธิฯ จะเน้นการพัฒนาเครือข่าย (Networking) ซึ่งเปรียบการทำงานของมูลนิธิเป็นเจ้าภาพจัดการโครงการ หรือ Organizer โดยนำรูปแบบโครงการที่สำเร็จแล้วไปขยายผล ยกตัวอย่างเช่น โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่ต้องถ่ายทอดความรู้และการจัดการอย่างเป็นระบบ ที่ผ่านมามูลนิธิอาจใช้เวลาถึง 20 ปีในการดำเนินโครงการให้ได้ 278 โรงเรียน แต่ในปี 2552 นี้ มูลนิธิอาจสามารถดำเนินโครงการได้ราว 80-100 แห่งภายในปีเดียว เนื่องจากได้รับความสนใจจากโรงเรียนต่างๆ ขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานเอกชนหลายแห่ง ตลอดจน NGO ต่างๆที่มีงบประมาณสนับสนุนแต่ขาดแคลนบุคลากรผู้ลงมือทำ ก็ได้แสดงความต้องการเข้าร่วมโครงการด้วย กรณีเช่นนี้ มูลนิธิฯ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการดำเนินโครงการฯ จะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการฯ ของแต่ละโรงเรียน และเชิญชวนมาเป็นเจ้าภาพร่วมในการดำเนินการ เป็นต้น
นอกจากนี้ มูลนิธิฯยังเน้นการดำเนินโครงการตามพระราชดำริในโครงการอื่นๆด้วย ได้แก่ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ 14 สหกรณ์ ในพื้นที่ 8 จังหวัด โครงการศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนเกษตรห้วยทราย โครงการนักเรียนทุนในพระราชานุเคราะห์ โครงการพัฒนาอาชีพพื้นที่ตำบลปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา และโครงการครอบครัวอุปการะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนางานเกษตรกรรมอย่างรอบด้าน
“หน่วยงาน หรือองค์กรใดที่ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือประสงค์จะร่วมกับมูลนิธิเพื่อพัฒนาสังคมในโครงการตางๆ ที่มูลนิธิดำเนินการอยู่ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 02-625-7342” นายสุปรีกล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในอันที่จะดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในงานพัฒนาสังคมขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว