ส.วิจัยการตลาดฯ ชี้ ม็อบเสื้อแดงมีผลฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว ทั้งที่ 3 เดือนของการทำงานของรัฐบาล “อภิสิทธิ์” ผลสำรวจชี้ คนกรุงเทพฯพอใจ เรียกความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจคืนมาได้บ้างแล้ว แต่ปัญหาเศรษฐกิจโลก กระทบกำลังซื้อชะลอตัว เปลี่ยนพฤติกรรมเป็นแบบพอเพียง ชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและท่องเที่ยววูบกว่า 10% ส่วนภาวะสินค้าราคาแพงส่งผลค่าครองชีพพุ่ง ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคปรับขึ้น 21% เตือนผู้ประกอบการเร่งลดต้นทุนการทำงาน มองหาตลาดใหม่ลดเสี่ยง
นางสาววิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัย ThaiView ซึ่งสมาคมฯได้จัดทำขึ้นจากการสำรวจคนกรุงเทพฯ อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 500 คน ในช่วง วันที่ 5-13 มี.ค.52 เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า มีจำนวนคนที่เชื่อมั่นกับเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 31% บวก 11% จาก 6 เดือนก่อนที่มีความเชื่อมั่นเพียง 20% สาเหตุเพราะเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ต่างจากรัฐบาลชุดก่อนที่ไม่มีผลงานอะไรออกมามากนัก จากตัวเลขดังกล่าวเป็นที่ตอกย้ำได้ชัดเจนว่า ความมั่นใจทางการเมืองย่อมมีผลกับสภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลจำนวนผู้ไม่เครียดขึ้นมาอยู่ที่ 28% จาก 6 เดือนก่อนอยู่ที่ 21%
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้คนกรุงเทพมากที่สุดยังคงเป็นเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยมีสัดส่วนถึง 47% รองลงมาคือ ความไม่มั่นคงทางการเมือง โดยกลังว่าจะส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลขาดความต่อเนื่อง มีสัดส่วน 30% อันดับ 3 คือปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งจะทำให้โยงไปถึงเรื่องการใจ้จ่ายในการรักษาพยาบาลในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้ โดยมีสัดส่วนที่ 26%
ทั้งนี้จากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายคนกรุงเทพเปลี่ยนแปลง ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง จับจ่ายเท่าที่จำเป็น เพราะ 3 ใน 4 เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจมีผลกระทบจากการดำรงชีวิต โดย 67% เห็นว่าควรจะชะลอการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน สอดคล้องกับลักษระการจับจ่าย โดยหมวดสินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่มมีตัวเลขจำนวนคนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 21% มูลค่าเงินที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 9.7% ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากสินค้าปรับขึ้นราคา หมวดการศึกษา ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 16.1% เนื่องจากคนหันมาศึกษาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมเพื่อการแข่งขัน โดยอาศัยช่วงที่เศรษฐกิจและการค้าที่ไม่ดี งานหายาก ในการศึกษาต่อ ส่วนหมวดสินค้าฟุ่มเฟื่อย บันเทิงท่องเที่ยวและลงทุน ใช้จ่ายลดลงหมวดละ 4-11% นอกจากนั้น 42% คนกรุงเทพฯยังมีภาระเรื่องหนี้สิน และมีภาระต้องจ่ายหนี้เพิ่มขึ้น 13% สาเหตุมาจากรายได้ที่ลดลง แต่ค่าครองชีพสูงขึ้น
“ตอนนี้พฤติกรรมคนกรุงเทพเปลี่ยน ลดกิจกรรมนอกบ้าน หันสร้างกิจกรรมภายในครอบครัวที่บ้านเพิ่มขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้นสินค้าที่ตอบสนองได้ดี คือกลุ่มสร้างความเอ็นเตอร์เทนภายในบ้านได้ ตลอดจนบริการเดลิเวอรี่ รูปแบบการสร้างที่พักอาศัยก็จะเพิ่มฟังก์ชั่นพื้นที่ใช้สอย มีห้องแฟมิลี่รูม เป็นต้น”
อย่างไรก็ตามจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้นำเสนออกมาอย่างต่อเนื่อง มี 3 มาตรการที่คนกรุงเทพฯเชื่อว่าจะช่วยได้มาก ได้แก่ มาตรการต่ออายุการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟฟ เบี้ยยังชีพคนชรา และ มาตรการเรียนฟรี 15 ปี ขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับมาตรการมอบเงิน 2,000 บาทให้แก่ผู้ประกันตนที่เงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท โดย 80% ของผู้ที่ได้รับเงินจะนำไปใช้จ่ายจริง ที่เหลือเก็บออม และ ใช้หนี้ พร้อมต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องของลดภาระค่าครอบชีพ ลดราคาสินค้าจำเป็นพื้นฐาน และราคาน้ำมัน
นางสาววิริยา กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ ดำเนินการก่อนที่จะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่า หากสถานการณ์ความวุ่ยวายทางการเมืองยืดเยื้อเกินกว่า 1 เดือนนับจากนี้ จะส่งผลกระทบให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของคนกรุงเทพฯลดลง เกิดชะลอการจับจ่าย ซึ่งผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวในเรื่องของลดต้นทุนการบริหารจัดการ ชะลอการเปิดตัวสินค้าใหม่ ส่วนภาคส่งออกต้องเปิดตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการบริโภคของตลาดหลักอย่าง ยุโรป อเมริการที่ลดลงเพราะภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้นขอเตือนการทำงานของรัฐบาลว่า ให้มีการทำงานที่ต่อเนื่องอย่าสะดุดขาตัวเอง และ ปัญหาปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะโครงการต้นกล้าอาชีพ เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน มีแบบแผนการทำงานต่อเนื่อง และทุกฝ่ายทั้งรัฐและประชาชนต้องร่วมมือทำจริง ก็จะสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจ สร้างกำลังซื้อให้กลับคืนได้
นางสาววิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัย ThaiView ซึ่งสมาคมฯได้จัดทำขึ้นจากการสำรวจคนกรุงเทพฯ อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 500 คน ในช่วง วันที่ 5-13 มี.ค.52 เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า มีจำนวนคนที่เชื่อมั่นกับเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 31% บวก 11% จาก 6 เดือนก่อนที่มีความเชื่อมั่นเพียง 20% สาเหตุเพราะเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ต่างจากรัฐบาลชุดก่อนที่ไม่มีผลงานอะไรออกมามากนัก จากตัวเลขดังกล่าวเป็นที่ตอกย้ำได้ชัดเจนว่า ความมั่นใจทางการเมืองย่อมมีผลกับสภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลจำนวนผู้ไม่เครียดขึ้นมาอยู่ที่ 28% จาก 6 เดือนก่อนอยู่ที่ 21%
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้คนกรุงเทพมากที่สุดยังคงเป็นเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยมีสัดส่วนถึง 47% รองลงมาคือ ความไม่มั่นคงทางการเมือง โดยกลังว่าจะส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลขาดความต่อเนื่อง มีสัดส่วน 30% อันดับ 3 คือปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งจะทำให้โยงไปถึงเรื่องการใจ้จ่ายในการรักษาพยาบาลในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้ โดยมีสัดส่วนที่ 26%
ทั้งนี้จากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายคนกรุงเทพเปลี่ยนแปลง ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง จับจ่ายเท่าที่จำเป็น เพราะ 3 ใน 4 เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจมีผลกระทบจากการดำรงชีวิต โดย 67% เห็นว่าควรจะชะลอการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน สอดคล้องกับลักษระการจับจ่าย โดยหมวดสินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่มมีตัวเลขจำนวนคนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 21% มูลค่าเงินที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 9.7% ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากสินค้าปรับขึ้นราคา หมวดการศึกษา ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 16.1% เนื่องจากคนหันมาศึกษาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมเพื่อการแข่งขัน โดยอาศัยช่วงที่เศรษฐกิจและการค้าที่ไม่ดี งานหายาก ในการศึกษาต่อ ส่วนหมวดสินค้าฟุ่มเฟื่อย บันเทิงท่องเที่ยวและลงทุน ใช้จ่ายลดลงหมวดละ 4-11% นอกจากนั้น 42% คนกรุงเทพฯยังมีภาระเรื่องหนี้สิน และมีภาระต้องจ่ายหนี้เพิ่มขึ้น 13% สาเหตุมาจากรายได้ที่ลดลง แต่ค่าครองชีพสูงขึ้น
“ตอนนี้พฤติกรรมคนกรุงเทพเปลี่ยน ลดกิจกรรมนอกบ้าน หันสร้างกิจกรรมภายในครอบครัวที่บ้านเพิ่มขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้นสินค้าที่ตอบสนองได้ดี คือกลุ่มสร้างความเอ็นเตอร์เทนภายในบ้านได้ ตลอดจนบริการเดลิเวอรี่ รูปแบบการสร้างที่พักอาศัยก็จะเพิ่มฟังก์ชั่นพื้นที่ใช้สอย มีห้องแฟมิลี่รูม เป็นต้น”
อย่างไรก็ตามจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้นำเสนออกมาอย่างต่อเนื่อง มี 3 มาตรการที่คนกรุงเทพฯเชื่อว่าจะช่วยได้มาก ได้แก่ มาตรการต่ออายุการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟฟ เบี้ยยังชีพคนชรา และ มาตรการเรียนฟรี 15 ปี ขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับมาตรการมอบเงิน 2,000 บาทให้แก่ผู้ประกันตนที่เงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท โดย 80% ของผู้ที่ได้รับเงินจะนำไปใช้จ่ายจริง ที่เหลือเก็บออม และ ใช้หนี้ พร้อมต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องของลดภาระค่าครอบชีพ ลดราคาสินค้าจำเป็นพื้นฐาน และราคาน้ำมัน
นางสาววิริยา กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ ดำเนินการก่อนที่จะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่า หากสถานการณ์ความวุ่ยวายทางการเมืองยืดเยื้อเกินกว่า 1 เดือนนับจากนี้ จะส่งผลกระทบให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของคนกรุงเทพฯลดลง เกิดชะลอการจับจ่าย ซึ่งผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวในเรื่องของลดต้นทุนการบริหารจัดการ ชะลอการเปิดตัวสินค้าใหม่ ส่วนภาคส่งออกต้องเปิดตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการบริโภคของตลาดหลักอย่าง ยุโรป อเมริการที่ลดลงเพราะภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้นขอเตือนการทำงานของรัฐบาลว่า ให้มีการทำงานที่ต่อเนื่องอย่าสะดุดขาตัวเอง และ ปัญหาปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะโครงการต้นกล้าอาชีพ เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน มีแบบแผนการทำงานต่อเนื่อง และทุกฝ่ายทั้งรัฐและประชาชนต้องร่วมมือทำจริง ก็จะสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจ สร้างกำลังซื้อให้กลับคืนได้