ททท.เตรียมพิมพ์หนังสือคู่มือท่องเที่ยวปฏิบัติธรรม ฉบับภาษาอังกฤษ แจกนักท่องเที่ยวชาวพุทธ หวังบูมไทยเป็นเมคิเตชัน ด้านการปฏิบัติธรรม ลดกระแสคนเครียดจากพิษเศรษฐกิจ นำร่องสำรวจแล้ว 54 แหล่งปฏิบัติธรรม ด้านตลาดต่างประเทศ เผย กลยุทธ์ปี 53 ยันใช้สโลแกน อะเมซิ่งไทยแลนด์ อะเมซิ่งแวลู ย้ำจุดยื่นที่ความคุ้มค่า
นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเภทแหล่งปฎิบัติธรรม โดยจะพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้สำหรับแจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยว และบริษัททัวร์ในต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2553
โดยอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ประเภทที่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม วิปัสสนา กรรมฐาน
ล่าสุด มีรายงานสถานที่ตามที่กล่าวตอบรับมาแล้ว 23 แห่ง จากทั้งหมด 54 แห่ง ที่ ททท.ได้ทำการสำรวจว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่เข้าไปปฏิบัติธรรมจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่แต่ละแห่งอย่างเคร่งครัด ซึ่ง ททท.จะยังคงสำรวจและส่งหนังสือไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายนนี้ คาดว่า จะสรุปจำนวนสถานที่ได้ จากนั้นจึงนำมาจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม
นายอักกพล กล่าวว่า โครงการนี้ ททท.จุดประสงค์ของการส่งเสริม ไม่ใช่เพื่อต้องการลบภาพแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย ในบางแห่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ มองว่า เป็นแหล่งบันเทิง หรือ ไนต์ไลฟ์ แต่ต้องการชูจุดขายมุมมองใหม่ของประเทศไทยในฐานะที่เป็นเมืองพุทธศาสนาให้มีความโดดเด่นขึ้น
ปัจจุบันนี้ผู้คนกำลังตกอยู่ในภาวะความเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และกำลังขยายวงกว้างไปทั่วโลก หากนักท่องเที่ยวจะปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว เพื่อผ่อนคลายความเครียดด้วยการปฎิบัติธรรมก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี
สำหรับตลาดเป้าหมายของกลุ่มปฏิบัติธรรมนี้ สามารถครอบคลุมได้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่ก็นับถือศาสนาพุทธเช่นกัน ส่วนตลาด ยุโรป อเมริกา ก็เริ่มให้ความสนใจกับพุทธศาสนามากขึ้น โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ตลาดต่างประเทศของ ททท.ที่ฉวยวิกฤต เป็นโอกาส
ด้าน นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศ ททท.กล่าวว่า ปีงบประมาณ 2553 ตลาดต่างประเทศยังคงเสนอยุทธศาสตร์การตลาด ภายใต้สโลแกน อะเมซิ่งไทยแลนด์ อะเมซิ่งแวลู เพื่อใช้ต่อเนื่องจากปีนี้ เพราะต้องการตอกย้ำสร้างการจดจำแบรนด์ให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้เห็นถึงความคุ้มค่าเงินเมื่อมาเที่ยวประเทศไทย สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก เบื้องต้นคาดว่าจะใช้สโลแกนนี้อีกราว 1-2 ปี เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องภาคเอกชนก็สามารถคิดนำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย
โดยในเดือนเมษายนนี้จะเรียกประชุมผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.ในต่างประเทศทุกแห่ง เพื่อระดมความคิดวางกรอบให้ชัดเจนก่อนนำเสนอที่ประชุมใหญ่ในเดือนมิถุยายน
นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ททท.อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเภทแหล่งปฎิบัติธรรม โดยจะพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้สำหรับแจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยว และบริษัททัวร์ในต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2553
โดยอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ประเภทที่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม วิปัสสนา กรรมฐาน
ล่าสุด มีรายงานสถานที่ตามที่กล่าวตอบรับมาแล้ว 23 แห่ง จากทั้งหมด 54 แห่ง ที่ ททท.ได้ทำการสำรวจว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่เข้าไปปฏิบัติธรรมจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่แต่ละแห่งอย่างเคร่งครัด ซึ่ง ททท.จะยังคงสำรวจและส่งหนังสือไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายนนี้ คาดว่า จะสรุปจำนวนสถานที่ได้ จากนั้นจึงนำมาจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม
นายอักกพล กล่าวว่า โครงการนี้ ททท.จุดประสงค์ของการส่งเสริม ไม่ใช่เพื่อต้องการลบภาพแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย ในบางแห่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ มองว่า เป็นแหล่งบันเทิง หรือ ไนต์ไลฟ์ แต่ต้องการชูจุดขายมุมมองใหม่ของประเทศไทยในฐานะที่เป็นเมืองพุทธศาสนาให้มีความโดดเด่นขึ้น
ปัจจุบันนี้ผู้คนกำลังตกอยู่ในภาวะความเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และกำลังขยายวงกว้างไปทั่วโลก หากนักท่องเที่ยวจะปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว เพื่อผ่อนคลายความเครียดด้วยการปฎิบัติธรรมก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี
สำหรับตลาดเป้าหมายของกลุ่มปฏิบัติธรรมนี้ สามารถครอบคลุมได้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่ก็นับถือศาสนาพุทธเช่นกัน ส่วนตลาด ยุโรป อเมริกา ก็เริ่มให้ความสนใจกับพุทธศาสนามากขึ้น โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ตลาดต่างประเทศของ ททท.ที่ฉวยวิกฤต เป็นโอกาส
ด้าน นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศ ททท.กล่าวว่า ปีงบประมาณ 2553 ตลาดต่างประเทศยังคงเสนอยุทธศาสตร์การตลาด ภายใต้สโลแกน อะเมซิ่งไทยแลนด์ อะเมซิ่งแวลู เพื่อใช้ต่อเนื่องจากปีนี้ เพราะต้องการตอกย้ำสร้างการจดจำแบรนด์ให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้เห็นถึงความคุ้มค่าเงินเมื่อมาเที่ยวประเทศไทย สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลก เบื้องต้นคาดว่าจะใช้สโลแกนนี้อีกราว 1-2 ปี เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องภาคเอกชนก็สามารถคิดนำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย
โดยในเดือนเมษายนนี้จะเรียกประชุมผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.ในต่างประเทศทุกแห่ง เพื่อระดมความคิดวางกรอบให้ชัดเจนก่อนนำเสนอที่ประชุมใหญ่ในเดือนมิถุยายน