ฟาสต์ฟูด-อาหารญี่ปุ่น คึก ขาใหญ่แอ่นอกโชว์ยอดขายปี 51 พุ่งสุดๆ ไล่เรียงตั้งแต่ “เคเอฟซี-พิซซ่าฮัท-แมคโดนัลด์-โออิชิ” จับตาการรุกปี 52 รอยยิ้มจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่
ตลาดฟาสต์ฟูดกว่า 14,000 ล้านบาท ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากพิษภัยเศรษฐกิจเท่าใดนัก โดยเฉพาะเมื่อโฟกัสไปที่ผู้ประกอบการรายใหญ่แบรนด์ดังอย่าง เคเอฟซี พิซซ่าฮัท แมคโดนัลด์ เป็นต้น ซึ่งต่างก็ล้วนแต่บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ยอดขายยังเติบโตดีอยู่ ไม่ต้องห่วง
โดยไก่ทอดแบรนด์เคเอฟซีมีผลประกอบการปี 2551 เติบโตมากถึง 14% และเปิดสาขาปีที่แล้วได้มากถึง 51 สาขา ขณะที่แบรนด์พิซซ่าฮัทมีรายได้เติบโต 12% และเปิดสาขาใหม่ได้ 12 แห่ง ส่วนแบรนด์แมคโดนัลด์นั้น ก็เติบโตถึง 20% (ส่วนสาขาเดิมเติบโต 13%) และเปิดสาขาใหม่ไม่ต่ำกว่า 10 แห่งเช่นกัน
ขณะที่ในฟากของอาหารญี่ปุ่น ซึ่งมีแบรนด์โออิชิเป็นผู้นำตลาด ก็ออกอาการลิงโลดไม่น้อย กับยอดขายปีที่แล้วที่เติบโตกว่า 30% เป็นอัตราเลข 2 หลักครั้งแรกในรอบ 9 ปีเลยก็ว่าได้ จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในอัตราหลักเดียวมาโดยตลอด
ทั้งๆ ที่ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองก็ยังตกอยู่ในวังวนของปัญหา และความไม่เน่นอนตลอดเวลา แม้ว่าช่วงนี้จะเริ่มดูเข้าที่เข้าทางแล้วก็ตาม
ทว่า การเติบโตและอยู่รอดได้ของฟาสต์ฟูดและร้านอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่เหล่านี้ แน่นอนว่า ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ เลย สิ่งที่ช่วยให้รอดพ้นภาวะอันแวนลำบากมาได้ ก็คือ กลยุทธ์การตลาด เท่านั้น อีกทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและปัจจัยการเมืองก็ยังคุกรุ่นอยู่
ผู้บริหารแต่ละค่ายเขาคิดกันอย่างไร
“ปีนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าเศรษฐกิจและการเมืองจะเป็นอย่างไร แต่คิดว่า สถานการณ์ก็คงยังแย่อยู่ อย่าไปคาดหวังว่าปีนี้จะมีตัวช่วยอะไรมาช่วย เราต้องกังวลให้มากๆ กับสถานการณ์ เพราะจะเป็นบ่อเกิดให้เราต้องคิด ต้องฝ่าฟันไปให้ได้” เป็นคำกล่าวของ นายศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารร้านเคเอฟซี และ พิซซ่าฮัท ประเทศไทย
อีกมุมมองหนึ่งจาก นายไพศาล อ่วสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราต้องปรับตัวตลอดตามสถานการณ์ เน้นกลยุทธ์เพิ่มยอดขายแต่ไม่เพิ่มราคา สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งโดยเฉพาะเมนูอาหาร จะยิ่งทำให้ได้ลูกค้ามากขึ้น
นายเฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้บริหารร้านแมคโดนัลด์ เผยว่า ทุกอย่างทุกธุรกิจมีทั้งแง่ลบและแง่บวก แต่เราควรมองในแง่บวกจะได้มีกำลังที่จะทำต่อได้ ถ้ามัวแต่ไปคิดว่าไม่ดี ไม่ดี มันก็จะแย่ไปหมดจริงๆ และที่สำคัญเราต้องควบคุมต้นทุนให้ดีซึ่งที่ผ่านมาเราก็คุยกับซัปพลายเออร์ตลอด ว่าถ้าเราสามารถเพิ่มยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบได้ ก็ขอให้ราคาวัตถุดิบที่ดีกับเรา
บทสรุปจาก 3 ผู้บริหารนี้ เสมือนหนึ่งว่า 1.ต้องขยันคิดขยันทำ 2.ต้องสร้างความแตกต่าง และ 3.ต้องบริหารจัดการและควบคุมต้นทุนให้ได้ในภาวะวิกฤต
ความสำเร็จของปี 2551 ที่ผ่านมา ส่งผลให้แต่ละค่ายเหล่านี้มีความมั่นใจกับแผนงานที่จะก้าวต่อไปในปีวัวนี้
ค่ายยัมเตรียมงบรวมทั้ง 2 แบรนด์ ซึ่งร่วมกับทางกลุ่มเซ็นทรัลไว้ที่ 1,800 ล้านบาท (ของยัม 70%, ของกลุ่มเซ็นทรัล 30%) ปูพรมทยอยเปิดสาขาของเคเอฟซีประมาณ 92 สาขา ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มีรวม 450 สาขา จากปัจจุบันที่มี 360 สาขา และเปิดร้านพิซซ่าฮัทอีกกว่า 22 สาขา คาดว่า ถึงสิ้นนี้จะมีสาขาพิซซ่าฮัท รวม 108 สาขา ขณะนี้มี 88 สาขาแล้ว
ปีนี้ ยัม ยังคาดหวังอัตราการเติบโตโดยรวมไว้ที่ 25% อีกด้วย ซึ่งไม่น้อยเลย
ขณะที่ แมคโดนัลด์ ก็ตั้งป้อมรุกอย่างเต็มที่ กับงบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อรุกอีกไม่ต่ำกว่า 17 สาขาในปีนี้ ซึ่งจะมีทุกรูปแบบ ที่สำคัญ เกือบครึ่งหนึ่งจะเปิดเป็นแบบไดร์ฟทรู ที่สำคัญกว่านั้น คือ ในปีนี้จะมีลูกเล่นใหม่ของแมคโดนัดล์ที่จะสวมบทบาทการเป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อให้เช่า ด้วยซึ่งแผนดังกล่าวนี้แมคโดนัลด์ได้เช่าที่ดินมาจำนวน 3 ไร่ แบ่งเปิดเป็นแมคโดนัลด์ 1 ไร่ ส่วนอีก 2 ไร่พัฒนาเป็นร้านค้าเช่า อยู่ทางด้านเหนือของกรุงเทพฯ คาดว่าจะเปิดบริการเร็วๆ นี้
แมคโดนัดล์ก็ยังมั่นใจกับการเติบโตที่ไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว
ด้าน โออิชิ ก็ไม่น้อยหน้า กับงบประมาณที่เตรียมไว้กว่า 200 ล้านบาท เปิดสาขาทุกรูปแบบทุกแบรนด์รวมกันกว่า 20 สาขา
คงต้องจับตาดูถึงกลยุทธ์ในการรุกตลาดของขาใหญ่เหล่านี้
ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่า จะเกิดอะไรที่รุนแรงขึ้นมาในปีนี้อีกหรือไม่
ตลาดฟาสต์ฟูดกว่า 14,000 ล้านบาท ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากพิษภัยเศรษฐกิจเท่าใดนัก โดยเฉพาะเมื่อโฟกัสไปที่ผู้ประกอบการรายใหญ่แบรนด์ดังอย่าง เคเอฟซี พิซซ่าฮัท แมคโดนัลด์ เป็นต้น ซึ่งต่างก็ล้วนแต่บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ยอดขายยังเติบโตดีอยู่ ไม่ต้องห่วง
โดยไก่ทอดแบรนด์เคเอฟซีมีผลประกอบการปี 2551 เติบโตมากถึง 14% และเปิดสาขาปีที่แล้วได้มากถึง 51 สาขา ขณะที่แบรนด์พิซซ่าฮัทมีรายได้เติบโต 12% และเปิดสาขาใหม่ได้ 12 แห่ง ส่วนแบรนด์แมคโดนัลด์นั้น ก็เติบโตถึง 20% (ส่วนสาขาเดิมเติบโต 13%) และเปิดสาขาใหม่ไม่ต่ำกว่า 10 แห่งเช่นกัน
ขณะที่ในฟากของอาหารญี่ปุ่น ซึ่งมีแบรนด์โออิชิเป็นผู้นำตลาด ก็ออกอาการลิงโลดไม่น้อย กับยอดขายปีที่แล้วที่เติบโตกว่า 30% เป็นอัตราเลข 2 หลักครั้งแรกในรอบ 9 ปีเลยก็ว่าได้ จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในอัตราหลักเดียวมาโดยตลอด
ทั้งๆ ที่ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองก็ยังตกอยู่ในวังวนของปัญหา และความไม่เน่นอนตลอดเวลา แม้ว่าช่วงนี้จะเริ่มดูเข้าที่เข้าทางแล้วก็ตาม
ทว่า การเติบโตและอยู่รอดได้ของฟาสต์ฟูดและร้านอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่เหล่านี้ แน่นอนว่า ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ เลย สิ่งที่ช่วยให้รอดพ้นภาวะอันแวนลำบากมาได้ ก็คือ กลยุทธ์การตลาด เท่านั้น อีกทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและปัจจัยการเมืองก็ยังคุกรุ่นอยู่
ผู้บริหารแต่ละค่ายเขาคิดกันอย่างไร
“ปีนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าเศรษฐกิจและการเมืองจะเป็นอย่างไร แต่คิดว่า สถานการณ์ก็คงยังแย่อยู่ อย่าไปคาดหวังว่าปีนี้จะมีตัวช่วยอะไรมาช่วย เราต้องกังวลให้มากๆ กับสถานการณ์ เพราะจะเป็นบ่อเกิดให้เราต้องคิด ต้องฝ่าฟันไปให้ได้” เป็นคำกล่าวของ นายศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารร้านเคเอฟซี และ พิซซ่าฮัท ประเทศไทย
อีกมุมมองหนึ่งจาก นายไพศาล อ่วสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราต้องปรับตัวตลอดตามสถานการณ์ เน้นกลยุทธ์เพิ่มยอดขายแต่ไม่เพิ่มราคา สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งโดยเฉพาะเมนูอาหาร จะยิ่งทำให้ได้ลูกค้ามากขึ้น
นายเฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้บริหารร้านแมคโดนัลด์ เผยว่า ทุกอย่างทุกธุรกิจมีทั้งแง่ลบและแง่บวก แต่เราควรมองในแง่บวกจะได้มีกำลังที่จะทำต่อได้ ถ้ามัวแต่ไปคิดว่าไม่ดี ไม่ดี มันก็จะแย่ไปหมดจริงๆ และที่สำคัญเราต้องควบคุมต้นทุนให้ดีซึ่งที่ผ่านมาเราก็คุยกับซัปพลายเออร์ตลอด ว่าถ้าเราสามารถเพิ่มยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบได้ ก็ขอให้ราคาวัตถุดิบที่ดีกับเรา
บทสรุปจาก 3 ผู้บริหารนี้ เสมือนหนึ่งว่า 1.ต้องขยันคิดขยันทำ 2.ต้องสร้างความแตกต่าง และ 3.ต้องบริหารจัดการและควบคุมต้นทุนให้ได้ในภาวะวิกฤต
ความสำเร็จของปี 2551 ที่ผ่านมา ส่งผลให้แต่ละค่ายเหล่านี้มีความมั่นใจกับแผนงานที่จะก้าวต่อไปในปีวัวนี้
ค่ายยัมเตรียมงบรวมทั้ง 2 แบรนด์ ซึ่งร่วมกับทางกลุ่มเซ็นทรัลไว้ที่ 1,800 ล้านบาท (ของยัม 70%, ของกลุ่มเซ็นทรัล 30%) ปูพรมทยอยเปิดสาขาของเคเอฟซีประมาณ 92 สาขา ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มีรวม 450 สาขา จากปัจจุบันที่มี 360 สาขา และเปิดร้านพิซซ่าฮัทอีกกว่า 22 สาขา คาดว่า ถึงสิ้นนี้จะมีสาขาพิซซ่าฮัท รวม 108 สาขา ขณะนี้มี 88 สาขาแล้ว
ปีนี้ ยัม ยังคาดหวังอัตราการเติบโตโดยรวมไว้ที่ 25% อีกด้วย ซึ่งไม่น้อยเลย
ขณะที่ แมคโดนัลด์ ก็ตั้งป้อมรุกอย่างเต็มที่ กับงบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อรุกอีกไม่ต่ำกว่า 17 สาขาในปีนี้ ซึ่งจะมีทุกรูปแบบ ที่สำคัญ เกือบครึ่งหนึ่งจะเปิดเป็นแบบไดร์ฟทรู ที่สำคัญกว่านั้น คือ ในปีนี้จะมีลูกเล่นใหม่ของแมคโดนัดล์ที่จะสวมบทบาทการเป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อให้เช่า ด้วยซึ่งแผนดังกล่าวนี้แมคโดนัลด์ได้เช่าที่ดินมาจำนวน 3 ไร่ แบ่งเปิดเป็นแมคโดนัลด์ 1 ไร่ ส่วนอีก 2 ไร่พัฒนาเป็นร้านค้าเช่า อยู่ทางด้านเหนือของกรุงเทพฯ คาดว่าจะเปิดบริการเร็วๆ นี้
แมคโดนัดล์ก็ยังมั่นใจกับการเติบโตที่ไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว
ด้าน โออิชิ ก็ไม่น้อยหน้า กับงบประมาณที่เตรียมไว้กว่า 200 ล้านบาท เปิดสาขาทุกรูปแบบทุกแบรนด์รวมกันกว่า 20 สาขา
คงต้องจับตาดูถึงกลยุทธ์ในการรุกตลาดของขาใหญ่เหล่านี้
ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่า จะเกิดอะไรที่รุนแรงขึ้นมาในปีนี้อีกหรือไม่