xs
xsm
sm
md
lg

ททท.รุกอีคอมเมิร์ซขยายฐาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ททท.จับมือ “โฮเต็ล ฮับ-ภาสา อินเตอร์เมชั่น” เปิดตลาดด้านอีคอมเมิร์ซให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย หวังปลดล็อกการหาข้อมูลแบบเดิมที่ต้องเสิร์ชเอนจิ้นเท่านั้น  

นายสุรพล เศวตเศรนี  รองผู้ว่าด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า  ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท ภาสา อินเตอร์เมชั่น จำกัด  เปิดตัวบริการ “นามไทย” นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตและเข้าถึงข้อมูลด้านการท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก รวดเร็วด้วยภาษาไทย โดยคาดหวังว่า โครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนไทยทั่วประเทศและทั่วโลกค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวได้ง่ายๆ ถือเป็นการขยายฐานให้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นหาข้อมูลด้านท่องเที่ยวได้ครอบคลุมทุกเพศวัย เพราะในแต่ละปี ททท.มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมท่องเที่ยวมากกว่า 2,200 งาน ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยรับรู้ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ติดเรื่องการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนั้นยังจับมือกับ บริษัท โฮเต็ล ฮับ จำกัด ทำโครงการ Amazing Thailand ePlaza โดยหวังให้กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย ได้มีหน้าร้านในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ เป็นของตัวเอง เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันสู่กับต่างชาติ โดยเฉพาะ กลุ่ม โฮมสเตย์ ,รถเช่า ,เกสเฮ้าส์ ,โรงแรมขนาดเล็ก โดยเข้าไปที่ www.Tourismthailand.org/ePlaza

นายไผทสันต์ โพธิทัต กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ภาสา อินเตอร์เมชั่น จำกัด  กล่าวว่า  ได้ร่วมกับเน็ตเปีย ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีจากประเทศเกาหลี โดยการเชื่อมต่อสัญญาณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 5 ราย ได้แก่ ทรู อินเทอร์เน็ต ,อินเทอร์เน็ต KSC ,ซี เอส ลอกซ์อินโฟ , ไอ เน็ต และ เจ ไอ เน็ตโดยลูกค้า ของผู้ให้บริการทั้ง 5 รายดังกล่าว สามารถใช้บริการได้ฟรี หรือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม “ประตูสู่นามไทย” (Nama Thai Helper) จากเว็บไซต์ www.namathai.com ได้ฟรี เร็วนี้จะเจรจาหาพันธมิตรเพิ่ม  เช่น TOT หรือองค์การโทรศัพท์ฯ เป็นต้น

“โปรแกรมดังกล่าวนี้ จะเติบโตได้เร็วในประเทศที่มีภาษาเป็นของตัวเอง เช่น เกาหลี และ ญี่ปุ่น สำหรับตลาดเมืองไทยก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เห็นได้ว่า ชาวเกาหลีอ่าน พูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดีเท่าคนไทย แต่ 76% ของประชากร หรือราว 34 ล้านคน สวามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ เพราะ เขาใช้โปรแกรมนี้ ขณะที่ปัจจัยคนใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีเพียง 1.7% ของประชากร  ที่โตช้า เพราะติดปัญหาเรื่องสะกดคำภาษาอังกฤษ ในการเข้าเว็บไซต์ หรือแม้มีเสิร์ชเอนจิ้น ก็ไม่ได้ข้อมูลเชิงลึกเท่ากับการเข้าเว็บไซต์ได้ด้วยภาษาไทย” นายไผทสันต์ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น