การบินไทย เน้นขยายธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงเพิ่มรายได้หลังวิกฤตน้ำมัน วิกฤตการเงินสหรัฐฯ และความไม่สงบภายในประเทศ ทำยอดผู้โดยสารวูบ ยังมั่นใจประคองรายได้จากผู้โดยสารปี 51 ตามเป้า 1.7 แสนล้านบาท โตจากปีก่อน 12% เผยปัญหาเริ่มคลี่คลาย หวังลดค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) กระตุ้นการเดินทางช่วง High Season
เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยยังคงแผนวิสาหกิจ10 ปี (2551-2560) ของ บมจ.การบินไทย ซึ่งจะมีการลงทุนจัดหาเครื่องบินใหม่ 65 ลำไว้เช่นเดิมแม้ว่าขณะนี้จะมีปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันผันผวน และความไม่สงบภายในประเทศ แต่บริษัทจะเน้นธุรกิจเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มนอกเหนือจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร เพื่อลดความเสี่ยงเพราะเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ จะทำให้การเดินทางของผู้โดยสารลดลง ซึ่งกระทบต่อการทำธุรกิจของการบินไทย
โดยตามแผนธุรกิจ (Business Plan) จะเน้นธุรกิจด้านการซ่อมบำรุง ซึ่งศูนย์ซ่อมที่สนามบินดอนเมืองนอกจะเพิ่มการซ่อมบำรุงในการปรับเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารไปเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า และเพิ่มการซ่อมหนัก โดยจะมีการลงทุนด้านเครื่องมือเพิ่มเติม และในปี 2552 จะขยายโรงซ่อมบำรุงเพิ่มเติม คาดว่า จะลงทุนอีกประมาณ 500 ล้านบาท
เรืออากาศโท อภินันทน์ กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยลดลงบ้าง แต่ในขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นโดยช่วง ต.ค.จะเริ่มเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว (High Season) เมื่อเปรียบเทียบอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน (Cabin Factor) ที่เดินทางมาจากยุโรปลดลง ช่วงนี้กับปีก่อนนั้น ลดลงประมาณ 5% หรือจาก 80% เหลือ 75% ส่วนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่มากนัก เพราะการบินไทยมีเส้นทางบินเพียง 1 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลีส 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์โดยในช่วงตารางบินฤดูหนาว จะเพิ่มเป็นบินทุกวัน
ด้าน นายปานฑิต ชนะภัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า บริษัทยังคงเป้าหมายรายได้จากค่าโดยสารปี 2551 ที่ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตเพิ่มจากปีก่อน 12% โดยคาดว่า Cabin Factor เฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ประมาณ 76% นอกจากนี้ การปรับลดค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2551 ที่ผ่านมา ในเส้นทางบินระหว่างประเทศและในประเทศสูงสุดถึง 30% ตามอัตราค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ก็จะช่วยกระตุ้นรายได้ส่วนหนึ่ง โดยคาดว่า จะเพิ่มจำนวน Cabin Factor โดยรวมได้ประมาณ 8% โดยเฉพาะเส้นทางบินระหว่างประเทศในแถบภูมิภาค คือ อินเดีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ เกาหลี
ส่วนผลประกอบการไตรมาส 3/2551 (1 ส.ค.-30 ก.ย.51) จะดีขึ้น คือ ขาดทุนน้อยลง เนื่องจากการเมืองภายในประเทศเริ่มคลี่คลาย ขณะราคาน้ำมันปรับตัวลดลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันเครื่องบิน (Jet Fuel) ลดลงประมาณ 10% ทั้งนี้ ยอดจองตั๋วโดยสารเส้นทางระหว่างประเทศโซนยุโรปอยู่ที่ประมาณ
ปัจจุบัน Cabin Factor เส้นทางยุโรป มี Cabin Factor 70% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 5% ถือว่าไม่มากและขณะนี้เริ่มนิ่งแล้ว ส่วนเส้นทางระหว่างประเทศในแถบภูมิภาค (regional) มี Cabin Factor 65% ลดลงจากปีก่อนที่มี Cabin Factor 78% ส่วนผู้โดยสารภายในประเทศยังมี Cabin Factor ถึง 85% สูงกว่าปีก่อน 5% โดยเป้าหมาย Cabin Factor รวมทั้งปีตั้งไว้ที่ 76-78% และมั่นใจว่า จะไม่มีปัญหาเมื่อสรุปผลสิ้นไตรมาส 4 (1 ต.ค.-31 ธ.ค.51)
เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยยังคงแผนวิสาหกิจ10 ปี (2551-2560) ของ บมจ.การบินไทย ซึ่งจะมีการลงทุนจัดหาเครื่องบินใหม่ 65 ลำไว้เช่นเดิมแม้ว่าขณะนี้จะมีปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันผันผวน และความไม่สงบภายในประเทศ แต่บริษัทจะเน้นธุรกิจเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มนอกเหนือจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร เพื่อลดความเสี่ยงเพราะเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ จะทำให้การเดินทางของผู้โดยสารลดลง ซึ่งกระทบต่อการทำธุรกิจของการบินไทย
โดยตามแผนธุรกิจ (Business Plan) จะเน้นธุรกิจด้านการซ่อมบำรุง ซึ่งศูนย์ซ่อมที่สนามบินดอนเมืองนอกจะเพิ่มการซ่อมบำรุงในการปรับเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารไปเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า และเพิ่มการซ่อมหนัก โดยจะมีการลงทุนด้านเครื่องมือเพิ่มเติม และในปี 2552 จะขยายโรงซ่อมบำรุงเพิ่มเติม คาดว่า จะลงทุนอีกประมาณ 500 ล้านบาท
เรืออากาศโท อภินันทน์ กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยลดลงบ้าง แต่ในขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นโดยช่วง ต.ค.จะเริ่มเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว (High Season) เมื่อเปรียบเทียบอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน (Cabin Factor) ที่เดินทางมาจากยุโรปลดลง ช่วงนี้กับปีก่อนนั้น ลดลงประมาณ 5% หรือจาก 80% เหลือ 75% ส่วนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่มากนัก เพราะการบินไทยมีเส้นทางบินเพียง 1 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-ลอสแองเจลีส 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์โดยในช่วงตารางบินฤดูหนาว จะเพิ่มเป็นบินทุกวัน
ด้าน นายปานฑิต ชนะภัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า บริษัทยังคงเป้าหมายรายได้จากค่าโดยสารปี 2551 ที่ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตเพิ่มจากปีก่อน 12% โดยคาดว่า Cabin Factor เฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ประมาณ 76% นอกจากนี้ การปรับลดค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2551 ที่ผ่านมา ในเส้นทางบินระหว่างประเทศและในประเทศสูงสุดถึง 30% ตามอัตราค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ก็จะช่วยกระตุ้นรายได้ส่วนหนึ่ง โดยคาดว่า จะเพิ่มจำนวน Cabin Factor โดยรวมได้ประมาณ 8% โดยเฉพาะเส้นทางบินระหว่างประเทศในแถบภูมิภาค คือ อินเดีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ เกาหลี
ส่วนผลประกอบการไตรมาส 3/2551 (1 ส.ค.-30 ก.ย.51) จะดีขึ้น คือ ขาดทุนน้อยลง เนื่องจากการเมืองภายในประเทศเริ่มคลี่คลาย ขณะราคาน้ำมันปรับตัวลดลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันเครื่องบิน (Jet Fuel) ลดลงประมาณ 10% ทั้งนี้ ยอดจองตั๋วโดยสารเส้นทางระหว่างประเทศโซนยุโรปอยู่ที่ประมาณ
ปัจจุบัน Cabin Factor เส้นทางยุโรป มี Cabin Factor 70% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 5% ถือว่าไม่มากและขณะนี้เริ่มนิ่งแล้ว ส่วนเส้นทางระหว่างประเทศในแถบภูมิภาค (regional) มี Cabin Factor 65% ลดลงจากปีก่อนที่มี Cabin Factor 78% ส่วนผู้โดยสารภายในประเทศยังมี Cabin Factor ถึง 85% สูงกว่าปีก่อน 5% โดยเป้าหมาย Cabin Factor รวมทั้งปีตั้งไว้ที่ 76-78% และมั่นใจว่า จะไม่มีปัญหาเมื่อสรุปผลสิ้นไตรมาส 4 (1 ต.ค.-31 ธ.ค.51)