เอกชนท่องเที่ยว ยี้ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉะผู้จัดทำไม่รู้ด้านจริง เหตุเงื่อนไขทับซ้อน หวั่นเป็นช่องว่างให้หลบเลี่ยง เลือกจดทะเบียนในธุรกิจที่เงินค้ำประกันถูกกว่า วอนกระทรวงการท่องเที่ยวเพิ่ม กรรมการในภาคเอกชนเข้าไปร่วมทำงาน
นายเอนก ศรีชีวะชาติ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยญี่ปุ่น และกรรมการในสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) กล่าวว่า ต้องการให้ผู้มีอำนาจของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ได้พิจารณาเพิ่ม กรรมการในส่วนของภาคเอกชน เพื่อจะได้ช่วยเสนอแนะแนวคิดในการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ให้เป็นมาตรฐาน รัดกุม และสอดคล้องกับลักษณะของการประกอบกิจการธุรกิจนำเที่ยว โดยเฉพาะในส่วนของร่างกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เพราะจากเอกสารที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่งกรอบเบื้องต้นของร่างดังกล่าวมาให้ดู สะท้อนให้เห็นว่า ผู้จัดทำยังไม่มีความรู้ในธุรกิจนำเที่ยวอย่างแท้จริง เช่น เรื่องของการแยกประเภทของของธุรกิจ ซึ่งต้องใช้เงินเพื่อวางเป็นหลักประกันที่แตกต่างกัน
โดยกระทรวงได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.การประกอบธุรกิจท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ที่ขออนุญาต 2.ประกอบธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ 3.ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวแบบอินบาวนด์ และ 4.ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแบบเอาต์บาวนด์ แต่ละประเภทจะจ่ายเงินค้ำประกันต่างกัน แต่อยู่บนเงื่อนไขที่ทับซ้อน อาจเป็นช่องว่างให้เกิดการหลบเลี่ยง โดยเลือกจดทะเบียนในประเภทที่จ่ายเงินน้อยกว่า และอยากเสนอให้แบ่งประเภทของใบอนุญาตเสียใหม่ โดยแบบเฉพาะพื้นที่อาจไม่จำเป็นต้องมี
นายเอนก กล่าวว่า ที่ดูจากเอกสารเบื้องต้น มองว่า มีช่องโหว่มาก เช่น ธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ จะจ่างเงินค้ำประกันเพียง 5 หมื่นบาท ครอบคลุมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ขณะที่ ธุรกิจท่องเที่ยวแบบอินบาวนด์ ซึ่งหมายถึงการนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ต้องเสียเงินค่าค้ำประกับ 1 แสนบาท มากกว่ากันถึงหนึ่งเท่าตัว ทั้งที่ต่างชาติที่ท่องเที่ยวภายในประเทศ ก็เป็นนักท่องเที่ยวอินบาวนด์เช่นกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จะนำเรื่องนี้ เข้าหาลือกับสมาชิกเฟสต้า ก่อนเสนอต่อไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวฯ โดยยอมรับว่า คณะกรรมการร่างกฎกระทรวงฯฉบับดังกล่าว ปัจจุบันมีตัวแทนภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เช่น จากสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฯ และ นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคม ไทยบริการท่องเที่ยว แต่บางครั้งติดภาระกิจจึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม จึงต้องการขอร้องให้มีการแต่งตั้งตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าไปช่วยดำเนินการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เพิ่มเติม โดยต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมายด้วย
นายเอนก ศรีชีวะชาติ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยญี่ปุ่น และกรรมการในสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) กล่าวว่า ต้องการให้ผู้มีอำนาจของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ได้พิจารณาเพิ่ม กรรมการในส่วนของภาคเอกชน เพื่อจะได้ช่วยเสนอแนะแนวคิดในการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ให้เป็นมาตรฐาน รัดกุม และสอดคล้องกับลักษณะของการประกอบกิจการธุรกิจนำเที่ยว โดยเฉพาะในส่วนของร่างกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เพราะจากเอกสารที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่งกรอบเบื้องต้นของร่างดังกล่าวมาให้ดู สะท้อนให้เห็นว่า ผู้จัดทำยังไม่มีความรู้ในธุรกิจนำเที่ยวอย่างแท้จริง เช่น เรื่องของการแยกประเภทของของธุรกิจ ซึ่งต้องใช้เงินเพื่อวางเป็นหลักประกันที่แตกต่างกัน
โดยกระทรวงได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.การประกอบธุรกิจท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ที่ขออนุญาต 2.ประกอบธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ 3.ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวแบบอินบาวนด์ และ 4.ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแบบเอาต์บาวนด์ แต่ละประเภทจะจ่ายเงินค้ำประกันต่างกัน แต่อยู่บนเงื่อนไขที่ทับซ้อน อาจเป็นช่องว่างให้เกิดการหลบเลี่ยง โดยเลือกจดทะเบียนในประเภทที่จ่ายเงินน้อยกว่า และอยากเสนอให้แบ่งประเภทของใบอนุญาตเสียใหม่ โดยแบบเฉพาะพื้นที่อาจไม่จำเป็นต้องมี
นายเอนก กล่าวว่า ที่ดูจากเอกสารเบื้องต้น มองว่า มีช่องโหว่มาก เช่น ธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ จะจ่างเงินค้ำประกันเพียง 5 หมื่นบาท ครอบคลุมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ขณะที่ ธุรกิจท่องเที่ยวแบบอินบาวนด์ ซึ่งหมายถึงการนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ต้องเสียเงินค่าค้ำประกับ 1 แสนบาท มากกว่ากันถึงหนึ่งเท่าตัว ทั้งที่ต่างชาติที่ท่องเที่ยวภายในประเทศ ก็เป็นนักท่องเที่ยวอินบาวนด์เช่นกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จะนำเรื่องนี้ เข้าหาลือกับสมาชิกเฟสต้า ก่อนเสนอต่อไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวฯ โดยยอมรับว่า คณะกรรมการร่างกฎกระทรวงฯฉบับดังกล่าว ปัจจุบันมีตัวแทนภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เช่น จากสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฯ และ นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคม ไทยบริการท่องเที่ยว แต่บางครั้งติดภาระกิจจึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม จึงต้องการขอร้องให้มีการแต่งตั้งตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าไปช่วยดำเนินการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เพิ่มเติม โดยต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมายด้วย