อัมรินทร์ฯปลื้ม “ซีเครท” ไปได้สวย เล่มสองผลตอบรับดีเกินคาด เหตุคนขาดที่พึ่งทางใจมีสูง ส่วนทิศทางการเติบโตของโฆษณานิตยสารในเครือ 7 เดือนที่ผ่านมา ยังโตขึ้น 6-7% เทียบกับปีก่อน มั่นใจทั้งปีต้องโตตามเป้าที่ 10%
นางระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของปีนี้ ที่กำหนดไว้เดิมตั้งแต่ช่วงต้นปีทางบริษัทยังไม่มีแผนที่จะเปิดหัวนิตยสารใหม่ เนื่องจากพบว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ยอดเม็ดเงินลงโฆษณาในนิตยสารมีแนวโน้มลดลง แต่จากการพูดคุยกันในทีมผู้บริหารในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ เห็นว่า มีโอกาสทางการตลาดในการที่จะเปิดหัวนิตยสารใหม่ ในกลุ่มผู้อ่านที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน ในลักษณะของนิตยสารกลุ่มจิตวิทยา หรือที่เราให้คำนิยามใหม่ว่า “อาหารใจ” เพื่อตอบสนองผู้อ่านที่ต้องการที่พึ่งพิงในยุคปัจจุบัน
ดังนั้น บริษัทจึงได้ตัดสินใจเปิดหัวนิตยสารเพิ่มขึ้น ในชื่อ “ซีเครท” เป็นลักษณะรายเดือน ซึ่งใช้เวลาศึกษาอยู่หลายเดือนก่อนจะมาออกมาเป็นรูปเล่ม ซึ่งยอดการพิมพ์ของซีเครทสูงมาก เล่มแรกมียอดพิมพ์กว่า 3 แสนเล่มต่อเดือน ถือว่าเป็นยอดพิมพ์สูงที่สุดของนิตยสารในเครือที่มีประมาณ 12 หัว โดยหลังจากวางแผง พบว่าจำหน่ายได้กว่า 80% ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ขณะที่เล่มสองที่ออกวางประจำเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งปรากฏว่า ได้ผลตอบรับกลับมาดีเช่นเดียวกัน
นางระริน กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมรายได้สิ่งพิมพ์ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา พบว่า อัมรินทร์ฯ ยังมีรายได้จากโฆษณาเฉลี่ยเติบโตขึ้น 6-7% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้รวมในเครือ ครึ่งปีที่ผ่านมาถือว่าใกล้เคียงกับเป้าที่วางไว้ ซึ่งทั้งปีบริษัทตั้งเป้าการเติบโตไว้ไม่ต่ำกว่า 10% โดยมาจาก 3 กลุ่มธุรกิจใหญ่ คือ 1.พอกเก็ตบุ๊ก 2 ทัวร์ เทรนนิ่ง และ งานแฟร์ และ 3.นิตยสารทั้ง 12 หัว
อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งที่นิตยสารยังมีรายได้จากโฆษณาที่ดีอยู่ มาจากการที่อัมรินทร์ฯหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ “Integrated Solution Provider” หรือการผสมผสานที่หลากหลาย ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการใช้สื่อมากกว่าแค่การโฆษณาลงบนสื่อสิ่งพิมพ์อีกต่อไป ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าว เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
**เทรนด์หัวนอกอีก 5 ปีฟื้น
นางระริน กล่าวถึงทิศทางกระแสนิตยสารหัวนอกในเมืองไทยด้วยว่า ปีนี้อาจจะไม่ค่อยเห็นการเปิดตัวนิตยสารหัวนอก ส่วนหนึ่งมาจาก 90% ของนิตยสารหัวนอกที่มีชื่อเสียง ได้เข้ามาเปิดตัวในเมืองไทยไปเกือบหมดแล้ว จึงเหมือนหมดรอบไป แต่ทั้งนี้ทิศทางนิตยสารหัวนอกที่จะเปิดในเมืองไทย อาจจะกลับมารุ่งเรื่องอีกครั้ง อย่างเร็วที่สุด 5 ปีหลังจากนี้ เพราะระหว่าง 5 ปีนี้ ในต่างประเทศอาจจะมีนิตยสารที่ประสบความสำเร็จอีกมากมายก็เป็นได้ ซึ่งจากเดิมนิตยสารที่มีชื่อเสียงจะใช้เวลาเป็น 10-20 ปี แต่ปัจจุบัน 5 ปี ก็สามารถตีตลาดจนมีชื่อเสียงและมีผู้นิยมอ่านได้ไม่ยาก
นางระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของปีนี้ ที่กำหนดไว้เดิมตั้งแต่ช่วงต้นปีทางบริษัทยังไม่มีแผนที่จะเปิดหัวนิตยสารใหม่ เนื่องจากพบว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ยอดเม็ดเงินลงโฆษณาในนิตยสารมีแนวโน้มลดลง แต่จากการพูดคุยกันในทีมผู้บริหารในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ เห็นว่า มีโอกาสทางการตลาดในการที่จะเปิดหัวนิตยสารใหม่ ในกลุ่มผู้อ่านที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน ในลักษณะของนิตยสารกลุ่มจิตวิทยา หรือที่เราให้คำนิยามใหม่ว่า “อาหารใจ” เพื่อตอบสนองผู้อ่านที่ต้องการที่พึ่งพิงในยุคปัจจุบัน
ดังนั้น บริษัทจึงได้ตัดสินใจเปิดหัวนิตยสารเพิ่มขึ้น ในชื่อ “ซีเครท” เป็นลักษณะรายเดือน ซึ่งใช้เวลาศึกษาอยู่หลายเดือนก่อนจะมาออกมาเป็นรูปเล่ม ซึ่งยอดการพิมพ์ของซีเครทสูงมาก เล่มแรกมียอดพิมพ์กว่า 3 แสนเล่มต่อเดือน ถือว่าเป็นยอดพิมพ์สูงที่สุดของนิตยสารในเครือที่มีประมาณ 12 หัว โดยหลังจากวางแผง พบว่าจำหน่ายได้กว่า 80% ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ขณะที่เล่มสองที่ออกวางประจำเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งปรากฏว่า ได้ผลตอบรับกลับมาดีเช่นเดียวกัน
นางระริน กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมรายได้สิ่งพิมพ์ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา พบว่า อัมรินทร์ฯ ยังมีรายได้จากโฆษณาเฉลี่ยเติบโตขึ้น 6-7% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้รวมในเครือ ครึ่งปีที่ผ่านมาถือว่าใกล้เคียงกับเป้าที่วางไว้ ซึ่งทั้งปีบริษัทตั้งเป้าการเติบโตไว้ไม่ต่ำกว่า 10% โดยมาจาก 3 กลุ่มธุรกิจใหญ่ คือ 1.พอกเก็ตบุ๊ก 2 ทัวร์ เทรนนิ่ง และ งานแฟร์ และ 3.นิตยสารทั้ง 12 หัว
อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งที่นิตยสารยังมีรายได้จากโฆษณาที่ดีอยู่ มาจากการที่อัมรินทร์ฯหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ “Integrated Solution Provider” หรือการผสมผสานที่หลากหลาย ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการใช้สื่อมากกว่าแค่การโฆษณาลงบนสื่อสิ่งพิมพ์อีกต่อไป ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าว เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
**เทรนด์หัวนอกอีก 5 ปีฟื้น
นางระริน กล่าวถึงทิศทางกระแสนิตยสารหัวนอกในเมืองไทยด้วยว่า ปีนี้อาจจะไม่ค่อยเห็นการเปิดตัวนิตยสารหัวนอก ส่วนหนึ่งมาจาก 90% ของนิตยสารหัวนอกที่มีชื่อเสียง ได้เข้ามาเปิดตัวในเมืองไทยไปเกือบหมดแล้ว จึงเหมือนหมดรอบไป แต่ทั้งนี้ทิศทางนิตยสารหัวนอกที่จะเปิดในเมืองไทย อาจจะกลับมารุ่งเรื่องอีกครั้ง อย่างเร็วที่สุด 5 ปีหลังจากนี้ เพราะระหว่าง 5 ปีนี้ ในต่างประเทศอาจจะมีนิตยสารที่ประสบความสำเร็จอีกมากมายก็เป็นได้ ซึ่งจากเดิมนิตยสารที่มีชื่อเสียงจะใช้เวลาเป็น 10-20 ปี แต่ปัจจุบัน 5 ปี ก็สามารถตีตลาดจนมีชื่อเสียงและมีผู้นิยมอ่านได้ไม่ยาก