คนเอสเอ็มอีแบงก์ป้อง “จิรพร” ไม่มีความผิดกรณีออก FRCD ระดมทุน เหตุทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้นำเสนอข้อมูลตามเอกสารประกอบการประชุมแทนสายงานเท่านั้น อีกทั้งถูกปรับโครงสร้างโยกไปดูแลงานบริหารความเสี่ยง แทนฝ่ายบริหารเงินก่อนเกิดซับไพรม์ ชี้เป็นการหาแพะรับบาปปัดความรับผิดชอบ ทั้งที่ส่งสัญญาณเตือนไปก่อนแล้ว 2-3 ครั้ง
แหล่งข่าวธนาคารพัฒาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ ชี้แจงกรณีที่ นางจิรพร สุเมธีประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธพว.พัวพันกับความเสียหายในการออกบัตรเงินฝากแบบดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) รวม 490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท) ว่า ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่อง FRCD และธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินเมื่อปี 2549 ลาออกไปแล้ว 2 คน คือ ซีเอฟโอ และผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงิน ดังนั้นการให้เป็นข่าวจากคณะกรรมการสอบสวนที่ นายสมชัย สัจจพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร ธพว. ตั้งขึ้นมาเจาะจงพุ่งประเด็นมาที่ นางจิรพร อาจเป็นการพยายามหาแพะเพื่อปัดความรับผิดชอบ
แหล่งข่าวชี้แจงอีกว่า การออก FRCD เป็นวิธีการระดมเงินทุนทางหนึ่งของเอสเอ็มอีแบงก์ ที่มีการเห็นชอบและรับทราบโดยมติของคณะกรรมการในขณะนั้น แม้ว่าจะมีการอนุมัติแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ การทำโรดโชว์ จึงเป็นการออกไปแสวงหากลุ่มนักลงทุนเป้าหมายที่ประเมินได้ว่ามีความสนใจจะซื้อ FRCD มากน้อยเพียงใดล่วงหน้า ซึ่งการที่นักลงทุนต่างประเทศจะสนใจจะต้องมาจากความเชื่อมั่นในการนำเสนอข้อมูลในระหว่างการโรดโชว์แล้วค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็เป็นภาระของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT) ยกเว้นค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินข้อตกลง
โดยกระบวนการคัดเลือกหาผู้ดำเนินการโครงการ ในรูปของคณะกรรมการการเงิน 6 คน มีรักษาการกรรมการผู้จัดการขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ มีฝ่ายบริหารเงินทำหน้าที่เลขานุการและทำการประสาน ติดต่อหาสถาบันการเงินที่สนใจดำเนินโครงการให้เอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งคณะกรรมการไม่ทราบมาก่อนว่ามีสถาบันการเงินรายใดบ้าง จนกระทั่งได้รับทราบจากฝ่ายบริหารเงิน
การคัดเลือกดังกล่าว กรรมการคัดเลือกแต่ละคนลงคะแนนลับของตนเอง และนำส่งคะแนนแต่ละคนให้แก่ฝ่ายบริหารเงินเพื่อรวบรวมนำเสนอขออนุมัติตามขั้นตอน การฮั้วเพื่อให้ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ชนะจึงทำไม่ได้ นอกจากนั้นในการให้คะแนนยังมีประเด็นที่พิจารณาหลายประเด็น โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องจ่ายต่อนักลงทุนที่ซื้อ FRCD ไม่ได้นำตัว indicator ตัวเดียวมาตัดสินตามที่เป็นข่าว
การดำเนินการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ต่อคณะกรรมการ เอสเอ็มอีแบงก์ นางจิรพร ทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลตามเอกสารประกอบการประชุมแทนสายงานที่มี ซีเอฟโอ ดูแล และร่วมในการนำเสนอด้วยทุกครั้ง ซึ่งข้อมูลที่เตรียมการนำเสนอก็ผ่านความเห็นชอบจากรักษาการกรรมการผู้จัดการในขณะนั้นก่อนแล้ว
และ นางจิรพร ไม่มีอำนาจในการนำเสนอข้อมูลเกินกว่าเอกสารที่นำส่งบอร์ด โดยเฉพาะในบอร์ดชุดก่อน จะมีความเข้มงวดในการนำเสนอเรื่องซึ่งผู้นำเสนอจะต้องชี้แจงให้ตรงตามเอกสารที่นำเสนอทุกประการ เมื่อรักษาการกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น ไม่ได้มอบหมายให้นำเสนอรายละเอียดทางเทคนิคของการทำธุรกรรมอนุพันธ์จึงไม่ได้มีการรายงานที่ชัดเจน จึงไม่มีเจตนาในการปกปิด และก่อนหน้านี้ หรือหลังจากนั้น ฝ่ายจัดการของเอสเอ็มอีแบงก์ ไม่เคยรายงานเรื่องอนุพันธ์นี้มาก่อน
อีกทั้งการดำเนินธุรกรรมอนุพันธ์ดังกล่าวเป็นอำนาจอนุมัติของกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น ซึ่งมีผู้ที่ทำการอนุมัติรายการรวมทั้งสิ้น 3 คน เป็นรักษาการกรรมการผู้จัดการ 2 คนและกรรมการผู้จัดการ 1 คนในแต่ละครั้ง ฝ่ายบริหารการเงินจะพิจารณาโดยใช้ Scenario Analysis ในการพิจารณาเชิงพาณิชย์ โดยดูว่าช่วงของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ และนำเสนอขออนุมัติซึ่งที่ผ่านมาเอสเอ็มอีแบงก์ยังไม่ได้กำหนดชัดเจนในเรื่องนี้
ในช่วงที่บอร์ดชุดปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่ สายงานบริหารเงินเคยนำเสนอรายงานเรื่องโครงสร้างของอนุพันธ์มาแล้ว 2-3 ครั้ง ตั้งแต่ปลายปี 2549 รวมทั้งเคยหารือกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะด้วย 2 ครั้ง ในช่วงก่อนที่จะเกิดปัญหาซับไพรม์ ขึ้นจนกระทั่งวันที่เกิดค่าปรับแก่ธนาคาร นางจิรพร ไม่ได้เป็นผู้ดูแลฝ่ายงานบริหารเงินแล้ว เพราะมีการปรับโครงสร้างองค์กรและได้รับมอบหมายให้ไปดูแลสายงานบริหารความเสี่ยงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 แต่ข่าวที่ออกมาตลอดไม่ได้มีการกล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโดยตรงในช่วงที่เกิด ซับไพรม์แล้ว สายงานบริหารความเสี่ยงได้ส่งสัญญาเตือนต่อสายงานบริหารเงิน และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากกว่า 2 ครั้ง แต่ไม่ได้มีการดำเนินการปรับแก้จากสายงานบริหารเงินที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทั้งที่ธุรกรรมอนุพันธ์เป็นธุรกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขได้ ซึ่งกรณีของบาร์คเลย์นั้น เอสเอ็มอีแบงก์ได้ดำเนินการยกเลิกธุรกรรมไปแล้วจนธนาคารไม่เกิดความเสียหาย
“ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย ไลเบอร์ของสหรัฐที่หลุดออกนอกช่วงที่กำหนด จนเกิดค่าปรับแก่ธนาคาร ตํ่ากว่าอัตราดอกเบี้ยตามช่วงที่กำหนดไม่มาก โดยอยู่ที่ประมาณ 2.91% เมื่อเทียบกับช่วงที่กำหนดไว้ที่ 3% และระยะเวลาที่เหลือตามสัญญายังอยู่อีกประมาณ 3 ปีจนถึงปี2554 โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะกลับเข้ามาอยู่ในช่วงที่กำหนดยังอยู่ จำนวนเงินที่เกิดความเสียหายที่ระบุตามข่าวที่ผ่านมา อาจสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาก” แหล่งข่าวคนเดิมระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การออก FRCD ดังกล่าว ธพว.ได้ดำเนินการ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน และ กรกฎาคม 2548 จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารบาร์คเลย์เป็นผู้ดำเนินการ และในครั้งที่สองจำนวน 300 ล้านเหรียญโดยมีธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) SCBT เป็นผู้ดำเนินการ ในจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นนั้นพบว่าการออก FRCD ครั้งที่ 2 นั้นมีสถาบันการเงินเข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 5 แห่ง และSCBT เป็นผู้ชนะการประมูลโดนได้คะแนนเต็ม 500 คะแนน ในขณะที่สถาบันการเงินแห่งอื่นได้คะแนนในสัดส่วนที่แตกต่างกันมาก
แหล่งข่าวธนาคารพัฒาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ ชี้แจงกรณีที่ นางจิรพร สุเมธีประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธพว.พัวพันกับความเสียหายในการออกบัตรเงินฝากแบบดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) รวม 490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท) ว่า ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่อง FRCD และธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินเมื่อปี 2549 ลาออกไปแล้ว 2 คน คือ ซีเอฟโอ และผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงิน ดังนั้นการให้เป็นข่าวจากคณะกรรมการสอบสวนที่ นายสมชัย สัจจพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร ธพว. ตั้งขึ้นมาเจาะจงพุ่งประเด็นมาที่ นางจิรพร อาจเป็นการพยายามหาแพะเพื่อปัดความรับผิดชอบ
แหล่งข่าวชี้แจงอีกว่า การออก FRCD เป็นวิธีการระดมเงินทุนทางหนึ่งของเอสเอ็มอีแบงก์ ที่มีการเห็นชอบและรับทราบโดยมติของคณะกรรมการในขณะนั้น แม้ว่าจะมีการอนุมัติแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ การทำโรดโชว์ จึงเป็นการออกไปแสวงหากลุ่มนักลงทุนเป้าหมายที่ประเมินได้ว่ามีความสนใจจะซื้อ FRCD มากน้อยเพียงใดล่วงหน้า ซึ่งการที่นักลงทุนต่างประเทศจะสนใจจะต้องมาจากความเชื่อมั่นในการนำเสนอข้อมูลในระหว่างการโรดโชว์แล้วค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็เป็นภาระของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT) ยกเว้นค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินข้อตกลง
โดยกระบวนการคัดเลือกหาผู้ดำเนินการโครงการ ในรูปของคณะกรรมการการเงิน 6 คน มีรักษาการกรรมการผู้จัดการขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ มีฝ่ายบริหารเงินทำหน้าที่เลขานุการและทำการประสาน ติดต่อหาสถาบันการเงินที่สนใจดำเนินโครงการให้เอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งคณะกรรมการไม่ทราบมาก่อนว่ามีสถาบันการเงินรายใดบ้าง จนกระทั่งได้รับทราบจากฝ่ายบริหารเงิน
การคัดเลือกดังกล่าว กรรมการคัดเลือกแต่ละคนลงคะแนนลับของตนเอง และนำส่งคะแนนแต่ละคนให้แก่ฝ่ายบริหารเงินเพื่อรวบรวมนำเสนอขออนุมัติตามขั้นตอน การฮั้วเพื่อให้ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ชนะจึงทำไม่ได้ นอกจากนั้นในการให้คะแนนยังมีประเด็นที่พิจารณาหลายประเด็น โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องจ่ายต่อนักลงทุนที่ซื้อ FRCD ไม่ได้นำตัว indicator ตัวเดียวมาตัดสินตามที่เป็นข่าว
การดำเนินการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ต่อคณะกรรมการ เอสเอ็มอีแบงก์ นางจิรพร ทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลตามเอกสารประกอบการประชุมแทนสายงานที่มี ซีเอฟโอ ดูแล และร่วมในการนำเสนอด้วยทุกครั้ง ซึ่งข้อมูลที่เตรียมการนำเสนอก็ผ่านความเห็นชอบจากรักษาการกรรมการผู้จัดการในขณะนั้นก่อนแล้ว
และ นางจิรพร ไม่มีอำนาจในการนำเสนอข้อมูลเกินกว่าเอกสารที่นำส่งบอร์ด โดยเฉพาะในบอร์ดชุดก่อน จะมีความเข้มงวดในการนำเสนอเรื่องซึ่งผู้นำเสนอจะต้องชี้แจงให้ตรงตามเอกสารที่นำเสนอทุกประการ เมื่อรักษาการกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น ไม่ได้มอบหมายให้นำเสนอรายละเอียดทางเทคนิคของการทำธุรกรรมอนุพันธ์จึงไม่ได้มีการรายงานที่ชัดเจน จึงไม่มีเจตนาในการปกปิด และก่อนหน้านี้ หรือหลังจากนั้น ฝ่ายจัดการของเอสเอ็มอีแบงก์ ไม่เคยรายงานเรื่องอนุพันธ์นี้มาก่อน
อีกทั้งการดำเนินธุรกรรมอนุพันธ์ดังกล่าวเป็นอำนาจอนุมัติของกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น ซึ่งมีผู้ที่ทำการอนุมัติรายการรวมทั้งสิ้น 3 คน เป็นรักษาการกรรมการผู้จัดการ 2 คนและกรรมการผู้จัดการ 1 คนในแต่ละครั้ง ฝ่ายบริหารการเงินจะพิจารณาโดยใช้ Scenario Analysis ในการพิจารณาเชิงพาณิชย์ โดยดูว่าช่วงของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ และนำเสนอขออนุมัติซึ่งที่ผ่านมาเอสเอ็มอีแบงก์ยังไม่ได้กำหนดชัดเจนในเรื่องนี้
ในช่วงที่บอร์ดชุดปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่ สายงานบริหารเงินเคยนำเสนอรายงานเรื่องโครงสร้างของอนุพันธ์มาแล้ว 2-3 ครั้ง ตั้งแต่ปลายปี 2549 รวมทั้งเคยหารือกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะด้วย 2 ครั้ง ในช่วงก่อนที่จะเกิดปัญหาซับไพรม์ ขึ้นจนกระทั่งวันที่เกิดค่าปรับแก่ธนาคาร นางจิรพร ไม่ได้เป็นผู้ดูแลฝ่ายงานบริหารเงินแล้ว เพราะมีการปรับโครงสร้างองค์กรและได้รับมอบหมายให้ไปดูแลสายงานบริหารความเสี่ยงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 แต่ข่าวที่ออกมาตลอดไม่ได้มีการกล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโดยตรงในช่วงที่เกิด ซับไพรม์แล้ว สายงานบริหารความเสี่ยงได้ส่งสัญญาเตือนต่อสายงานบริหารเงิน และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากกว่า 2 ครั้ง แต่ไม่ได้มีการดำเนินการปรับแก้จากสายงานบริหารเงินที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทั้งที่ธุรกรรมอนุพันธ์เป็นธุรกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขได้ ซึ่งกรณีของบาร์คเลย์นั้น เอสเอ็มอีแบงก์ได้ดำเนินการยกเลิกธุรกรรมไปแล้วจนธนาคารไม่เกิดความเสียหาย
“ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย ไลเบอร์ของสหรัฐที่หลุดออกนอกช่วงที่กำหนด จนเกิดค่าปรับแก่ธนาคาร ตํ่ากว่าอัตราดอกเบี้ยตามช่วงที่กำหนดไม่มาก โดยอยู่ที่ประมาณ 2.91% เมื่อเทียบกับช่วงที่กำหนดไว้ที่ 3% และระยะเวลาที่เหลือตามสัญญายังอยู่อีกประมาณ 3 ปีจนถึงปี2554 โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะกลับเข้ามาอยู่ในช่วงที่กำหนดยังอยู่ จำนวนเงินที่เกิดความเสียหายที่ระบุตามข่าวที่ผ่านมา อาจสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาก” แหล่งข่าวคนเดิมระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การออก FRCD ดังกล่าว ธพว.ได้ดำเนินการ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน และ กรกฎาคม 2548 จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารบาร์คเลย์เป็นผู้ดำเนินการ และในครั้งที่สองจำนวน 300 ล้านเหรียญโดยมีธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) SCBT เป็นผู้ดำเนินการ ในจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นนั้นพบว่าการออก FRCD ครั้งที่ 2 นั้นมีสถาบันการเงินเข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 5 แห่ง และSCBT เป็นผู้ชนะการประมูลโดนได้คะแนนเต็ม 500 คะแนน ในขณะที่สถาบันการเงินแห่งอื่นได้คะแนนในสัดส่วนที่แตกต่างกันมาก