“ชาร์ป” หืดขึ้นคอ ทนแบกรับภาวะการขาดทุนไม่ไหว ประกาศปรับราคาหม้อหุงข้าวขึ้น 3-5% พร้อมปรับเม็ดเงินโฆษณาขึ้นอีก 10% ปรับการบริหารจัดการภายใน ชูหม้อหุงข้าวกรำศึกรับพิษเศรษฐกิจ เชื่อน่าจะมีรายได้เติบโตที่ 10% หรือกว่า 2,800 ล้านบาท
นายวีรเทพ ฉัตรศิริวิชัยกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า จากปัจจัยลบของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลให้บริษัทฯไม่สามารถแบกรับภาวการณ์ขาดทุนต่อไปได้ จึงได้ประกาศขอปรับราคาหม้อหุงข้าว เฉลี่ยอีกประมาณ 3-5% เป็นรายแรกของตลาด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป
“สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มสินค้าชิ้นเล็กนั้น ถือได้ว่าหม้อหุงข้าว มีการแข่งขันทางด้านราคามากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นการเสี่ยงในการปรับขึ้นราคา แต่เนื่องจากหากจะต้องขายสินค้าแล้วพบว่าขาดทุนต่อไป ทางบริษัทขอเลือกที่จะขอปรับราคาสินค้าเพิ่มดีกว่า ถึงแม้ลูกค้าจะซื้อน้อยลง แต่บริษัทฯอาจจะพบปัญหาการขาดทุนน้อยลงแทน ทั้งนี้เชื่อว่าการแข่งขันด้านราคาที่เกิดขึ้นถึงจุดอิ่มตัวที่ไม่สามารถปรับลงได้อีกแล้ว ผู้เล่นรายอื่นก็คงจะหันมาปรับราคาขึ้นเช่นกัน เพราะเชื่อว่าต่างก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน”
ทั้งนี้ตลาดรวมหม้อหุงข้าวปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 3,000 ล้านบาท หรือกว่า 4 ล้านใบ ขณะที่ชาร์ปมีแชร์ในตลาดที่ 35-40% แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่เริ่มอิ่มตัว การเติบโตต่อปีค่อนข้างคงที่ ทางบริษัทฯจึงได้มุ่งทำตลาดหม้อหุงข้าวในกลุ่มเชิงพาณิชย์แทน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ลูกค้าเริ่มให้การตอบรับมากยิ่งขึ้น จนปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายให้ถึง 1 ใน 4 ของสินค้ากลุ่มหม้อหุงข้าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีการจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ทั้งหมด 9 รายการ คือ เครื่องซักผ้า, ตู้น้ำเย็น, ตู้แช่, เครื่องปั่น, หม้อหุงข้าวอุ่นทิพย์, กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำอุ่น และเตารีด โดยรายได้หลักมาจาก หม้อหุงข้าว 40% กระติกน้ำร้อน 20% เครื่องทำน้ำอุ่น 15% และอีก 25% มาจากกลุ่มสินค้าที่เหลือ
โดยในส่วนของตลาดเครื่องปั่นมูลค่า 900 ล้านบาท หรือประมาณ 1.2 ล้านตัวต่อปี ชาร์ปมีแชร์อยู่ประมาณ 10% ส่วนตลาดเตารีดแบบธรรมดามูลค่า 500 ล้านบาท หรือประมาณ 1.2 ล้านตัว ชาร์ปมีแชร์ 30% ขณะที่ตลาดเครื่องทำน้ำอุ่นมูลค่า 1,100 ล้านบาท ชาร์ปมีแชร์เพียง 10%
นายวีรเทพ กล่าวต่อว่า ในขณะที่ต้นทุนและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น บริษัทฯยังคงตั้งเป้ารายได้การเติบโตไว้ที่ 10% คิดเป็นมูลค่า 2,800 ล้านบาท จากในปีก่อน 2,500 ล้านบาท ภายใต้งบการตลาดที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10% จาก 90 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯยังคงเดินหน้าทำกลยุทธ์เดิมที่สร้างความสำเร็จให้ รวมไปถึงการสาธิตสินค้า และพัฒนาสูตรอาหาร ให้แก่ลูกค้าผ่านรายการโทรทัศน์ที่เป็นสปอนเซอร์ นอกจากนี้ยังมีการปรับวิธีการทำงานภายในองค์กรอีกส่วนหนึ่งด้วย
นายวีรเทพ ฉัตรศิริวิชัยกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า จากปัจจัยลบของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลให้บริษัทฯไม่สามารถแบกรับภาวการณ์ขาดทุนต่อไปได้ จึงได้ประกาศขอปรับราคาหม้อหุงข้าว เฉลี่ยอีกประมาณ 3-5% เป็นรายแรกของตลาด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป
“สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มสินค้าชิ้นเล็กนั้น ถือได้ว่าหม้อหุงข้าว มีการแข่งขันทางด้านราคามากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นการเสี่ยงในการปรับขึ้นราคา แต่เนื่องจากหากจะต้องขายสินค้าแล้วพบว่าขาดทุนต่อไป ทางบริษัทขอเลือกที่จะขอปรับราคาสินค้าเพิ่มดีกว่า ถึงแม้ลูกค้าจะซื้อน้อยลง แต่บริษัทฯอาจจะพบปัญหาการขาดทุนน้อยลงแทน ทั้งนี้เชื่อว่าการแข่งขันด้านราคาที่เกิดขึ้นถึงจุดอิ่มตัวที่ไม่สามารถปรับลงได้อีกแล้ว ผู้เล่นรายอื่นก็คงจะหันมาปรับราคาขึ้นเช่นกัน เพราะเชื่อว่าต่างก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน”
ทั้งนี้ตลาดรวมหม้อหุงข้าวปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 3,000 ล้านบาท หรือกว่า 4 ล้านใบ ขณะที่ชาร์ปมีแชร์ในตลาดที่ 35-40% แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่เริ่มอิ่มตัว การเติบโตต่อปีค่อนข้างคงที่ ทางบริษัทฯจึงได้มุ่งทำตลาดหม้อหุงข้าวในกลุ่มเชิงพาณิชย์แทน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ลูกค้าเริ่มให้การตอบรับมากยิ่งขึ้น จนปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายให้ถึง 1 ใน 4 ของสินค้ากลุ่มหม้อหุงข้าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีการจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ทั้งหมด 9 รายการ คือ เครื่องซักผ้า, ตู้น้ำเย็น, ตู้แช่, เครื่องปั่น, หม้อหุงข้าวอุ่นทิพย์, กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำอุ่น และเตารีด โดยรายได้หลักมาจาก หม้อหุงข้าว 40% กระติกน้ำร้อน 20% เครื่องทำน้ำอุ่น 15% และอีก 25% มาจากกลุ่มสินค้าที่เหลือ
โดยในส่วนของตลาดเครื่องปั่นมูลค่า 900 ล้านบาท หรือประมาณ 1.2 ล้านตัวต่อปี ชาร์ปมีแชร์อยู่ประมาณ 10% ส่วนตลาดเตารีดแบบธรรมดามูลค่า 500 ล้านบาท หรือประมาณ 1.2 ล้านตัว ชาร์ปมีแชร์ 30% ขณะที่ตลาดเครื่องทำน้ำอุ่นมูลค่า 1,100 ล้านบาท ชาร์ปมีแชร์เพียง 10%
นายวีรเทพ กล่าวต่อว่า ในขณะที่ต้นทุนและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น บริษัทฯยังคงตั้งเป้ารายได้การเติบโตไว้ที่ 10% คิดเป็นมูลค่า 2,800 ล้านบาท จากในปีก่อน 2,500 ล้านบาท ภายใต้งบการตลาดที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10% จาก 90 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯยังคงเดินหน้าทำกลยุทธ์เดิมที่สร้างความสำเร็จให้ รวมไปถึงการสาธิตสินค้า และพัฒนาสูตรอาหาร ให้แก่ลูกค้าผ่านรายการโทรทัศน์ที่เป็นสปอนเซอร์ นอกจากนี้ยังมีการปรับวิธีการทำงานภายในองค์กรอีกส่วนหนึ่งด้วย