แนวโน้มจัดเก็บค่าลิขสิทธ์เริ่มสดใส หลังจากที่กิจการร่วมค้า เดินหน้าลุยจัดเก็บ เข้ามายู่ในกำมือแล้วกว่า 6 พันแห่งทั่วประเทศ เอสเอฟประเดิมกลุ่มโรงหนัง จ่อคิวเมเจอร์ฯรายต่อไป
นายรณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการบริหาร กิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้ให้อนุญาตแก่บุคคลหรือธุรกิจใดที่มีการนำเพลงของสมาชิกออกเอ็มวีที-โฟโนไรทส์ (เอ็ม-เอฟ) ใช้งานได้รับอนุญาตจากสมาชิกที่เป็นบริษัทค่ายเพลงและนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงทั่วโลกนับแสนรายการ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์มากขึ้น และมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้นกว่าในอดีต ส่งผลให้องค์กรด้านลิขสิทธิ์สามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นกว่าเมื่อช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ทางด้านร้านค้าและบริษัทต่างๆเองก็ได้เล็งเห็นความสำคัญด้านลิขสิทธิมากขึ้นเช่นกัน
กิจการร่วมค้าคาดว่าในปี 2551 นี้ ประมาณการยอดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ว่าจะมีการเติบโตมากกว่า 20-30% จากปัจจุบันที่มีฐานลูกค้ากว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในไทยมีองค์กรที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ มากกว่า 17-18 องค์กร ซึ่งถือว่ามาก ขณะที่ในต่างประเทศนั้นมีเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นเอง
ล่าสุดบริษัทฯเซ็นสัญญาเป็นทางการกับบริษัท เอสเอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด หรือ เอสเอฟ ในการให้ใช้สิทธิเผยแพร่เพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเอสเอฟถือเป็นรายแรกในกลุ่มธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่ดำเนินการซื้อใบอนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงประกอบภาพยนตร์อย่างถูกต้อง ซึ่งจะคิด 1% จากมูลค่ารายได้
ปัจจุบันกิจการร่วมค้ามีกลุ่มลูกค้าประเภทต่างๆดังนี้ 1.การแสดงสด/คอนเสิร์ต เช่น บีอีซีเทโร, จีเอ็มเอ็มแกรมมี่, เฟรชแอร์, ยูบีซีแฟนทาเซีย 2.กลุ่มร้านอาหาร เช่น แมคโดนัลด์, พิซซ่าฮัท, เดอะพิซซ่าคอมปะนี, เบอร์เกอร์คิง, เอสแอนด์พี, ฟูจิ, ซิซซ์เล่อร์, 13เหรียญ, โอบองแปง, สตาร์บัคส์ 3.กลุ่มผับ บาร์ ดิสโก้เธค เช่น ฮาร์ดร็อคคาเฟ่, สลิม, สองสลึง, นั่งเล่น, พร็อพบาร์, คิวบาร์แบงกคอค, เบดซัปเปอร์
4.กลุ่มคาราโอเกะเช่น เอสเอฟมิวสิคซิตี้, อีจีวีดีไซน์, เมเจอร์คาราโอเกะ, บิ๊กเอคโค่, คาราโอเกะซิตี้, ใบไม้ร่าเริง 5.กลุ่มโรงแรม เช่น เครือเซนทารา เครืออามารี, เครือแอคคอร์, เครือดุสิตธานี, เครืออิมพิเรียล, เครือแอมบาสเดอร์ รวมกว่า 500 แห่ง 6.กลุ่มสายการบิน เช่น การบินไทย, นกแอร์ 7.กลุ่มฟิตเนส เช่น คาลิฟอร์เนียว๊าว, ฟิตเนสเฟิร์สท, ทรูฟิตเนส 8.กลุ่มวิทยุ เช่น เวอร์จิ้นเรดิโอ, คลิคเรดิโอ, จีเอ็มเอ็มมีเดีย, สกายไฮ 9.กลุ่มอินเทอร์เน็ต เช่น สนุกดอทคอม, ทรูไลฟ์เน็ต, 10.กลุ่มห้างสรรพสินค้า เช่น สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, เซ็นทรัล, เดอะมอลล์, โรบินสัน, เอ็มโพเรียม, ฟิวเจอร์พาร์ค 11.กลุ่มโทรทัศน์/เคเบิลทีวี เอซีอีแชนนอล, พีคแชนนอล, วินทีวี
ทั้งนี้กลุ่มโรงหนังยังอยู่ระหว่างการเจรจากับทางกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ด้วย แต่ว่ายังไม่สรุป ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจและจะมีการดำเนินการมากขึ้น ซึ่งอัตราค่าเก็บลิขสิทธินั้นขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของธุรกิจ เช่น คาราโอเกะ 5,000 บาทต่อจอภาพต่อปี, ร้านอาหาร 100 บาทต่อที่นั่งต่อปี โรงแรม โรงพยาบาล หากค่าห้อง 3,000 บาทขึ้นไป เก็บ 140 บาทต่อห้องต่อปี ร้านค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต 20 บาทต่อตารางเมตรต่อปี การแสดงคอนเสิร์ตแบบเก็บค่าเข้าชม หากไม่เก็บค่าชม เก็บ 20 บาทต่อผู้เข้าชม1ท่านต่อวัน
นายรณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการบริหาร กิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้ให้อนุญาตแก่บุคคลหรือธุรกิจใดที่มีการนำเพลงของสมาชิกออกเอ็มวีที-โฟโนไรทส์ (เอ็ม-เอฟ) ใช้งานได้รับอนุญาตจากสมาชิกที่เป็นบริษัทค่ายเพลงและนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงทั่วโลกนับแสนรายการ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์มากขึ้น และมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้นกว่าในอดีต ส่งผลให้องค์กรด้านลิขสิทธิ์สามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นกว่าเมื่อช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ทางด้านร้านค้าและบริษัทต่างๆเองก็ได้เล็งเห็นความสำคัญด้านลิขสิทธิมากขึ้นเช่นกัน
กิจการร่วมค้าคาดว่าในปี 2551 นี้ ประมาณการยอดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ว่าจะมีการเติบโตมากกว่า 20-30% จากปัจจุบันที่มีฐานลูกค้ากว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในไทยมีองค์กรที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ มากกว่า 17-18 องค์กร ซึ่งถือว่ามาก ขณะที่ในต่างประเทศนั้นมีเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นเอง
ล่าสุดบริษัทฯเซ็นสัญญาเป็นทางการกับบริษัท เอสเอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด หรือ เอสเอฟ ในการให้ใช้สิทธิเผยแพร่เพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเอสเอฟถือเป็นรายแรกในกลุ่มธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่ดำเนินการซื้อใบอนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงประกอบภาพยนตร์อย่างถูกต้อง ซึ่งจะคิด 1% จากมูลค่ารายได้
ปัจจุบันกิจการร่วมค้ามีกลุ่มลูกค้าประเภทต่างๆดังนี้ 1.การแสดงสด/คอนเสิร์ต เช่น บีอีซีเทโร, จีเอ็มเอ็มแกรมมี่, เฟรชแอร์, ยูบีซีแฟนทาเซีย 2.กลุ่มร้านอาหาร เช่น แมคโดนัลด์, พิซซ่าฮัท, เดอะพิซซ่าคอมปะนี, เบอร์เกอร์คิง, เอสแอนด์พี, ฟูจิ, ซิซซ์เล่อร์, 13เหรียญ, โอบองแปง, สตาร์บัคส์ 3.กลุ่มผับ บาร์ ดิสโก้เธค เช่น ฮาร์ดร็อคคาเฟ่, สลิม, สองสลึง, นั่งเล่น, พร็อพบาร์, คิวบาร์แบงกคอค, เบดซัปเปอร์
4.กลุ่มคาราโอเกะเช่น เอสเอฟมิวสิคซิตี้, อีจีวีดีไซน์, เมเจอร์คาราโอเกะ, บิ๊กเอคโค่, คาราโอเกะซิตี้, ใบไม้ร่าเริง 5.กลุ่มโรงแรม เช่น เครือเซนทารา เครืออามารี, เครือแอคคอร์, เครือดุสิตธานี, เครืออิมพิเรียล, เครือแอมบาสเดอร์ รวมกว่า 500 แห่ง 6.กลุ่มสายการบิน เช่น การบินไทย, นกแอร์ 7.กลุ่มฟิตเนส เช่น คาลิฟอร์เนียว๊าว, ฟิตเนสเฟิร์สท, ทรูฟิตเนส 8.กลุ่มวิทยุ เช่น เวอร์จิ้นเรดิโอ, คลิคเรดิโอ, จีเอ็มเอ็มมีเดีย, สกายไฮ 9.กลุ่มอินเทอร์เน็ต เช่น สนุกดอทคอม, ทรูไลฟ์เน็ต, 10.กลุ่มห้างสรรพสินค้า เช่น สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, เซ็นทรัล, เดอะมอลล์, โรบินสัน, เอ็มโพเรียม, ฟิวเจอร์พาร์ค 11.กลุ่มโทรทัศน์/เคเบิลทีวี เอซีอีแชนนอล, พีคแชนนอล, วินทีวี
ทั้งนี้กลุ่มโรงหนังยังอยู่ระหว่างการเจรจากับทางกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ด้วย แต่ว่ายังไม่สรุป ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจและจะมีการดำเนินการมากขึ้น ซึ่งอัตราค่าเก็บลิขสิทธินั้นขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของธุรกิจ เช่น คาราโอเกะ 5,000 บาทต่อจอภาพต่อปี, ร้านอาหาร 100 บาทต่อที่นั่งต่อปี โรงแรม โรงพยาบาล หากค่าห้อง 3,000 บาทขึ้นไป เก็บ 140 บาทต่อห้องต่อปี ร้านค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต 20 บาทต่อตารางเมตรต่อปี การแสดงคอนเสิร์ตแบบเก็บค่าเข้าชม หากไม่เก็บค่าชม เก็บ 20 บาทต่อผู้เข้าชม1ท่านต่อวัน