โบอิ้งจีบการบินไทย หวังได้ออเดอร์ 747-8 Intercontinental เสียบแทนฝูงบินเก่าที่ใช้รุ่น 747-400 อยู่ 20 ลำ ชูจุดขายประหยัดน้ำมันกว่าคู่แข่ง แอร์บัส A380 ถึง 11% เดินหน้าภาระกิจ จัดสัมมนาให้ความรู้ ก่อนขันอาสา ขอดูแลฝูงบิน
นายแรนดี้ เจ ทินเซ็ธ รองประธานฝ่ายการตลาด โบอิ้งคอมเมอร์เชียลแอร์เพลนส์(BCA) ผู้ผลิตเครื่องบินโบอิ้ง เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดสัมมนาให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ให้ทราบถึงสมรรถนะของเครื่องบินโบอิ้ง รุ่นโดยสาร 747-8 Intercontinental และ รุ่นขนส่งสินค้า 747-8 Freighter โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ บริษัทการบินไทย ใช้ประกอบการพิจารณา จัดซื้อเครื่องบินรุ่นดังกล่าว เข้ามาแทนฝูงบิน 747-400 ของการบินไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 20 ลำ โดยการติดต่อซื้อขาย จะเป็นบริษัท โบอิ้งจากสหรัฐอเมริกาจะติดต่อตรงกับการบินไทย ไม่ผ่านคนกลาง
"เราจะขอดูแลการบินไทยเป็นระยะๆ เพราะเมื่อเครื่องบินรุ่น 747-400 ที่การบินไทยใช้อยู่ขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องปลดระวาง ก็อยากเสนอให้ การบินไทย ซื้อเครื่องโบอิ้ง รุ่น 747-8 Intercontinental เข้าไปทดแทนในฝูงบิน โดยแต่ละลำอาจหมดอายุการใช้งานไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการใช้งาน"
ทั้งนี้ข้อดีของ โบอิ้ง 747-8 Intercontinental คือเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ 400-500 ที่นั่ง ใช้วัสดุเบาทำให้ประหยัดน้ำมัน ช่วยให้บริษัทสายการบินประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงได้ โดยเครื่องรุ่นนี้ จะประหยัดน้ำมันกว่ารุ่น 747-400 ราว 16% และเมื่อเทียบกับเครื่องแอร์บัส A380 ของบริษัทคู่แข่งขัน เราจะประหยัดกว่า 11% และเครื่องยนต์รุ่นที่ใส่ในโบอิ้งรุ่นนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นาย ทินเซ็ธ กล่าวอีกว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้เกิดการเดินทางและการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นตลาดใหญ่ของโบอิ้งที่จะนำเครื่องบินรุ่น747-8 Intercontinental เข้ามาทำตลาด เพราะเชื่อว่า การเพิ่มขนาดเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น ขนผู้โดยสารต่อเที่ยวได้มากขึ้น จะช่วยลดการจราจรทางอากาศ และประหยัดค่าต้นทุนเพราะไม่ต้องเพิ่มเที่ยวบิน
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดการณ์ใน 20 ปีนับจากนี้ไป จะมีคำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 747-8 Intercontinental ประมาณ 960 ลำ เป็นเครื่องโดยสาร 590 ลำ และเครื่องบินขนส่งสินค้า 370 ลำ โดยสัดส่วนยอดสั่งซื้อจะมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากที่สุดแน่นอน และเชื่อว่าด้วยรูปแบบตัวเครื่องบินที่เพรียวกว่า แอร์บัส ทำให้สามารถลงจอดได้ทุกสนามบิน โดยไม่ต้องมีการปรับปรุงสนามบิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดขายสำคัญเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
นายแรนดี้ เจ ทินเซ็ธ รองประธานฝ่ายการตลาด โบอิ้งคอมเมอร์เชียลแอร์เพลนส์(BCA) ผู้ผลิตเครื่องบินโบอิ้ง เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดสัมมนาให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ให้ทราบถึงสมรรถนะของเครื่องบินโบอิ้ง รุ่นโดยสาร 747-8 Intercontinental และ รุ่นขนส่งสินค้า 747-8 Freighter โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ บริษัทการบินไทย ใช้ประกอบการพิจารณา จัดซื้อเครื่องบินรุ่นดังกล่าว เข้ามาแทนฝูงบิน 747-400 ของการบินไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 20 ลำ โดยการติดต่อซื้อขาย จะเป็นบริษัท โบอิ้งจากสหรัฐอเมริกาจะติดต่อตรงกับการบินไทย ไม่ผ่านคนกลาง
"เราจะขอดูแลการบินไทยเป็นระยะๆ เพราะเมื่อเครื่องบินรุ่น 747-400 ที่การบินไทยใช้อยู่ขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องปลดระวาง ก็อยากเสนอให้ การบินไทย ซื้อเครื่องโบอิ้ง รุ่น 747-8 Intercontinental เข้าไปทดแทนในฝูงบิน โดยแต่ละลำอาจหมดอายุการใช้งานไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการใช้งาน"
ทั้งนี้ข้อดีของ โบอิ้ง 747-8 Intercontinental คือเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ 400-500 ที่นั่ง ใช้วัสดุเบาทำให้ประหยัดน้ำมัน ช่วยให้บริษัทสายการบินประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงได้ โดยเครื่องรุ่นนี้ จะประหยัดน้ำมันกว่ารุ่น 747-400 ราว 16% และเมื่อเทียบกับเครื่องแอร์บัส A380 ของบริษัทคู่แข่งขัน เราจะประหยัดกว่า 11% และเครื่องยนต์รุ่นที่ใส่ในโบอิ้งรุ่นนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นาย ทินเซ็ธ กล่าวอีกว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้เกิดการเดินทางและการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นตลาดใหญ่ของโบอิ้งที่จะนำเครื่องบินรุ่น747-8 Intercontinental เข้ามาทำตลาด เพราะเชื่อว่า การเพิ่มขนาดเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น ขนผู้โดยสารต่อเที่ยวได้มากขึ้น จะช่วยลดการจราจรทางอากาศ และประหยัดค่าต้นทุนเพราะไม่ต้องเพิ่มเที่ยวบิน
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดการณ์ใน 20 ปีนับจากนี้ไป จะมีคำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 747-8 Intercontinental ประมาณ 960 ลำ เป็นเครื่องโดยสาร 590 ลำ และเครื่องบินขนส่งสินค้า 370 ลำ โดยสัดส่วนยอดสั่งซื้อจะมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากที่สุดแน่นอน และเชื่อว่าด้วยรูปแบบตัวเครื่องบินที่เพรียวกว่า แอร์บัส ทำให้สามารถลงจอดได้ทุกสนามบิน โดยไม่ต้องมีการปรับปรุงสนามบิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดขายสำคัญเมื่อเทียบกับคู่แข่ง