สำนักงาน ก.ล.ต. เลือก 3 บลจ. "กสิกรไทย-ไทยพาณิชย์-ทิสโก้" บริหารพอร์ตมูลค่า 3.3 พันล้านบาท โดยบลจ.กสิกรไทย คว้า 2 กองทุนทั้งมันนี่มาร์เกตฟันด์-บาลานซ์ฟันด์ มูลค่ารวมเกือบ 1.7 พันล้านบาท ด้าน "ประเวช" หวังผลตอบแทน 4-5% พร้อมเปิดทางให้บลจ.แข่งขันวัดฝีมือจากผลตอบแทน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะทำงานเพื่อการลงทุนของสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีมติคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 3 แห่ง เข้ามาทำหน้าที่บริหารเงินลงทุน (พอร์ต) ของก.ล.ต. มูลค่า 3,300 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะทำงานเพื่อการลงทุนของสำนักงานก.ล.ต. ประกอบด้วยตัวแทนจากก.ล.ต.จำนวน 4 คน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 1 คน และผู้แทนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญเข้าราชการ (กบข.) 1 คน ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวจะเข้ามาทำหน้าที่ในการร่วมกำหนดนโยบายการลงทุนและบริหารความเสี่ยง รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการจำนวน 5 คน เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกผู้บริหารพอร์ตของก.ล.ต.
สำหรับพอร์ตการลงทุนของก.ล.ต.จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก มูลค่า 1,380 ล้านบาท ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ (มันนีมาร์เก็ตฟันด์) โดยมอบหมายให้ บลจ.กสิกรไทย และบลจ.ไทยพาณิชย์ เป็นผู้บริหารพอร์ตรายละ 690 ล้านบาท ซึ่งจะเน้นการลงทุนในตราสารหนีที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยคาดว่าจะมีผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 4-5%
ส่วนที่สอง มูลค่า 1,980 ล้านบาท ลงทุนในกองทุนผสมระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน(บาลานซ์ฟันด์) มอบให้ บลจ.กสิกรไทย และบลจ.ทิสโก้ เป็นผู้บริหารกองทุน มูลค่าการบริหารรายละ 980 ล้านบาท ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ธนาคารทหารไทย เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์การลงทุนครั้งนี้
"กองทุนทั้ง 4 กอง ได้เริ่มบริหารเงินลงทุนมาตั้งแต่ต้นปี 51 ที่ผ่านมา และการเลือกบลจ.หลายๆ แห่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารพอร์ตก.ล.ต. สืบเนื่องจากก.ล.ต.ต้องการวัดฝีมือการบริหารในการสร้างผลตอบแทนของบลจ.แต่ละแห่ง โดยมีบลจ.ยื่นความจำนงเข้ามาบริหารพอร์ตของก.ล.ต.จำนวน 20 แห่ง ซึ่งการบริหารของแต่ละบลจ.นั้นทางคณะทำงานเพื่อการลงทุนก.ล.ต.จะเป็นผู้ติดตามในเรื่องผลการลงทุน"
นายประเวช กล่าวว่า เงินลงทุนของก.ล.ต.จำนวน 3,300 ล้านบาทนั้น มาจากเงินลงทุนเริ่มต้นที่กระทรวงการคลังได้ลงทุนไว้จำนวน 1,250 ล้านบาท ส่วนอีก 1,000 ล้านบาท มาจากค่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ไลเซ่นส์) ของโบรกเกอร์ที่ยังมีใบไลเซ่นส์ยังไม่ครบทั้ง 4 ธุรกิจเข้ามาขอใบไลเซ่นกับก.ล.ต. และ 800-900 ล้านบาท แบ่งเป็น การจัดหาที่ทำการก.ล.ต.ใหม่ จำนวน 300 ล้านบาท จากที่อาคารปัจจุบันกบข.ได้มีการซื้อไว้แล้ว หากอนาคตกบข.มีการปรับค่าเช่าขึ้นก็จะต้องมีการหาที่ทำการใหม่ และที่เหลือ เป็นเงินสำรองค่าใช้จ่ายต่าง
ก่อนหน้านี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานก.ล.ต.อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)จำนวน 4 แห่ง ที่จะมาบริหารเงินให้กับสำนักงานก.ล.ต.ที่มีอยู่จำนวน 3,200 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาซึ่งมีตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)เพื่อช่วยในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมายการลงทุน
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต.ได้กำหนดระยะเวลาในการลงทุน 5 ปี และตั้งเป้าที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่า อัตราเงินเฟ้อ และจำกัดผลขาดทุนได้ไม่เกิน 4% และสามารถรับความเสี่ยงได้ 4%ต่อปี โดยทางคณะทำงานได้มีการเสนอให้สำนักงานก.ล.ต.มีการบริหารเงินเองจำนวน 200 ล้านบาท และอีก 3,000 ล้านบาทนั้นให้ทางบลจ.เป็นผู้บริหารเงินให้
สำหรับที่ผ่านมาสำนักงานก.ล.ต.ได้มีการจ้างบลจ.ให้มีการบริหารเงินให้อยู่แล้ว แต่ทางสำนักงานก.ล.ต.ได้มีการกำหนดขอบเขตการลงทุนและตัวอ้างอิงที่กว้างและง่ายเกินไป เพียงแค่ขอให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก แต่ไม่ได้มีการกำหนดขอบเขตให้ และก็ไม่ค่อยมีการจัดทำสถิติในเรื่องพอร์ตการลงทุนว่าได้ลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้และฝากธนาคารในสัดส่วนเท่าไรและผลตอบแทนที่ได้เป็นอย่างไร โดยก.ล.ต.มองว่าควรที่จะมีองค์กรขึ้นมาเพื่อจัดอันดับบลจ.ทั้งสมาคม ซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.พร้อมที่จะมีการให้การสนับสนุน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะทำงานเพื่อการลงทุนของสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีมติคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 3 แห่ง เข้ามาทำหน้าที่บริหารเงินลงทุน (พอร์ต) ของก.ล.ต. มูลค่า 3,300 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะทำงานเพื่อการลงทุนของสำนักงานก.ล.ต. ประกอบด้วยตัวแทนจากก.ล.ต.จำนวน 4 คน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 1 คน และผู้แทนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญเข้าราชการ (กบข.) 1 คน ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวจะเข้ามาทำหน้าที่ในการร่วมกำหนดนโยบายการลงทุนและบริหารความเสี่ยง รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการจำนวน 5 คน เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกผู้บริหารพอร์ตของก.ล.ต.
สำหรับพอร์ตการลงทุนของก.ล.ต.จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก มูลค่า 1,380 ล้านบาท ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ (มันนีมาร์เก็ตฟันด์) โดยมอบหมายให้ บลจ.กสิกรไทย และบลจ.ไทยพาณิชย์ เป็นผู้บริหารพอร์ตรายละ 690 ล้านบาท ซึ่งจะเน้นการลงทุนในตราสารหนีที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยคาดว่าจะมีผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 4-5%
ส่วนที่สอง มูลค่า 1,980 ล้านบาท ลงทุนในกองทุนผสมระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน(บาลานซ์ฟันด์) มอบให้ บลจ.กสิกรไทย และบลจ.ทิสโก้ เป็นผู้บริหารกองทุน มูลค่าการบริหารรายละ 980 ล้านบาท ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ธนาคารทหารไทย เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์การลงทุนครั้งนี้
"กองทุนทั้ง 4 กอง ได้เริ่มบริหารเงินลงทุนมาตั้งแต่ต้นปี 51 ที่ผ่านมา และการเลือกบลจ.หลายๆ แห่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารพอร์ตก.ล.ต. สืบเนื่องจากก.ล.ต.ต้องการวัดฝีมือการบริหารในการสร้างผลตอบแทนของบลจ.แต่ละแห่ง โดยมีบลจ.ยื่นความจำนงเข้ามาบริหารพอร์ตของก.ล.ต.จำนวน 20 แห่ง ซึ่งการบริหารของแต่ละบลจ.นั้นทางคณะทำงานเพื่อการลงทุนก.ล.ต.จะเป็นผู้ติดตามในเรื่องผลการลงทุน"
นายประเวช กล่าวว่า เงินลงทุนของก.ล.ต.จำนวน 3,300 ล้านบาทนั้น มาจากเงินลงทุนเริ่มต้นที่กระทรวงการคลังได้ลงทุนไว้จำนวน 1,250 ล้านบาท ส่วนอีก 1,000 ล้านบาท มาจากค่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ไลเซ่นส์) ของโบรกเกอร์ที่ยังมีใบไลเซ่นส์ยังไม่ครบทั้ง 4 ธุรกิจเข้ามาขอใบไลเซ่นกับก.ล.ต. และ 800-900 ล้านบาท แบ่งเป็น การจัดหาที่ทำการก.ล.ต.ใหม่ จำนวน 300 ล้านบาท จากที่อาคารปัจจุบันกบข.ได้มีการซื้อไว้แล้ว หากอนาคตกบข.มีการปรับค่าเช่าขึ้นก็จะต้องมีการหาที่ทำการใหม่ และที่เหลือ เป็นเงินสำรองค่าใช้จ่ายต่าง
ก่อนหน้านี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานก.ล.ต.อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)จำนวน 4 แห่ง ที่จะมาบริหารเงินให้กับสำนักงานก.ล.ต.ที่มีอยู่จำนวน 3,200 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาซึ่งมีตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)เพื่อช่วยในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมายการลงทุน
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต.ได้กำหนดระยะเวลาในการลงทุน 5 ปี และตั้งเป้าที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่า อัตราเงินเฟ้อ และจำกัดผลขาดทุนได้ไม่เกิน 4% และสามารถรับความเสี่ยงได้ 4%ต่อปี โดยทางคณะทำงานได้มีการเสนอให้สำนักงานก.ล.ต.มีการบริหารเงินเองจำนวน 200 ล้านบาท และอีก 3,000 ล้านบาทนั้นให้ทางบลจ.เป็นผู้บริหารเงินให้
สำหรับที่ผ่านมาสำนักงานก.ล.ต.ได้มีการจ้างบลจ.ให้มีการบริหารเงินให้อยู่แล้ว แต่ทางสำนักงานก.ล.ต.ได้มีการกำหนดขอบเขตการลงทุนและตัวอ้างอิงที่กว้างและง่ายเกินไป เพียงแค่ขอให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก แต่ไม่ได้มีการกำหนดขอบเขตให้ และก็ไม่ค่อยมีการจัดทำสถิติในเรื่องพอร์ตการลงทุนว่าได้ลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้และฝากธนาคารในสัดส่วนเท่าไรและผลตอบแทนที่ได้เป็นอย่างไร โดยก.ล.ต.มองว่าควรที่จะมีองค์กรขึ้นมาเพื่อจัดอันดับบลจ.ทั้งสมาคม ซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.พร้อมที่จะมีการให้การสนับสนุน