ผู้เชี่ยวด้านพลังงาน ชี้การตรึงราคาก๊าซหุงต้มไม่เป็นผลดีกับประเทศ ส่งผลให้ประชาชนไม่รู้จักประหยัด และจะกระทบต้องทำให้นำเข้าก๊าซหุงต้มมากขึ้น เป็นภาระให้กับผู้นำเข้าต้องแบกค่าใช้จ่ายแทนประชาชน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตภัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะทำการตรึงราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีในระดับ 18.13 บาทต่อกิโลกรัมไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชาชนนั้น จะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้มถูกบิดเบือนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณการใช้จะไม่ปรับตัวลดลง ทำให้ประชาชนไม่รู้จักประหยัด
ที่สำคัญการนำก๊าซหุงต้มมาใช้ในภาคขนส่ง และอุตสาหกรรม ที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก จะยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีก เพราะเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก และจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนก๊าซหุงต้มเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลให้เวลานี้บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) จะต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศในราคาที่แพงเข้ามา
ในขณะที่ราคาก๊าซหุงต้มในประเทศมีราคาถูกกว่า 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ และไม่รู่ว่าจะต้องนำเข้ามาเป็นระยะเวลาเท่าใด ซึ่งหากมีการตรึงราคาต่อไปเรื่อยๆ แทนที่ผู้ใช้รถยนต์จะหันไปเป็นเป็นก๊าซเอ็นจีวี ก็จะหันมาใช้ก๊าซหุงต้มแทน และจะส่งผลให้การนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การตรึงราคาก๊าซหุงต้มออกไป มองว่าเป็นสิทธิ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการตอบสนองข้อเรียกร้องของประชาชนในการเข้ามาดูแลราคาด้านพลังงาน ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องการเอาใจประชาชนเพื่อเรียกคะแนนนิยม แต่จะต้องติดตามต่อไปว่า หลังจากตรึงราคาก๊าซหุงต้มผ่าน 5 เดือนไปแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะดำเนินการอย่างไรต่อ ซึ่งหากตรึงในระยะยาวจะไม่เป็นผลดี
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตภัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะทำการตรึงราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีในระดับ 18.13 บาทต่อกิโลกรัมไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชาชนนั้น จะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้มถูกบิดเบือนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณการใช้จะไม่ปรับตัวลดลง ทำให้ประชาชนไม่รู้จักประหยัด
ที่สำคัญการนำก๊าซหุงต้มมาใช้ในภาคขนส่ง และอุตสาหกรรม ที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก จะยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีก เพราะเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก และจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนก๊าซหุงต้มเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลให้เวลานี้บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) จะต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศในราคาที่แพงเข้ามา
ในขณะที่ราคาก๊าซหุงต้มในประเทศมีราคาถูกกว่า 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ และไม่รู่ว่าจะต้องนำเข้ามาเป็นระยะเวลาเท่าใด ซึ่งหากมีการตรึงราคาต่อไปเรื่อยๆ แทนที่ผู้ใช้รถยนต์จะหันไปเป็นเป็นก๊าซเอ็นจีวี ก็จะหันมาใช้ก๊าซหุงต้มแทน และจะส่งผลให้การนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การตรึงราคาก๊าซหุงต้มออกไป มองว่าเป็นสิทธิ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการตอบสนองข้อเรียกร้องของประชาชนในการเข้ามาดูแลราคาด้านพลังงาน ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องการเอาใจประชาชนเพื่อเรียกคะแนนนิยม แต่จะต้องติดตามต่อไปว่า หลังจากตรึงราคาก๊าซหุงต้มผ่าน 5 เดือนไปแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะดำเนินการอย่างไรต่อ ซึ่งหากตรึงในระยะยาวจะไม่เป็นผลดี