ทราฟฟิกคอร์เนอร์ งัดกลยุทธ์ปั้นเอ็มพิคเจอร์ส เตรียมเสนอแผนงานและแผนรีแบรนด์ให้กับผู้ถือหุ้นเดือนหน้า บุกทุกสื่อไลฟ์สไตล์ เป็นฐานสนับสนุนธุรกิจหนัง เปิดกว้างทุกแนวทั้งสร้างเองและนำเข้า พร้อมขยายตลาดรีเทล
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทราฟฟิกคอร์เนอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหาร บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า ช่วงต้นเดือนเมษายนจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นของทราฟฟิกฯ ซึ่งตนเตรียมนำรายละเอียดและแผนงานรวมทั้งการรีแบรนด์ใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นรับทราบและพิจารณา หลังจากที่ได้มีการควบรวมธุรกิจกับทางบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว
ทั้งนี้ จะเน้นการทำธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจบริหารการตลาดรวมทั้งสื่อต่างๆ ที่เป็นไลฟ์สไตล์มีเดีย ในลักษณะครบวงจร ซึ่งในส่วนของธุรกิจหนังที่ทำอยู่เวลานี้คือ การนำหนังจากต่างประเทศเข้ามาฉาย และจัดจำหน่ายในโรง และ วีซีดี ดีวีดี เท่านั้น แต่แผนใหม่จะเพิ่มช่องทางจำหน่าย ทั้งสื่อทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเคเบิ้ล ทีวีดาวเทียม ต่างๆ ขณะนี้เริ่มเจรจากับทางทีวีหลายช่องแล้ว คาดว่า ช่องโมเดิร์นไนน์มีความเป็นไปได้มากที่สุด ที่จะเข้าไปบริหารเวลาแล้วผลิตรายการออกอากาศ รวมทั้งการจะทำนิตยสารอีกเล่มขึ้นมาเป็นการขายจากเดิมที่มีอยู่แล้ว คือ เอ็มซีนแต่เป็นการแจกฟรี รวมถึงมีการเจรจากับทางผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีแล้วหลายราย
“ทุกสื่อที่เราจะขยายเข้าไปนั้นก็เพื่อเป็นการสร้างฐานทางด้านมีเดียให้เป็นช่องทางทำตลาดทำรายได้ เปรียบเหมือนเป็นสื่อที่โปรโมต และสนับสนุนธุรกิจ เช่นรายการทีวีเราก็จะมีรายการที่เกี่ยวกับหนัง ช่น โฆษณาหนังใหม่ หรือเบื้องหลังการถ่ายทำหนัง หรือสัมภาษณ์ดารา ให้ข้อมูลบันเทิงที่มีสาระ ส่วนสิ่งพิมพ์นั้นปัจจุบันในตลาดก็มีแต่ยังไม่ใช่เจาะกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่เรามองว่าเป็นวัยรุ่น ตรงนี้เราจะทำ”
ในส่วนของโครงการสร้างหนัง และการนำเข้า จะไม่กำหนดแนวทางเฉพาะ แต่เน้นเรื่องความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าจะใช้งบในการสร้างเฉลี่ย 15-40 ล้านบาทต่อเรื่อง ครึ่งปีแรกนี้จะเห็นได้ 1 เรื่อง เป็นแนวฟีลกู้ด
“ตลาดหนังไทยนั้นยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ซึ่งของเราเองคาดว่าในปีนี้จะมีประมาณ 30 กว่าเรื่อง และการที่เรามาเน้นการสร้างหนังด้วยก็น่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ตลาดหนังไทยเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับค่ายอื่นที่มีแผนการสร้างหนังไทยที่มีเอกลักษณ์ของแต่ละค่าย คาดว่ามูลค่าตลาดหนังไทยปีนี้จะสูงถึง 2,000 ล้านบาท” นายสุรพงษ์ กล่าว
ทางด้านแผนตลาดหนังต่างประเทศ จะเปิดกว้าง ทั้งหนัง ฮอลลีวูด และเอเชีย รองรับทุกความต้องการ ที่แตกต่างกัน แต่ทำตลาดเป็นเซ็กเมนต์ ซึ่งปีที่แล้วนำเข้ามาประมาณ 30 กว่าเรื่อง และใช้งบซื้อลิขสิทธิ์แต่ละปีไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท รวมถึงการจัดกิจกรรมหนังกับสินค้าอื่นที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน เช่น นำดารามาจัดคอนเสิร์ช เป็นต้น
ด้านธุรกิจบริหารตลาดเน้นธุรกิจจัดจำหน่ายประกอบด้วยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศซึ่งเป็นธุรกิจเดิมของบริษัท เอ็มพิคเจอร์ส และบริหารร้านค้าปลีกสินค้าโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในนามบริษัท แปซิฟิค มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ กรุ้ป ในเครือเมเจอร์แต่แนวทางการตลาดใหม่นี้จะครอบคลุมถึงตลาดด้านรีเทลด้วย โดยเฉพาะการวางจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในสถาบันการศึกษา ซึ่งเท่าที่สำรวจพบว่ามีร้านเซเว่นในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมากกว่า 900 สาขา
สำหรับรายได้ของบริษัทนั้น คาดว่า ในปีนี้จะมีการเติบโตอย่งมาก จากการปรับแนวทางการทำงาน โดยตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 400 ล้านบาท โดยสัดส่วนของธุรกิจหนังรายได้จะแบ่งเป็น รายได้จากการขายตั๋วหนังบ็อกซ์ออฟฟิศกับรายได้จากหนังแผน่โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์จะเท่ากัน 50%-50% จากเดิมที่บ็อกซ์ออฟฟิศจะมากกว่า ส่วนหากแบ่งเป็นประเภทธุรกิจ หนังโรงยังคงเป็นรายได้หลัก รองมาคือ วีซีดี ดีวีดี และรองลงมาคือ สื่ออื่นๆ
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทราฟฟิกคอร์เนอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหาร บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า ช่วงต้นเดือนเมษายนจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นของทราฟฟิกฯ ซึ่งตนเตรียมนำรายละเอียดและแผนงานรวมทั้งการรีแบรนด์ใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นรับทราบและพิจารณา หลังจากที่ได้มีการควบรวมธุรกิจกับทางบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว
ทั้งนี้ จะเน้นการทำธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจบริหารการตลาดรวมทั้งสื่อต่างๆ ที่เป็นไลฟ์สไตล์มีเดีย ในลักษณะครบวงจร ซึ่งในส่วนของธุรกิจหนังที่ทำอยู่เวลานี้คือ การนำหนังจากต่างประเทศเข้ามาฉาย และจัดจำหน่ายในโรง และ วีซีดี ดีวีดี เท่านั้น แต่แผนใหม่จะเพิ่มช่องทางจำหน่าย ทั้งสื่อทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเคเบิ้ล ทีวีดาวเทียม ต่างๆ ขณะนี้เริ่มเจรจากับทางทีวีหลายช่องแล้ว คาดว่า ช่องโมเดิร์นไนน์มีความเป็นไปได้มากที่สุด ที่จะเข้าไปบริหารเวลาแล้วผลิตรายการออกอากาศ รวมทั้งการจะทำนิตยสารอีกเล่มขึ้นมาเป็นการขายจากเดิมที่มีอยู่แล้ว คือ เอ็มซีนแต่เป็นการแจกฟรี รวมถึงมีการเจรจากับทางผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีแล้วหลายราย
“ทุกสื่อที่เราจะขยายเข้าไปนั้นก็เพื่อเป็นการสร้างฐานทางด้านมีเดียให้เป็นช่องทางทำตลาดทำรายได้ เปรียบเหมือนเป็นสื่อที่โปรโมต และสนับสนุนธุรกิจ เช่นรายการทีวีเราก็จะมีรายการที่เกี่ยวกับหนัง ช่น โฆษณาหนังใหม่ หรือเบื้องหลังการถ่ายทำหนัง หรือสัมภาษณ์ดารา ให้ข้อมูลบันเทิงที่มีสาระ ส่วนสิ่งพิมพ์นั้นปัจจุบันในตลาดก็มีแต่ยังไม่ใช่เจาะกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่เรามองว่าเป็นวัยรุ่น ตรงนี้เราจะทำ”
ในส่วนของโครงการสร้างหนัง และการนำเข้า จะไม่กำหนดแนวทางเฉพาะ แต่เน้นเรื่องความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าจะใช้งบในการสร้างเฉลี่ย 15-40 ล้านบาทต่อเรื่อง ครึ่งปีแรกนี้จะเห็นได้ 1 เรื่อง เป็นแนวฟีลกู้ด
“ตลาดหนังไทยนั้นยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ซึ่งของเราเองคาดว่าในปีนี้จะมีประมาณ 30 กว่าเรื่อง และการที่เรามาเน้นการสร้างหนังด้วยก็น่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ตลาดหนังไทยเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับค่ายอื่นที่มีแผนการสร้างหนังไทยที่มีเอกลักษณ์ของแต่ละค่าย คาดว่ามูลค่าตลาดหนังไทยปีนี้จะสูงถึง 2,000 ล้านบาท” นายสุรพงษ์ กล่าว
ทางด้านแผนตลาดหนังต่างประเทศ จะเปิดกว้าง ทั้งหนัง ฮอลลีวูด และเอเชีย รองรับทุกความต้องการ ที่แตกต่างกัน แต่ทำตลาดเป็นเซ็กเมนต์ ซึ่งปีที่แล้วนำเข้ามาประมาณ 30 กว่าเรื่อง และใช้งบซื้อลิขสิทธิ์แต่ละปีไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท รวมถึงการจัดกิจกรรมหนังกับสินค้าอื่นที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน เช่น นำดารามาจัดคอนเสิร์ช เป็นต้น
ด้านธุรกิจบริหารตลาดเน้นธุรกิจจัดจำหน่ายประกอบด้วยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศซึ่งเป็นธุรกิจเดิมของบริษัท เอ็มพิคเจอร์ส และบริหารร้านค้าปลีกสินค้าโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในนามบริษัท แปซิฟิค มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ กรุ้ป ในเครือเมเจอร์แต่แนวทางการตลาดใหม่นี้จะครอบคลุมถึงตลาดด้านรีเทลด้วย โดยเฉพาะการวางจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในสถาบันการศึกษา ซึ่งเท่าที่สำรวจพบว่ามีร้านเซเว่นในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมากกว่า 900 สาขา
สำหรับรายได้ของบริษัทนั้น คาดว่า ในปีนี้จะมีการเติบโตอย่งมาก จากการปรับแนวทางการทำงาน โดยตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 400 ล้านบาท โดยสัดส่วนของธุรกิจหนังรายได้จะแบ่งเป็น รายได้จากการขายตั๋วหนังบ็อกซ์ออฟฟิศกับรายได้จากหนังแผน่โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์จะเท่ากัน 50%-50% จากเดิมที่บ็อกซ์ออฟฟิศจะมากกว่า ส่วนหากแบ่งเป็นประเภทธุรกิจ หนังโรงยังคงเป็นรายได้หลัก รองมาคือ วีซีดี ดีวีดี และรองลงมาคือ สื่ออื่นๆ