ทีไอจีเอ เล็งนำเข้าลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์เพิ่มอีกในปี 2551 เน้นตลาดลิขสิทธิ์ญี่ปุ่น หลังปีที่แล้วได้รับผลกระทบมากมาย ทำให้ตลาดรวมไม่กระเตื้องเท่าที่ควร ชี้การละเมิดสิทธิ์ยังมีไม่หยุด
นายสิทธิชัย รุจิภาสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีไอจีเอ จำกัด ผู้บริหารลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ที่มีปัจจัยลบต่อเนื่องมาตลอด ทั้งปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน และกำลังซื้อที่ถดถอยลง ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ในภาพรวมด้วยเช่นกัน ซึ่งคาดว่าตลาดรวมลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ในปีนี้จะทรงตัว เช่นเดียวกับบริษัทที่คาดว่าจะมีรายได้โตขึ้นเล็กน้อย หรือทรงตัวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้ราคาน้ำมันยังคงผันผวนอยู่อีก แต่บริษัทคาดว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นกว่าปีที่แล้วบ้าง เพราะอย่างน้อยก็ผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว ส่งผลให้เกิดความชัดเจนทางด้านการเมืองมากขึ้น ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยจะกลับมากระเตื้องขึ้นอีก ส่งผลต่อธุรกิจลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์เมอร์ชันไดซ์ในด้านบวกบ้าง
โดยในปีนี้บริษัทมีแผนที่เตรียมจะนำเข้าลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์เข้ามาทำตลาดเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 3-4 ตัว รวมทั้งลิขสิทธิ์ทางด้านหนังด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์จากทางประเทศญี่ปุ่นมากกว่าทางอเมริกา เพราะตลาดประเทศไทยให้การตอบรับกับลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์จากญี่ปุ่นมากกว่า และตัวคาแรกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างดีด้วย สังเกตได้จากที่ผ่านมา ตลาดลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ญี่ปุ่นมีการเติบโต และเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าในประเทศไทย เช่น โดราเอมอน ชินจัง มดแดง อุลตร้าแมน เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทมีลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ที่รับผิดชอบทำตลาดในประเทศไทยที่จับกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันอยู่หลายตัว แต่ที่เป็นตัวทำรายได้หลัก คือ อุลตร้าแมน สัดส่วนรายได้ 40%, มดแดง สัดส่วนรายได้ 25%, แฮมทาโร่และโคนัน และอื่นๆ รวมกัน โดยธุรกิจหลักของบริษัท คือ 1.การให้ลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์การ์ตูนให้กับผู้ที่สนใจไปทำเมอร์ชันไดซ์ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องเขียน เครื่องใช้ภายในบ้าน รองเท้า กระติกน้ำ เป็นต้น ซึ่งรายได้กลุ่มนี้มีประมาณ 30% ของรายได้รวมบริษัท และ 2.การจำหน่ายวีซีดี ดีวีดี การ์ตูน โดยมีช่องทางการจำหน่ายหลักผ่านทางโมเดิร์นเทรดและร้านค้าย่อยต่างๆ ซึ่งรายได้กลุ่มนี้มากกว่า 70%
สำหรับปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งคาแรกเตอร์และหนังวีซีดี ดีวีดีนั้น ยังคงมีอยู่ในตลาดรวม ซึ่งบางช่วงก็เพิ่มขึ้น บางช่วงก็ลดลง ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดในการปราบปรามของทางภาครัฐ แม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐจะพยายามแก้ปัญหาแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำต่อเนื่อง คาดว่า จากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ จะมีประมาณ 30% ลดลงกว่าช่วงก่อนหน้าที่มีสูงถึง 40-50% ด้วยซ้ำไป
นายสิทธิชัย รุจิภาสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีไอจีเอ จำกัด ผู้บริหารลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ที่มีปัจจัยลบต่อเนื่องมาตลอด ทั้งปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน และกำลังซื้อที่ถดถอยลง ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ในภาพรวมด้วยเช่นกัน ซึ่งคาดว่าตลาดรวมลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ในปีนี้จะทรงตัว เช่นเดียวกับบริษัทที่คาดว่าจะมีรายได้โตขึ้นเล็กน้อย หรือทรงตัวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้ราคาน้ำมันยังคงผันผวนอยู่อีก แต่บริษัทคาดว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นกว่าปีที่แล้วบ้าง เพราะอย่างน้อยก็ผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว ส่งผลให้เกิดความชัดเจนทางด้านการเมืองมากขึ้น ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยจะกลับมากระเตื้องขึ้นอีก ส่งผลต่อธุรกิจลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์เมอร์ชันไดซ์ในด้านบวกบ้าง
โดยในปีนี้บริษัทมีแผนที่เตรียมจะนำเข้าลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์เข้ามาทำตลาดเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 3-4 ตัว รวมทั้งลิขสิทธิ์ทางด้านหนังด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์จากทางประเทศญี่ปุ่นมากกว่าทางอเมริกา เพราะตลาดประเทศไทยให้การตอบรับกับลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์จากญี่ปุ่นมากกว่า และตัวคาแรกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างดีด้วย สังเกตได้จากที่ผ่านมา ตลาดลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ญี่ปุ่นมีการเติบโต และเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าในประเทศไทย เช่น โดราเอมอน ชินจัง มดแดง อุลตร้าแมน เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทมีลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ที่รับผิดชอบทำตลาดในประเทศไทยที่จับกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันอยู่หลายตัว แต่ที่เป็นตัวทำรายได้หลัก คือ อุลตร้าแมน สัดส่วนรายได้ 40%, มดแดง สัดส่วนรายได้ 25%, แฮมทาโร่และโคนัน และอื่นๆ รวมกัน โดยธุรกิจหลักของบริษัท คือ 1.การให้ลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์การ์ตูนให้กับผู้ที่สนใจไปทำเมอร์ชันไดซ์ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องเขียน เครื่องใช้ภายในบ้าน รองเท้า กระติกน้ำ เป็นต้น ซึ่งรายได้กลุ่มนี้มีประมาณ 30% ของรายได้รวมบริษัท และ 2.การจำหน่ายวีซีดี ดีวีดี การ์ตูน โดยมีช่องทางการจำหน่ายหลักผ่านทางโมเดิร์นเทรดและร้านค้าย่อยต่างๆ ซึ่งรายได้กลุ่มนี้มากกว่า 70%
สำหรับปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งคาแรกเตอร์และหนังวีซีดี ดีวีดีนั้น ยังคงมีอยู่ในตลาดรวม ซึ่งบางช่วงก็เพิ่มขึ้น บางช่วงก็ลดลง ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดในการปราบปรามของทางภาครัฐ แม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐจะพยายามแก้ปัญหาแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำต่อเนื่อง คาดว่า จากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ จะมีประมาณ 30% ลดลงกว่าช่วงก่อนหน้าที่มีสูงถึง 40-50% ด้วยซ้ำไป