"กรีนสแปน" อดีตประธานเฟด เตือนภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก หลังดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า แนะแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ รักษาระบบการเงินยืดหยุ่น ระบุ การมุ่งแก้ไขภาวะฟองสบู่ด้านสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว อาจทำให้หลงทางในการแก้ปัญหา เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ ชี้ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นร้อนแรงเหนือระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น กำลังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดโลก
สำนักข่าวเกียวโด ของญี่ปุ่น รายงานว่า วันนี้(6 พ.ย.) นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลก และความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารภาคธุรกิจในกรุงโตเกียว ผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณจากกรุงวอชิงตัน
"ผมกังวลว่าเรากำลังจะออกจากยุคสมัยที่ปลอดเงินเฟ้อ แล้วก้าวเข้าสู่ทิศทางตรงกันข้าม"
ส่วนเรื่องค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงนั้น ผมไม่คิดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเอียงไปในด้านลบเพียงด้านเดียวหรือด้านบวกเพียงด้านเดียว ผมมองว่าดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง อาจกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อ แต่ผู้ส่งออกของสหรัฐจะได้ประโยชน์เพราะดอลลาร์ที่อ่อนตัวจะช่วยให้สินค้าสหรัฐสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
นายกรีนสแปน ย้ำว่า แนวความคิดที่ไม่ถูกต้องก็คือแนวความคิดที่ว่า ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเสมอไป" กรีนสแปนกล่าว
สำหรับในระยะยาวนั้น นายกรีนสแปน คาดว่าประสิทธิภาพการผลิตในจีนและในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะปรับตัวสูงขึ้น หากประเทศเหล่านี้รับเอาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาใช้ ซึ่งจะช่วยให้มาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้ กรีนสแปน ยังเชื่อว่า ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นร้อนแรงเหนือระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น กำลังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดโลก พร้อมกับแนะนำผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางทั่วโลกว่า ไม่ควรมุ่งขจัดภาวะฟองสบู่ด้านสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่แนวทางที่ดีที่สุดคือการรักษาระบบการเงินให้ยืดหยุ่นเข้าไว้
สำนักข่าวเกียวโด ของญี่ปุ่น รายงานว่า วันนี้(6 พ.ย.) นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลก และความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารภาคธุรกิจในกรุงโตเกียว ผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณจากกรุงวอชิงตัน
"ผมกังวลว่าเรากำลังจะออกจากยุคสมัยที่ปลอดเงินเฟ้อ แล้วก้าวเข้าสู่ทิศทางตรงกันข้าม"
ส่วนเรื่องค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงนั้น ผมไม่คิดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเอียงไปในด้านลบเพียงด้านเดียวหรือด้านบวกเพียงด้านเดียว ผมมองว่าดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง อาจกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อ แต่ผู้ส่งออกของสหรัฐจะได้ประโยชน์เพราะดอลลาร์ที่อ่อนตัวจะช่วยให้สินค้าสหรัฐสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
นายกรีนสแปน ย้ำว่า แนวความคิดที่ไม่ถูกต้องก็คือแนวความคิดที่ว่า ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเสมอไป" กรีนสแปนกล่าว
สำหรับในระยะยาวนั้น นายกรีนสแปน คาดว่าประสิทธิภาพการผลิตในจีนและในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะปรับตัวสูงขึ้น หากประเทศเหล่านี้รับเอาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาใช้ ซึ่งจะช่วยให้มาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้ กรีนสแปน ยังเชื่อว่า ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นร้อนแรงเหนือระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น กำลังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดโลก พร้อมกับแนะนำผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางทั่วโลกว่า ไม่ควรมุ่งขจัดภาวะฟองสบู่ด้านสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่แนวทางที่ดีที่สุดคือการรักษาระบบการเงินให้ยืดหยุ่นเข้าไว้