อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ระบุมี 45 บริษัทไทยเสนอตัวเข้าร่วมโครงการขายคาร์บอนเครดิต หลังจากทั่วโลกหวั่นปัญหาโลกร้อน โดยคาดว่าจะสร้างรายได้ที่ดีในอนาคต เพราะขณะนี้ราคาดีดตัวขึ้นมาที่ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว
นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC CDM Executive Board) ได้มีมติอนุมัติการขึ้นทะเบียน (Registration) 3 โครงการของไทย ให้เป็นโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM Project -Carbon Credit) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงของพิธีสารเกียวโต ซึ่งไทยได้ร่วมลงนามที่จะเข้าร่วมแม้ว่าไทยจะไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกที่อยู่ในประเทศที่ต้องลดภาวะโลกร้อน ทำให้มีสิทธิในการที่จะทำ CDM ให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ANNEX 1 และจะทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศด้านการเกษตรและสามารถนำวัสดุเหลือใช้ด้านการเกษตรมาผลิตพลังงาน ช่วยลดภาวะโลกร้อน จึงสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้กับประเทศที่พัฒนาแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวได้ โดยในปัจจุบันมี 45 บริษัทของไทยที่เสนอขอเข้าโครงการนี้ และคาดว่าจะสร้างรายได้ที่ดีในอนาคต เพราะอัตราการขายคาร์บอนเครดิตได้ถีบตัวสูงขึ้นมาถึงระดับ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว
ทั้งนี้ โครงการที่จะเข้าร่วมจะต้องยื่นข้อเสนอไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อผ่านการพิจารณาโครงการก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อได้รับความเห็นชอบ ก็จะมีการเสนอไปที่สหประชาชาติ ส่วนใหญ่โครงการที่เข้าร่วม คือ เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) หรือการผลิตก๊าซจากน้ำเสีย ร้อยละ 50 เทคโนโลยีชีวมวล (ไบโอแมส) ร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือเป็นการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานขยะ และอื่นๆ
ทั้งนี้ โครงการที่ ครม.อนุมัติมี 7 โครงการ และ 3 โครงการในส่วนนี้ ที่สหประชาชาติอนุมัติให้ค้าขายคาร์บอนเครดิตได้แก่ โครงการไบโอแมส โดยด่านช้างไบโอเอนเนอร์ยี่ของกลุ่มมิตรผล โครงการไบโอแมสของเอทีไบโอเพาเวอร์ และโครงการไบโอแมสของโรงไฟฟ้าเครือน้ำตาลขอนแก่น ส่วน 4 โครงการที่ ครม.เห็นชอบแล้ว ได้แก่ การผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลของโครงการภูเขียวเอ็นเนอร์ยี่ เครือมิตรผล , โครงการผลิตก๊าซชีวภาพบริษัทโคราชพลังงานขยะ , โครงการก๊าซชีวภาพของราชบุรีฟาร์มไบโอแก๊ส และโรงไฟฟ้าชีวมวล โครงการผลิตไฟฟ้าจากยางพาราในจังหวัดยะลาที่พัฒนาโดยบริษัทอีพีดีซี ญี่ปุ่น
ทั้งนี้ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ระบุว่า โครงการดังกล่าว จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในแต่ละปีจะทำให้บริษัทมีรายได้รับจากการขายคาร์บอนเครดิต โดยโครงการของบริษัทถือได้ว่าเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลแรกของประเทศไทย และเป็นโครงการที่ 3 ของประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC CDM Executive Board) ได้มีมติอนุมัติการขึ้นทะเบียน (Registration) 3 โครงการของไทย ให้เป็นโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM Project -Carbon Credit) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงของพิธีสารเกียวโต ซึ่งไทยได้ร่วมลงนามที่จะเข้าร่วมแม้ว่าไทยจะไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกที่อยู่ในประเทศที่ต้องลดภาวะโลกร้อน ทำให้มีสิทธิในการที่จะทำ CDM ให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ANNEX 1 และจะทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศด้านการเกษตรและสามารถนำวัสดุเหลือใช้ด้านการเกษตรมาผลิตพลังงาน ช่วยลดภาวะโลกร้อน จึงสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้กับประเทศที่พัฒนาแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวได้ โดยในปัจจุบันมี 45 บริษัทของไทยที่เสนอขอเข้าโครงการนี้ และคาดว่าจะสร้างรายได้ที่ดีในอนาคต เพราะอัตราการขายคาร์บอนเครดิตได้ถีบตัวสูงขึ้นมาถึงระดับ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว
ทั้งนี้ โครงการที่จะเข้าร่วมจะต้องยื่นข้อเสนอไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อผ่านการพิจารณาโครงการก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อได้รับความเห็นชอบ ก็จะมีการเสนอไปที่สหประชาชาติ ส่วนใหญ่โครงการที่เข้าร่วม คือ เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) หรือการผลิตก๊าซจากน้ำเสีย ร้อยละ 50 เทคโนโลยีชีวมวล (ไบโอแมส) ร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือเป็นการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานขยะ และอื่นๆ
ทั้งนี้ โครงการที่ ครม.อนุมัติมี 7 โครงการ และ 3 โครงการในส่วนนี้ ที่สหประชาชาติอนุมัติให้ค้าขายคาร์บอนเครดิตได้แก่ โครงการไบโอแมส โดยด่านช้างไบโอเอนเนอร์ยี่ของกลุ่มมิตรผล โครงการไบโอแมสของเอทีไบโอเพาเวอร์ และโครงการไบโอแมสของโรงไฟฟ้าเครือน้ำตาลขอนแก่น ส่วน 4 โครงการที่ ครม.เห็นชอบแล้ว ได้แก่ การผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลของโครงการภูเขียวเอ็นเนอร์ยี่ เครือมิตรผล , โครงการผลิตก๊าซชีวภาพบริษัทโคราชพลังงานขยะ , โครงการก๊าซชีวภาพของราชบุรีฟาร์มไบโอแก๊ส และโรงไฟฟ้าชีวมวล โครงการผลิตไฟฟ้าจากยางพาราในจังหวัดยะลาที่พัฒนาโดยบริษัทอีพีดีซี ญี่ปุ่น
ทั้งนี้ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ระบุว่า โครงการดังกล่าว จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในแต่ละปีจะทำให้บริษัทมีรายได้รับจากการขายคาร์บอนเครดิต โดยโครงการของบริษัทถือได้ว่าเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลแรกของประเทศไทย และเป็นโครงการที่ 3 ของประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน