กทช.อนุมัติคลื่นความถี่จำนวน 15 ช่องคลื่นความถี่ให้ บวท. เพื่อแก้คลื่นวิทยุชุมชนรบกวนการบิน พร้อมนำกรณีพิพาทระหว่างทีโอทีกับดีแทค ให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทชี้ขาด
นายสุรนันท์ วงศ์วิริยะกำจร เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เปิดเผยว่าที่ประชุม กทช. ได้อนุมัติคลื่นความถี่จำนวน 15 ช่องความถี่ให้แก่บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ใช้งานในระบบขึ้นลงท่าอากาศยานเป็นการชั่วคราว 1 ปี เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการรบกวนสัญญาณของคลื่นวิทยุชุมชน ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร กทช. เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้อนุมัติซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สามารถทำได้ แม้ว่าจะยังไม่มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ( กสช.) ก็ตาม อย่างไรก็ตาม กทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาวิทยุชุมชนเถื่อน เพราะได้มีการออกจับกุมทุกวัน แต่ก็มีปัญหาอยู่
นอกจากนี้ ที่ประชุม กทช. ยังได้เห็นชอบให้นำกรณีพิพาทระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย เข้าสู่กระบวนการพิจารณาระงับข้อพิพาทของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ให้ชี้ขาดภายในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากที่ทีโอทีไม่ยินยอมใช้อัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่ายกับดีแทค และหลังจากชี้ขาดแล้ว ทีโอทีไม่ยอมดำเนินการอีก กทช. จะมีอำนาจบังคับตามกฎหมาย ตั้งแต่ปรับจนถึงเพิกถอนใบอนุญาต ขณะเดียวกัน บริษัท ทรูมูฟ ยื่นขอเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทเช่นเดียวกับดีแทค ซึ่ง กทช. อนุมัติเช่นกัน
นายสุรนันท์ วงศ์วิริยะกำจร เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เปิดเผยว่าที่ประชุม กทช. ได้อนุมัติคลื่นความถี่จำนวน 15 ช่องความถี่ให้แก่บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ใช้งานในระบบขึ้นลงท่าอากาศยานเป็นการชั่วคราว 1 ปี เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการรบกวนสัญญาณของคลื่นวิทยุชุมชน ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร กทช. เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้อนุมัติซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สามารถทำได้ แม้ว่าจะยังไม่มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ( กสช.) ก็ตาม อย่างไรก็ตาม กทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาวิทยุชุมชนเถื่อน เพราะได้มีการออกจับกุมทุกวัน แต่ก็มีปัญหาอยู่
นอกจากนี้ ที่ประชุม กทช. ยังได้เห็นชอบให้นำกรณีพิพาทระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย เข้าสู่กระบวนการพิจารณาระงับข้อพิพาทของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ให้ชี้ขาดภายในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากที่ทีโอทีไม่ยินยอมใช้อัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่ายกับดีแทค และหลังจากชี้ขาดแล้ว ทีโอทีไม่ยอมดำเนินการอีก กทช. จะมีอำนาจบังคับตามกฎหมาย ตั้งแต่ปรับจนถึงเพิกถอนใบอนุญาต ขณะเดียวกัน บริษัท ทรูมูฟ ยื่นขอเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทเช่นเดียวกับดีแทค ซึ่ง กทช. อนุมัติเช่นกัน