การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก ครั้งที่ 13 เริ่มเปิดฉากแล้ววันนี้ (5 ก.ค.) โดยประเด็นสำคัญคือการผลักดันการเจรจาการค้าโลกรอบโดฮา ให้บรรลุข้อตกลงตามกำหนดเส้นตายภายในปีนี้ รวมทั้งพิจารณาร่างต้นแบบที่จะปูทางไปสู่การทำเอฟทีเอของเอเปกในอนาคต

นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ที่เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีการค้ากลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2550 โดยก่อนหน้านี้ การประชุม 4 ฝ่าย ระหว่างบราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงการค้าโลกรอบโดฮา ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และยังไม่มีทีท่าว่าการเจรจารอบโดฮาจะตกลงกันได้ภายในเส้นตายสิ้นปีนี้ เพราะฝ่ายบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศกำลังพัฒนา เรียกร้องให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ลดหรือยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรภายในประเทศของตนเองลง ขณะที่สหรัฐและอียูก็ต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนาลดกำแพงภาษีนำเข้า และยอมเปิดตลาดให้สินค้าอุตสาหกรรม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน
นายวอร์เรน ทรัสส์ รัฐมนตรีการค้าออสเตรเลีย ประธานการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก ครั้งที่ 13 ยอมรับว่า สมาชิกเอเปกซึ่งประกอบด้วย 21 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ไม่อาจหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของการเจรจา 4 ฝ่ายที่เยอรมนีได้ แต่เวทีเอเปกซึ่งแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) แต่ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ควรหาทางออกอื่น ๆ ที่จะผลักดันให้การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาบรรลุผลให้ได้ภายในสิ้นปีนี้
ส่วนการจัดทำข้อตกลงต้นแบบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTAs/RTAs) ที่เอเปกจะหารือในที่ประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยมีส่วนผลักดันร่างต้นแบบที่ไทยเป็นผู้ยกร่างเอง 3 เรื่อง คือ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด, การอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก ยังจะพิจารณาแผนอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรมต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิกลงอีกร้อยละ 5 ภายในปี 2550-2553 ซึ่งหัวข้อการหารือทั้งหมดล้วนมีส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการของไทยได้เป็นอย่างดี โดยผลการประชุมครั้งนี้ จะถูกนำเสนอให้ที่ประชุมผู้นำเอเปกรับรองในการประชุมเดือนกันยายนนี้
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ที่เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีการค้ากลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2550 โดยก่อนหน้านี้ การประชุม 4 ฝ่าย ระหว่างบราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงการค้าโลกรอบโดฮา ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และยังไม่มีทีท่าว่าการเจรจารอบโดฮาจะตกลงกันได้ภายในเส้นตายสิ้นปีนี้ เพราะฝ่ายบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศกำลังพัฒนา เรียกร้องให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ลดหรือยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรภายในประเทศของตนเองลง ขณะที่สหรัฐและอียูก็ต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนาลดกำแพงภาษีนำเข้า และยอมเปิดตลาดให้สินค้าอุตสาหกรรม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน
นายวอร์เรน ทรัสส์ รัฐมนตรีการค้าออสเตรเลีย ประธานการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก ครั้งที่ 13 ยอมรับว่า สมาชิกเอเปกซึ่งประกอบด้วย 21 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ไม่อาจหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของการเจรจา 4 ฝ่ายที่เยอรมนีได้ แต่เวทีเอเปกซึ่งแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) แต่ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ควรหาทางออกอื่น ๆ ที่จะผลักดันให้การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาบรรลุผลให้ได้ภายในสิ้นปีนี้
ส่วนการจัดทำข้อตกลงต้นแบบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTAs/RTAs) ที่เอเปกจะหารือในที่ประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยมีส่วนผลักดันร่างต้นแบบที่ไทยเป็นผู้ยกร่างเอง 3 เรื่อง คือ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด, การอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก ยังจะพิจารณาแผนอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรมต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิกลงอีกร้อยละ 5 ภายในปี 2550-2553 ซึ่งหัวข้อการหารือทั้งหมดล้วนมีส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการของไทยได้เป็นอย่างดี โดยผลการประชุมครั้งนี้ จะถูกนำเสนอให้ที่ประชุมผู้นำเอเปกรับรองในการประชุมเดือนกันยายนนี้