สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปภาวะอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 5.06 เป็นการขยายตัวในทิศทางชะลอลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่เติบโตร้อยละ 7.86 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวดี ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เครื่องปรับอากาศ การกลั่นน้ำมันและยานยนต์ แต่มั่นใจไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น หลังรัฐบาลเริ่มอัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ค่าเฉลี่ยเติบโตอยู่ที่ 164.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.06 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 156.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.86 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกระเป๋าเดินทางยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนอุตสาหกรรมมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ต้นน้ำ) โทรทัศน์ ปูนซีเมนต์ และเซรามิก ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศเป็นหลัก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เผชิญกับภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศที่ลดลง ทั้งจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนผลิตต่ำกว่า เช่น จีน และเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งขณะนี้สินค้าจากทั้ง 2 ประเทศ ส่วนใหญ่เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าสินค้าไทย
“แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังมั่นใจว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยกระตุ้นจากทั้งภาคการส่งออก และงบประมาณรายจ่ายและการลงทุนจากโครงการของรัฐและภาคเอกชนที่เริ่มจะมีให้เห็นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และการลงทุนสร้างโรงงานปิโตรเคมี ระยะที่ 3 ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะเริ่มเห็นความชัดเจนของโครงการต่างๆ ได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยรัฐบาลยังคงเน้นในนโยบายสร้างความแข็งแกร่งและเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง” นายโฆสิต กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ว่า ขณะนี้ภาคเอกชนได้ให้ความสนใจ โดยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเข้ารับฟังชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) 10 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความสนใจในรายละเอียดโครงสร้างรถอีโคคาร์ ปริมาณการผลิต และอัตราภาษี พร้อมเสนอความคิดเห็นให้รัฐบาลยืดหยุ่นในบางข้อกำหนด ซึ่งจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบีโอไอ อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาให้เอกชนยื่นข้อเสนอแผนการผลิตรถเข้ามายังเป็นไปตามเดิมภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น และวันนี้ (28 มิ.ย.) นายสตีเฟน เค.คาร์ไลน์ ผู้บริหารบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เอเชียแปซิฟิก จำกัด เข้าพบในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่และรายงานแผนการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย รวมถึงการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกรถยนต์ไปยังภูมิภาคอื่น
ด้าน นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สศอ.เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2550 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 172.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.34 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วอยู่ที่ระดับ 170.56 และจากการประเมินผลดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมครอบคลุม 8 กลุ่มดัชนี พบว่า ดัชนีผลผลิต
(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 168.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.25 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 172.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.34 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 171.19 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.72 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 184.54 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.44 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 150.18 ลดลงร้อยละ 13.16 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 142.98 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 115.54 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 8.93 และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.56 สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เครื่องปรับอากาศ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และยานยนต์ ส่วนอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกลุ่มสิ่งทอ (ต้นน้ำ) เครื่องรับโทรทัศน์ ปูนซีเมนต์ แปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ แปรรูปผักและผลไม้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ค่าเฉลี่ยเติบโตอยู่ที่ 164.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.06 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 156.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.86 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกระเป๋าเดินทางยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนอุตสาหกรรมมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ต้นน้ำ) โทรทัศน์ ปูนซีเมนต์ และเซรามิก ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศเป็นหลัก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เผชิญกับภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศที่ลดลง ทั้งจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนผลิตต่ำกว่า เช่น จีน และเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งขณะนี้สินค้าจากทั้ง 2 ประเทศ ส่วนใหญ่เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าสินค้าไทย
“แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังมั่นใจว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยกระตุ้นจากทั้งภาคการส่งออก และงบประมาณรายจ่ายและการลงทุนจากโครงการของรัฐและภาคเอกชนที่เริ่มจะมีให้เห็นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และการลงทุนสร้างโรงงานปิโตรเคมี ระยะที่ 3 ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะเริ่มเห็นความชัดเจนของโครงการต่างๆ ได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยรัฐบาลยังคงเน้นในนโยบายสร้างความแข็งแกร่งและเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง” นายโฆสิต กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ว่า ขณะนี้ภาคเอกชนได้ให้ความสนใจ โดยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเข้ารับฟังชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) 10 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความสนใจในรายละเอียดโครงสร้างรถอีโคคาร์ ปริมาณการผลิต และอัตราภาษี พร้อมเสนอความคิดเห็นให้รัฐบาลยืดหยุ่นในบางข้อกำหนด ซึ่งจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบีโอไอ อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาให้เอกชนยื่นข้อเสนอแผนการผลิตรถเข้ามายังเป็นไปตามเดิมภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น และวันนี้ (28 มิ.ย.) นายสตีเฟน เค.คาร์ไลน์ ผู้บริหารบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เอเชียแปซิฟิก จำกัด เข้าพบในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่และรายงานแผนการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย รวมถึงการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกรถยนต์ไปยังภูมิภาคอื่น
ด้าน นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สศอ.เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2550 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 172.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.34 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วอยู่ที่ระดับ 170.56 และจากการประเมินผลดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมครอบคลุม 8 กลุ่มดัชนี พบว่า ดัชนีผลผลิต
(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 168.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.25 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 172.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.34 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 171.19 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.72 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 184.54 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.44 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 150.18 ลดลงร้อยละ 13.16 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 142.98 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 115.54 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 8.93 และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 67.56 สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เครื่องปรับอากาศ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และยานยนต์ ส่วนอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกลุ่มสิ่งทอ (ต้นน้ำ) เครื่องรับโทรทัศน์ ปูนซีเมนต์ แปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ แปรรูปผักและผลไม้