ผู้จัดการรายสัปดาห์ - ท่ามกลางการล้มหายตายจากของธุรกิจร้านกาแฟหลากหลายประเภทที่เข้ามาในตลาดช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา แบล็คแคนยอน เป็นธุรกิจเชนร้านอาหารและเครื่องดื่มกาแฟสัญชาติไทยแท้ๆที่สามารถพิชิตใจผู้บริโภคฝ่าด่านการแข่งขันรุนแรงมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 14 และสิ่งสำคัญที่นำพาธุรกิจมาได้ตลอดรอดฝั่งนั้นคือ ให้ความสำคัญกับการแบรนดิ้งตราสินค้าให้แข็งแกร่ง ซึ่งความพยายามดังกล่าว ทำให้แบรนด์แบล็คแคนยอน ขึ้นแท่น ถูกเรียกว่าเป็น Generic Name ของคอกาแฟในบ้านเรา

การต่อยอดจากความสำเร็จจากการทำตลาดในประเทศ เพื่อยกระดับแบรนด์ก้าวขึ้นเป็น "อาเซียนแบรนด์ คอฟฟี่"ที่แข็งแกร่งในระดับภูมิภาค ก่อนจะค่อยๆขยับไปตลาดอเมริกาและยุโรป และตั้งธงไกลไปถึง "ระดับเวิลด์คลาส"เป็นหนึ่งในนโยบายการตลาดต่อไปของ ร้านกาแฟ "แบล็คแคนยอน" ขณะที่การทำตลาดในประเทศกลับต้องเผชิญกับคู่แข่งเชนร้านกาแฟอินเตอร์แบรนด์จากอเมริกาอย่าง "สตาร์บัคส์" ที่เข้ามาเปิดสาขาครอบคลุมไปทุกพื้นที่
ดังนั้น วิธีการทำตลาดโดยเข้าไปเปิดสาขาและดำเนินกลยุทธ์การทำตลาดเพื่อช่วงชิงลูกค้าแบบสวนหมัดไปตรงๆกับค่ายกาแฟยักษ์ใหญ่ระดับโลก จึงไม่ใช่แนวทางการสร้างแบรนด์ของแบล็คแคนยอน ในทางกลับกันเพื่อยกระดับขึ้นเป็นแบรนด์ชั้นนำของกาแฟสด เช่นเดียวกับแบรนด์ดังระดับโลก แบล็คแคนยอน หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง โดยมองช่องว่างตลาดจากพฤติกรรมการดื่มกาแฟของผู้บริโภคที่มีอยู่ทุกกลุ่ม รวมถึงดึงจุดขายของความเป็นเชนร้านกาแฟที่ทำธุรกิจทั้งด้านร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ที่มีราคาระดับกลางมาเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า
เพราะขณะที่ลูกค้าเป้าหมายหลักของร้านกาแฟหัวนอกหวังยึดครองกลุ่มนักศึกษาคนรุ่นใหม่ และวัยทำงานที่ส่วนใหญ่มักมีไลฟ์สไตล์นอกบ้าน โดยมีร้านกาแฟที่มีรสชาติกาแฟ และบรรยากาศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต ที่เรียกว่า "Third Place" หรือที่พักพิงเป็นสถานที่ที่ 3 นอกจากบ้านหรือที่ทำงานนั้น ทว่า การวางเป้าหมายลูกค้าหลักของแบล็คแคนยอน กาแฟสายพันธุ์ไทย วางเป้าหมายไปที่กลุ่มครอบครัว และคนรุ่นใหม่วัยทำงาน
อีกทั้งขยายการทำตลาดกาแฟ ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ "แบล็คแคนยอน" ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้า 160 สาขา ซึ่ง ทั้งหมด 3 รูปแบบคือ ร้านอาหารเต็มรูปแบบ ร้านอาหารขนาดเล็ก และแบบคีออสที่ใช้ชื่อว่า "แบล็คแคน ยอน เอ็กซ์เพรส" ไปสู่กลุ่มลูกค้า ซึ่งมีแบรนด์ใหม่ที่มีความเป็นพรีเมียมและเป็นการทำตลาดแนวรุก ส่งผลทำให้ปัจจุบันกลุ่มแบล็คแคนยอน มีทั้งหมด 4 แบรนด์หลักคือ ร้านแบล็คแคนยอน ร้านเบเกอรี่มายเบรด ร้านคาเฟ เนโร และร้านอาหารญี่ปุ่นไอโกะ ซึ่งเป็นพัฒนการอีกขั้น ซึ่งจากเดิมรูปแบบการยกระดับแบรนด์แบล็คแคนยอนจะให้ความสำคัญกับการปรับโฉมร้านปรับรูปแบบร้านที่ผ่านมา 2 ยุคจากสไตล์คันทรีแบบเก่าเป็นคันทรีที่ดูโปร่งและสว่างขึ้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนโลโก้ให้ดูทันสมัย จากเดิมที่เป็นคาวบอย ค่อนข้างมีอายุ มาเป็นคาวบอยหนุ่มเพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

กลยุทธ์"โค-แบรนดิ้ง"
สร้างกลุ่มลูกค้าใหม่
แนวรุกใหม่ๆ ที่มุ่งขยายฐานกลุ่มลูกค้าผู้ดื่มกาแฟ ในคอนเซ็ปต์พรีเมียม ภายใต้กลยุทธ์การตลาดภายใต้รูปแบบ "โค-แบรนดิ้ง" ซึ่งอยู่ภายใต้อัมเบรลล่าแบรนด์ "แบล็คแคนยอน" และสามารถขจัดอุปสรรครูปแบบการเป็นแบรนด์พรีเมียม ที่มีความแตกต่างในทำเล กลุ่มเป้าหมายและราคาสินค้าที่สูงขึ้นตามมา ด้วยการเปิดแบรนด์ใหม่ สำหรับการเคลื่อนไหวภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าวที่ผ่านมามีความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ คาเฟ เนโร (Caffe' Nero) ร้านอาหารสไตล์อิตาเลียน ที่มาจากศัพท์ภาษาอิตาเลียน แปลว่า กาแฟสีดำเข้มข้น และมีการตกแต่งร้านด้วยคอนเซ็ปต์ สีดำ -ขาว แนวโมเดิร์น ยังถูกวางบทบาทให้เป็นแบรนด์แรกที่จะช่วยยกระดับแบรนด์ และเป็นเรือธงเพื่อขยับขยายจากลูกค้ากลุ่มเดิมที่เป็นตลาดแมส ให้มีการเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ในกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยนำแบรนด์กาแฟเข้ารวมกับร้านอาหารอิตาเลียน เนื่องจากเป็นอาหารนานาชาติที่อยู่ในกระแสความชื่นชอบของลูกค้าส่วนใหญ่ และเป็นเครื่องดื่มที่ควบคู่กับอาหารอิตาเลียน โดยมีสาขาสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสาขาต้นแบบที่จเพิ่มการรับรู้แบรนด์กับชาวต่างชาติ
รวมถึงการจับกระแสการบริโภคอาหารญี่ปุ่น โดยแตกไลน์ธุรกิจใหม่เปิดร้านอาหาร ภายใต้แบรนด์ไอโกะ (AIKO) ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ที่ทำตลาดควบคู่กับกาแฟแบล็คแคนยอน ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมจุดขายกันในแง่ของกระแสความนิยมและความแข็งแกร่งของแบรนด์กาแฟซึ่งเป็นที่รู้จักดีของผู้บริโภค ขณะเดียวกันในบางทำเลยังมีการบริหารต้นทุน โดยปรับนำอาหารญี่ปุ่นเข้าไปเสริม ซึ่งทำให้ร้านแบล็คแคนยอนบางสาขาเป็นคอนเซ็ปต์มัลติแบรนด์ เช่นเดียวกันร้านเบเกอรี่มายเบรด เป็นการแตกไลน์ของแบล็คแคนยอนที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มร้านอาหารนานาชาติ ซึ่งมองเห็นโอกาสตลาดจากพฤติกรรมการบริโภคเบเกอรี่ควบคู่เครื่องดื่มชาและกาแฟ
ทั้งนี้ การสร้างแบรนด์แบล็คแคนยอน ที่ขยายเข้าไปในกลุ่มอาหารและเบเกอรี่เป็นยุทธวิธีในการสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ของกาแฟแบล็คแคนยอน ขยับขยายเข้าไปหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่ได้เป็นคอกาแฟ แต่เป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเข้ามารับประทานอาหารได้ทดลองดื่ม รวมทั้งยกระดับความเป็นพรีเมียมแบรนด์
ยิ่งกว่านั้น กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ใหม่ที่มีอะแวร์เนสของกาแฟแบล็คแคนยอนเป็นตัวนำทางสร้างการรับรู้และขยายฐานลูกค้าร่วมกันยังแตกประเด็นไปได้อีกหลายทาง
ประการแรก เพิ่มศักยภาพของการทำตลาดที่สามารถขยายช่องทางขายได้กว้างมากขึ้น ซึ่งแต่ละแบรนด์ทำหน้าที่ขยายในช่องทางตลาดที่แตกต่าง โดยเฉพาะร้านเบเกอรี่มายเบรดนั้น จะขยายตลาดในสถานบริการน้ำมัน ส่วนแผนการขยายสาขาร้านแบล็คแคนยอนในปีนี้ มีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และเลือกทำเลที่ตั้งร้านทั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ดิสเคานต์สโตร์ บนสถานีรถไฟฟ้า ร้านหนังสือ และสแตนด์อะโลน โดยเพิ่มสาขามากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีเป็น 12-15 สาขา
ส่วนร้านอาหารสไตล์อิตาเลียน คาเฟ เนโร ขยายแนวรุกในตลาดต่างประเทศให้กับ แบล็คแคนยอนซึ่งปัจจุบันมี 22 สาขาอีกด้วย โดยการขยายสาขาตลาดต่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบขายแฟรนไชส์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น ประเดิมสาขาแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ตามมาด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา และปลายปีนี้กำลังจะเปิดที่ประเทศอินเดีย รัสเซีย คาซัคสถาน ต่อไป
ประการต่อมา นำทั้ง 4 แบรนด์ในเครือมาใช้กลยุทธ์เชิงรุกทางด้านโปรโมชั่นร่วมกันในครึ่งปีหลัง ล่าสุดทุ่มงบการตลาด 3 ล้านบาท เปิดแคมเปญโปรโมชั่นภายใต้แคมเปญ "Coffee Bonus Point" โดย กรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า
"เริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมโปรโมชั่น 3 ครั้ง ซึ่งภายในปีนี้เตรียมเปิดตัวแคมเปญกระตุ้นตลาดอีก 4 แคมเปญ ส่วนแคมเปญนี้จะช่วยสร้างการรับรู้ในแต่ละแบรนด์ และขยายฐานลูกค้าระหว่างแบรนด์ได้มากขึ้น และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 5% มีการเติบโตตามเป้า 10-15% ในปีนี้อีกด้วย ขณะที่ตลาดรวมกาแฟคั่วบดในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 5%"
แม้ว่ากาแฟสัญชาติไทยภายใต้แบรนด์ "แบล็คแคนยอน" จะมีพัฒนาการเติบโตแต่ละขั้นตอนมาจนถึงปัจจุบัน ทว่าความมั่นใจในการจะไต่อันดับขึ้นเป็น อาเซียนแบรนด์ คอฟฟี่นั้น เห็นจะมากขึ้น "เมื่อ ฟิลิปต์ คอตเลอร์ ปรมาจารย์ด้านการตลาดที่ทั่วโลกยอมรับ หยิบโมเดลการทำธุรกิจเชนร้านกาแฟ "แบล็คแคนยอน" ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาของแบรนด์ไทยในหนังสือ "Thing ASEAN ! Rethinking Marketing toward ASEAN Community" ที่กล่าวว่า แบรนด์กาแฟแบล็คแคนยอน เป็นการขับเคลื่อนของนักธุรกิจเล็กๆของคนไทยที่มีวิธีคิดใหม่ โดยใช้การตลาด การบริหารจัดการ และการสร้างแบรนด์ในการขยายธุรกิจสู่นานาประเทศ" ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
การต่อยอดจากความสำเร็จจากการทำตลาดในประเทศ เพื่อยกระดับแบรนด์ก้าวขึ้นเป็น "อาเซียนแบรนด์ คอฟฟี่"ที่แข็งแกร่งในระดับภูมิภาค ก่อนจะค่อยๆขยับไปตลาดอเมริกาและยุโรป และตั้งธงไกลไปถึง "ระดับเวิลด์คลาส"เป็นหนึ่งในนโยบายการตลาดต่อไปของ ร้านกาแฟ "แบล็คแคนยอน" ขณะที่การทำตลาดในประเทศกลับต้องเผชิญกับคู่แข่งเชนร้านกาแฟอินเตอร์แบรนด์จากอเมริกาอย่าง "สตาร์บัคส์" ที่เข้ามาเปิดสาขาครอบคลุมไปทุกพื้นที่
ดังนั้น วิธีการทำตลาดโดยเข้าไปเปิดสาขาและดำเนินกลยุทธ์การทำตลาดเพื่อช่วงชิงลูกค้าแบบสวนหมัดไปตรงๆกับค่ายกาแฟยักษ์ใหญ่ระดับโลก จึงไม่ใช่แนวทางการสร้างแบรนด์ของแบล็คแคนยอน ในทางกลับกันเพื่อยกระดับขึ้นเป็นแบรนด์ชั้นนำของกาแฟสด เช่นเดียวกับแบรนด์ดังระดับโลก แบล็คแคนยอน หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง โดยมองช่องว่างตลาดจากพฤติกรรมการดื่มกาแฟของผู้บริโภคที่มีอยู่ทุกกลุ่ม รวมถึงดึงจุดขายของความเป็นเชนร้านกาแฟที่ทำธุรกิจทั้งด้านร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ที่มีราคาระดับกลางมาเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า
เพราะขณะที่ลูกค้าเป้าหมายหลักของร้านกาแฟหัวนอกหวังยึดครองกลุ่มนักศึกษาคนรุ่นใหม่ และวัยทำงานที่ส่วนใหญ่มักมีไลฟ์สไตล์นอกบ้าน โดยมีร้านกาแฟที่มีรสชาติกาแฟ และบรรยากาศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต ที่เรียกว่า "Third Place" หรือที่พักพิงเป็นสถานที่ที่ 3 นอกจากบ้านหรือที่ทำงานนั้น ทว่า การวางเป้าหมายลูกค้าหลักของแบล็คแคนยอน กาแฟสายพันธุ์ไทย วางเป้าหมายไปที่กลุ่มครอบครัว และคนรุ่นใหม่วัยทำงาน
อีกทั้งขยายการทำตลาดกาแฟ ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ "แบล็คแคนยอน" ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้า 160 สาขา ซึ่ง ทั้งหมด 3 รูปแบบคือ ร้านอาหารเต็มรูปแบบ ร้านอาหารขนาดเล็ก และแบบคีออสที่ใช้ชื่อว่า "แบล็คแคน ยอน เอ็กซ์เพรส" ไปสู่กลุ่มลูกค้า ซึ่งมีแบรนด์ใหม่ที่มีความเป็นพรีเมียมและเป็นการทำตลาดแนวรุก ส่งผลทำให้ปัจจุบันกลุ่มแบล็คแคนยอน มีทั้งหมด 4 แบรนด์หลักคือ ร้านแบล็คแคนยอน ร้านเบเกอรี่มายเบรด ร้านคาเฟ เนโร และร้านอาหารญี่ปุ่นไอโกะ ซึ่งเป็นพัฒนการอีกขั้น ซึ่งจากเดิมรูปแบบการยกระดับแบรนด์แบล็คแคนยอนจะให้ความสำคัญกับการปรับโฉมร้านปรับรูปแบบร้านที่ผ่านมา 2 ยุคจากสไตล์คันทรีแบบเก่าเป็นคันทรีที่ดูโปร่งและสว่างขึ้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนโลโก้ให้ดูทันสมัย จากเดิมที่เป็นคาวบอย ค่อนข้างมีอายุ มาเป็นคาวบอยหนุ่มเพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
กลยุทธ์"โค-แบรนดิ้ง"
สร้างกลุ่มลูกค้าใหม่
แนวรุกใหม่ๆ ที่มุ่งขยายฐานกลุ่มลูกค้าผู้ดื่มกาแฟ ในคอนเซ็ปต์พรีเมียม ภายใต้กลยุทธ์การตลาดภายใต้รูปแบบ "โค-แบรนดิ้ง" ซึ่งอยู่ภายใต้อัมเบรลล่าแบรนด์ "แบล็คแคนยอน" และสามารถขจัดอุปสรรครูปแบบการเป็นแบรนด์พรีเมียม ที่มีความแตกต่างในทำเล กลุ่มเป้าหมายและราคาสินค้าที่สูงขึ้นตามมา ด้วยการเปิดแบรนด์ใหม่ สำหรับการเคลื่อนไหวภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าวที่ผ่านมามีความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ คาเฟ เนโร (Caffe' Nero) ร้านอาหารสไตล์อิตาเลียน ที่มาจากศัพท์ภาษาอิตาเลียน แปลว่า กาแฟสีดำเข้มข้น และมีการตกแต่งร้านด้วยคอนเซ็ปต์ สีดำ -ขาว แนวโมเดิร์น ยังถูกวางบทบาทให้เป็นแบรนด์แรกที่จะช่วยยกระดับแบรนด์ และเป็นเรือธงเพื่อขยับขยายจากลูกค้ากลุ่มเดิมที่เป็นตลาดแมส ให้มีการเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ในกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยนำแบรนด์กาแฟเข้ารวมกับร้านอาหารอิตาเลียน เนื่องจากเป็นอาหารนานาชาติที่อยู่ในกระแสความชื่นชอบของลูกค้าส่วนใหญ่ และเป็นเครื่องดื่มที่ควบคู่กับอาหารอิตาเลียน โดยมีสาขาสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสาขาต้นแบบที่จเพิ่มการรับรู้แบรนด์กับชาวต่างชาติ
รวมถึงการจับกระแสการบริโภคอาหารญี่ปุ่น โดยแตกไลน์ธุรกิจใหม่เปิดร้านอาหาร ภายใต้แบรนด์ไอโกะ (AIKO) ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ที่ทำตลาดควบคู่กับกาแฟแบล็คแคนยอน ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมจุดขายกันในแง่ของกระแสความนิยมและความแข็งแกร่งของแบรนด์กาแฟซึ่งเป็นที่รู้จักดีของผู้บริโภค ขณะเดียวกันในบางทำเลยังมีการบริหารต้นทุน โดยปรับนำอาหารญี่ปุ่นเข้าไปเสริม ซึ่งทำให้ร้านแบล็คแคนยอนบางสาขาเป็นคอนเซ็ปต์มัลติแบรนด์ เช่นเดียวกันร้านเบเกอรี่มายเบรด เป็นการแตกไลน์ของแบล็คแคนยอนที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มร้านอาหารนานาชาติ ซึ่งมองเห็นโอกาสตลาดจากพฤติกรรมการบริโภคเบเกอรี่ควบคู่เครื่องดื่มชาและกาแฟ
ทั้งนี้ การสร้างแบรนด์แบล็คแคนยอน ที่ขยายเข้าไปในกลุ่มอาหารและเบเกอรี่เป็นยุทธวิธีในการสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ของกาแฟแบล็คแคนยอน ขยับขยายเข้าไปหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่ได้เป็นคอกาแฟ แต่เป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเข้ามารับประทานอาหารได้ทดลองดื่ม รวมทั้งยกระดับความเป็นพรีเมียมแบรนด์
ยิ่งกว่านั้น กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ใหม่ที่มีอะแวร์เนสของกาแฟแบล็คแคนยอนเป็นตัวนำทางสร้างการรับรู้และขยายฐานลูกค้าร่วมกันยังแตกประเด็นไปได้อีกหลายทาง
ประการแรก เพิ่มศักยภาพของการทำตลาดที่สามารถขยายช่องทางขายได้กว้างมากขึ้น ซึ่งแต่ละแบรนด์ทำหน้าที่ขยายในช่องทางตลาดที่แตกต่าง โดยเฉพาะร้านเบเกอรี่มายเบรดนั้น จะขยายตลาดในสถานบริการน้ำมัน ส่วนแผนการขยายสาขาร้านแบล็คแคนยอนในปีนี้ มีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และเลือกทำเลที่ตั้งร้านทั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ดิสเคานต์สโตร์ บนสถานีรถไฟฟ้า ร้านหนังสือ และสแตนด์อะโลน โดยเพิ่มสาขามากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีเป็น 12-15 สาขา
ส่วนร้านอาหารสไตล์อิตาเลียน คาเฟ เนโร ขยายแนวรุกในตลาดต่างประเทศให้กับ แบล็คแคนยอนซึ่งปัจจุบันมี 22 สาขาอีกด้วย โดยการขยายสาขาตลาดต่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบขายแฟรนไชส์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น ประเดิมสาขาแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ตามมาด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา และปลายปีนี้กำลังจะเปิดที่ประเทศอินเดีย รัสเซีย คาซัคสถาน ต่อไป
ประการต่อมา นำทั้ง 4 แบรนด์ในเครือมาใช้กลยุทธ์เชิงรุกทางด้านโปรโมชั่นร่วมกันในครึ่งปีหลัง ล่าสุดทุ่มงบการตลาด 3 ล้านบาท เปิดแคมเปญโปรโมชั่นภายใต้แคมเปญ "Coffee Bonus Point" โดย กรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า
"เริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมโปรโมชั่น 3 ครั้ง ซึ่งภายในปีนี้เตรียมเปิดตัวแคมเปญกระตุ้นตลาดอีก 4 แคมเปญ ส่วนแคมเปญนี้จะช่วยสร้างการรับรู้ในแต่ละแบรนด์ และขยายฐานลูกค้าระหว่างแบรนด์ได้มากขึ้น และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 5% มีการเติบโตตามเป้า 10-15% ในปีนี้อีกด้วย ขณะที่ตลาดรวมกาแฟคั่วบดในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 5%"
แม้ว่ากาแฟสัญชาติไทยภายใต้แบรนด์ "แบล็คแคนยอน" จะมีพัฒนาการเติบโตแต่ละขั้นตอนมาจนถึงปัจจุบัน ทว่าความมั่นใจในการจะไต่อันดับขึ้นเป็น อาเซียนแบรนด์ คอฟฟี่นั้น เห็นจะมากขึ้น "เมื่อ ฟิลิปต์ คอตเลอร์ ปรมาจารย์ด้านการตลาดที่ทั่วโลกยอมรับ หยิบโมเดลการทำธุรกิจเชนร้านกาแฟ "แบล็คแคนยอน" ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาของแบรนด์ไทยในหนังสือ "Thing ASEAN ! Rethinking Marketing toward ASEAN Community" ที่กล่าวว่า แบรนด์กาแฟแบล็คแคนยอน เป็นการขับเคลื่อนของนักธุรกิจเล็กๆของคนไทยที่มีวิธีคิดใหม่ โดยใช้การตลาด การบริหารจัดการ และการสร้างแบรนด์ในการขยายธุรกิจสู่นานาประเทศ" ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว