กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะให้การสนับสนุนเอกชนไทย ตั้งกองเรือเพื่อจับปลาทูน่าในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยจะพิจารณาให้การสนับสนุนทั้งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังหารือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งกองเรือไทยเพื่อออกไปจับปลาทูน่าในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย ว่า บริษัท สยามอินเตอร์ เนชั่นแนล ฟิชเชอรี่ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ซึ่งมีบริษัทลูกคือ บริษัท อินโด ไทยฟิชเชอรี่ แวลู จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตจับปลาทูน่าในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย ได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาให้การสนับสนุนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในโครงการตั้งกองเรือไทยออกไปจับปลาทูน่าในน่านน้ำอินโดนีเซีย และขอให้ช่วยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษให้ โดยจะพิจารณาว่า จะขอรับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) หรือธนาคารพาณิชย์ต่อไป วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่จะให้การสนับสนุนจะต้องพิจารณาอีกครั้ง
นายปิยะบุตร กล่าวว่า ภาคเอกชนที่เสนอโครงการนี้ จะตั้งกองเรือที่มีเรือสำหรับขนส่งปลาจำนวน 10 ลำ แต่ละลำมีขนาดบรรทุก2,000-3,000 ตัน ลงทุนลำละประมาณ 90 ล้านบาท โดยบริษัทจะสร้างใหม่ บวกปรับปรุงซ่อมแซม และเสริมเทคโนโลยีให้กับเรือที่มีอยู่แล้วในจังหวัดปัตตานีที่ไม่ค่อยได้ใช้งานอีกประมาณ 100 ลำ ใช้เงินปรับปรุงลำละ 7-8 ล้านบาท จากนั้นจะนำออกทะเลใช้เป็นเรือประมงจับปลาทูน่าในน่านน้ำอินโดนีเซียต่อไป ซึ่งในส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม จะรอให้บริษัทเสนอโครงการเข้ามาให้พิจารณาก่อน จากนั้น ตนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบีโอไอพิจารณาต่อไป แต่คาดว่าจะไม่ทันในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน 2550 แต่อาจจะนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบีโอไอในเดือนกรกฎาคมต่อไป และภาคเอกชนอาจเริ่มโครงการได้ในเดือนสิงหาคมนี้
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซี แวลู จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า โครงการนี้ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดปัตตานี เพราะเรือประมงจะมีงานทำ ในขณะที่ประชาชนจะมีงานทำจากโรงงานผลิตปลากระป๋องทูน่า โดยแต่ละโรงงานจ้างงานไม่ต่ำกว่า 2,000 คน หากมีกองเรือทูน่าจะทำให้มีการจ้างงานอีกมาก
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังหารือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งกองเรือไทยเพื่อออกไปจับปลาทูน่าในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย ว่า บริษัท สยามอินเตอร์ เนชั่นแนล ฟิชเชอรี่ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ซึ่งมีบริษัทลูกคือ บริษัท อินโด ไทยฟิชเชอรี่ แวลู จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตจับปลาทูน่าในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย ได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาให้การสนับสนุนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในโครงการตั้งกองเรือไทยออกไปจับปลาทูน่าในน่านน้ำอินโดนีเซีย และขอให้ช่วยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษให้ โดยจะพิจารณาว่า จะขอรับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) หรือธนาคารพาณิชย์ต่อไป วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่จะให้การสนับสนุนจะต้องพิจารณาอีกครั้ง
นายปิยะบุตร กล่าวว่า ภาคเอกชนที่เสนอโครงการนี้ จะตั้งกองเรือที่มีเรือสำหรับขนส่งปลาจำนวน 10 ลำ แต่ละลำมีขนาดบรรทุก2,000-3,000 ตัน ลงทุนลำละประมาณ 90 ล้านบาท โดยบริษัทจะสร้างใหม่ บวกปรับปรุงซ่อมแซม และเสริมเทคโนโลยีให้กับเรือที่มีอยู่แล้วในจังหวัดปัตตานีที่ไม่ค่อยได้ใช้งานอีกประมาณ 100 ลำ ใช้เงินปรับปรุงลำละ 7-8 ล้านบาท จากนั้นจะนำออกทะเลใช้เป็นเรือประมงจับปลาทูน่าในน่านน้ำอินโดนีเซียต่อไป ซึ่งในส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม จะรอให้บริษัทเสนอโครงการเข้ามาให้พิจารณาก่อน จากนั้น ตนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบีโอไอพิจารณาต่อไป แต่คาดว่าจะไม่ทันในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน 2550 แต่อาจจะนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบีโอไอในเดือนกรกฎาคมต่อไป และภาคเอกชนอาจเริ่มโครงการได้ในเดือนสิงหาคมนี้
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซี แวลู จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า โครงการนี้ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดปัตตานี เพราะเรือประมงจะมีงานทำ ในขณะที่ประชาชนจะมีงานทำจากโรงงานผลิตปลากระป๋องทูน่า โดยแต่ละโรงงานจ้างงานไม่ต่ำกว่า 2,000 คน หากมีกองเรือทูน่าจะทำให้มีการจ้างงานอีกมาก