งานวิจัยระบุลอจิสติกส์ไทยยังมีปัญหาไม่เอื้อให้ประเทศรับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงเอฟทีเอจีน-อาเซียน ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2553 ด้าน ก.คมนาคมเร่งเจรจาประเทศเพื่อนบ้านหาทางอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
นายสุธีระ ประเสริฐสรรพ์ รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2553 ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) จีน-อาเซียน จะบังคับใช้ พร้อมกับเมื่อมีการเปิดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมเมืองท่าดานัง ในเวียดนาม กับเมาะละแหม่ง ในพม่า ซึ่งเป็นการเชื่อมฝั่งทะเลมหาสมุทรอินเดีย กับแปซิฟิก ซึ่งจะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะมีบทบาทให้บริการลอจิสติกส์ทั้งตอนเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชุดโครงการเตรียมความพร้อมด้านลอจิสติกส์เพื่อตอบรับสถานการณ์เอฟทีเอ จีน-อาเซียน พบว่า รูปแบบลอจิสติกส์ของไทยยังมีปัญหา เพราะไม่เป็นระบบ ไม่มีฐานข้อมูล และมีปัญหาค่าขนส่งสูง จึงแข่งขันได้ยาก ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ไม่มีฐานข้อมูลที่เป็นทางการใช้ประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ ฉะนั้น ต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ที่มีปัญหา เช่น ผลักดันท่าเรือของไทยให้มีนโยบายดึงดูดการเข้ามาใช้ท่าขอสายเดินเรือ ลดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่พอ และในส่วนประเทศจีน กงสุลไทยควรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทยให้มากกว่านี้
ในขณะที่การกระจายสินค้าของไทยในจีน ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ โดยผลไม้กระจุกอยู่จีนตอนล่าง เช่น ฮ่องกง กวางโจว เสิ่นเจิ้น ในขณะที่การค้าผ่านแดนจากไทย สู่คุนหมิง พบว่า โครงสร้างพื้นฐานพร้อม แต่ยังมีกฎระเบียบที่เหลื่อมล้ำกัน ดังนั้น จะต้องแก้ไขในจุดเหล่านี้ และผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถส่งสินค้าไปถึงจีนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในขณะที่การขนส่งโดยรถไฟแม้มีต้นทุนต่ำสุด แต่ก็มีปัญหาความไม่แน่นอนของเวลาขบวนรถสินค้า เป็นต้น
นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เส้นทางเชื่อมโยงในภูมิภาคที่เป็นเส้นทางสำคัญมี 2 แนว คือ เส้นทางสายเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ ซึ่งจะเชื่อมตั้งแต่จีนตอนใต้ ลาว และไทย อีกแนวคือ เส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตก โดยเชื่อมโยงตั้งแต่ดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านไทยที่มุกดาหาร ขอนแก่น และพิษณุโลก และเข้าไปพม่า ที่ย่างกุ้ง ซึ่งถนนจะต้องเชื่อมโยงกันได้ ในขณะที่การขนส่งจะต้องไม่ติดปัญหาต่าง ๆ เช่น ติดเรื่องพวงมาลัยรถซ้าย หรือขวา เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเจรจาระหว่างไทย-ลาว มาแล้ว และจะไปหารือกับทางเวียดนาม ที่กรุงฮานอย เรื่องการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนต่อไป สำหรับแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ก็มีการตั้งคณะทำงานร่วมประกอบด้วย จีน ไทย และลาว ในการที่จะมองปัญหาเพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้มากที่สุด
นายสุธีระ ประเสริฐสรรพ์ รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2553 ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) จีน-อาเซียน จะบังคับใช้ พร้อมกับเมื่อมีการเปิดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมเมืองท่าดานัง ในเวียดนาม กับเมาะละแหม่ง ในพม่า ซึ่งเป็นการเชื่อมฝั่งทะเลมหาสมุทรอินเดีย กับแปซิฟิก ซึ่งจะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะมีบทบาทให้บริการลอจิสติกส์ทั้งตอนเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชุดโครงการเตรียมความพร้อมด้านลอจิสติกส์เพื่อตอบรับสถานการณ์เอฟทีเอ จีน-อาเซียน พบว่า รูปแบบลอจิสติกส์ของไทยยังมีปัญหา เพราะไม่เป็นระบบ ไม่มีฐานข้อมูล และมีปัญหาค่าขนส่งสูง จึงแข่งขันได้ยาก ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ไม่มีฐานข้อมูลที่เป็นทางการใช้ประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ ฉะนั้น ต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ที่มีปัญหา เช่น ผลักดันท่าเรือของไทยให้มีนโยบายดึงดูดการเข้ามาใช้ท่าขอสายเดินเรือ ลดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่พอ และในส่วนประเทศจีน กงสุลไทยควรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทยให้มากกว่านี้
ในขณะที่การกระจายสินค้าของไทยในจีน ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ โดยผลไม้กระจุกอยู่จีนตอนล่าง เช่น ฮ่องกง กวางโจว เสิ่นเจิ้น ในขณะที่การค้าผ่านแดนจากไทย สู่คุนหมิง พบว่า โครงสร้างพื้นฐานพร้อม แต่ยังมีกฎระเบียบที่เหลื่อมล้ำกัน ดังนั้น จะต้องแก้ไขในจุดเหล่านี้ และผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถส่งสินค้าไปถึงจีนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในขณะที่การขนส่งโดยรถไฟแม้มีต้นทุนต่ำสุด แต่ก็มีปัญหาความไม่แน่นอนของเวลาขบวนรถสินค้า เป็นต้น
นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เส้นทางเชื่อมโยงในภูมิภาคที่เป็นเส้นทางสำคัญมี 2 แนว คือ เส้นทางสายเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ ซึ่งจะเชื่อมตั้งแต่จีนตอนใต้ ลาว และไทย อีกแนวคือ เส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตก โดยเชื่อมโยงตั้งแต่ดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านไทยที่มุกดาหาร ขอนแก่น และพิษณุโลก และเข้าไปพม่า ที่ย่างกุ้ง ซึ่งถนนจะต้องเชื่อมโยงกันได้ ในขณะที่การขนส่งจะต้องไม่ติดปัญหาต่าง ๆ เช่น ติดเรื่องพวงมาลัยรถซ้าย หรือขวา เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเจรจาระหว่างไทย-ลาว มาแล้ว และจะไปหารือกับทางเวียดนาม ที่กรุงฮานอย เรื่องการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนต่อไป สำหรับแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ก็มีการตั้งคณะทำงานร่วมประกอบด้วย จีน ไทย และลาว ในการที่จะมองปัญหาเพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้มากที่สุด