ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ สถานการณ์การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยปีนี้ อาการน่าเป็นห่วง ยอดส่งออก 4 เดือนแรกในตลาดหลักสำคัญ ลดลงทุกตลาด ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น เสนอผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว ทั้งลดต้นทุน หาตลาดใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ พร้อมใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้าของไทยกับหลายประเทศให้เต็มที่
วันนี้ (3 มิ.ย.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่า 910.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในช่วงครึ่งหลังของปีถือว่ายังน่าเป็นห่วงไม่แพ้ช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ เงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นมานับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2549 จนมาถึงปัจจุบันจะเริ่มส่งผลเต็มที่ในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรวมตลอดทั้งปี 2550 มีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ประมาณ 3,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 5 เทียบกับปี 2549 ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.7 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงด้านมูลค่าส่งออกเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2546
สำหรับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตลาดอียู ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปอันดับที่ 2 ของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 มีทั้งสิ้น 222.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.1 เพราะปัจจุบันอียูนอกจากจะพึ่งพาการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากประเทศสมาชิกด้วยกันเองเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มที่มีต้นทุนต่ำอีกด้วย โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ขณะที่ตลาดญี่ปุ่น ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ส่งออก 55.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.6 ซึ่งขณะนี้ตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปในญี่ปุ่นได้ถูกสินค้าจากจีนเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 80 อันเป็นผลจากญี่ปุ่นมีการย้ายฐานการผลิตไปตั้งยังประเทศจีน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่หันมานิยมเสื้อผ้าสำเร็จรูประดับล่างและปานกลางมากขึ้น ในขณะที่บางส่วนที่มีรายได้สูงจะนิยมเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีตราสินค้ายอดนิยม ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากอิตาลี สหรัฐฯ
ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปตลอดทั้งปี 2550 มีแนวโน้มไม่แจ่มใสนัก เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง นอกเหนือจากปัญหาขีดความสามารถด้านการแข่งขันกับสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า อาทิ จีน เวียดนาม บังกลาเทศ อินเดีย และอินโดนีเซีย ยังมีปัจจัยจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่ปัจจัยทางด้านเงินบาทที่แข็งค่ามาอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จรูปจึงมีความจำเป็นต้องเร่งหาทางแก้ไข ด้วยการลดต้นทุน การประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท การกระจายตลาดส่งออกมากขึ้นที่ยังมีแนวโน้มเติบโต อาทิ ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศยุโรปตะวันออก เช่น ออสเตรีย โปแลนด์ และประเทศตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย การเร่งใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ ขณะที่ในส่วนของภาครัฐเองก็ต้องเข้ามาดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพไม่ผันผวน เพื่อให้ผู้ส่งออกของไทยสามารถกำหนดราคาสินค้าเพื่อเสนอต่อผู้นำเข้าได้อย่างเหมาะสม
วันนี้ (3 มิ.ย.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่า 910.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในช่วงครึ่งหลังของปีถือว่ายังน่าเป็นห่วงไม่แพ้ช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ เงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นมานับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2549 จนมาถึงปัจจุบันจะเริ่มส่งผลเต็มที่ในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรวมตลอดทั้งปี 2550 มีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ประมาณ 3,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 5 เทียบกับปี 2549 ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.7 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงด้านมูลค่าส่งออกเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2546
สำหรับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตลาดอียู ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปอันดับที่ 2 ของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 มีทั้งสิ้น 222.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.1 เพราะปัจจุบันอียูนอกจากจะพึ่งพาการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากประเทศสมาชิกด้วยกันเองเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มที่มีต้นทุนต่ำอีกด้วย โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ขณะที่ตลาดญี่ปุ่น ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ส่งออก 55.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.6 ซึ่งขณะนี้ตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปในญี่ปุ่นได้ถูกสินค้าจากจีนเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 80 อันเป็นผลจากญี่ปุ่นมีการย้ายฐานการผลิตไปตั้งยังประเทศจีน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่หันมานิยมเสื้อผ้าสำเร็จรูประดับล่างและปานกลางมากขึ้น ในขณะที่บางส่วนที่มีรายได้สูงจะนิยมเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีตราสินค้ายอดนิยม ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากอิตาลี สหรัฐฯ
ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปตลอดทั้งปี 2550 มีแนวโน้มไม่แจ่มใสนัก เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง นอกเหนือจากปัญหาขีดความสามารถด้านการแข่งขันกับสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า อาทิ จีน เวียดนาม บังกลาเทศ อินเดีย และอินโดนีเซีย ยังมีปัจจัยจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่ปัจจัยทางด้านเงินบาทที่แข็งค่ามาอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จรูปจึงมีความจำเป็นต้องเร่งหาทางแก้ไข ด้วยการลดต้นทุน การประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท การกระจายตลาดส่งออกมากขึ้นที่ยังมีแนวโน้มเติบโต อาทิ ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศยุโรปตะวันออก เช่น ออสเตรีย โปแลนด์ และประเทศตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย การเร่งใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ ขณะที่ในส่วนของภาครัฐเองก็ต้องเข้ามาดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพไม่ผันผวน เพื่อให้ผู้ส่งออกของไทยสามารถกำหนดราคาสินค้าเพื่อเสนอต่อผู้นำเข้าได้อย่างเหมาะสม