ดงแฟงฮังโจวฯ ซึ่งเข้าร่วมประมูลโครงการติดตั้งเครื่องยนต์เอ็นจีวีในรถโดยสารประจำทางของ ขสมก.เริ่มทดลองปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากดีเซล เป็นเอ็นจีวี เพื่อรอการทดสอบจาก ขสมก.แล้ว พร้อมกับเรียกร้องขอให้ภาครัฐลดภาษีนำเข้าถังบรรจุก๊าซเอ็นจีวี เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว
วันนี้ (24 พ.ค.) บริษัท ดงแฟงฮังโจว มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการนำรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ไปเปลี่ยนเครื่องยนต์ จากเครื่องยนต์ดีเซล เป็นเอ็นจีวี ได้นำรถโดยสารของ ขสมก.ที่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้วเสร็จมาเปิดตัว เพื่อแสดงความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าว
นายสุรพงษ์ มณเฑียรวิเชียรฉาย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดงแฟงฮังโจวฯ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์จากเชื้อเพลิงดีเซลมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี สำหรับรถโดยสารของ ขสมก.จะใช้ต้นทุนดำเนินการตั้งแต่ 1.5-2 ล้านบาทต่อคัน โดยบริษัทจะเปลี่ยนอุปกรณ์สำคัญ ประกอบด้วย การเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนเกียร์ และคันเร่งระบบไฟฟ้า รวมถึงการติดตั้งถังเอ็นจีวี ขนาด 100-140 กิโลกรัม ซึ่งจะทำให้รถที่ติดตั้งมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอุปกรณ์ต่างๆ ของบริษัท เป็นอุปกรณ์และเครื่องยนต์นำเข้าจากประเทศจีน มีคุณภาพได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ ส่วนสาเหตุที่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสารของ ขสมก.เป็นเอ็นจีวีนั้น เพราะเห็นว่าแนวโน้มการใช้ก๊าซเอ็นจีวีในประเทศไทยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก
“อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งเครื่องยนต์เอ็นจีวี เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวยังมีอุปสรรค โดยเฉพาะปริมาณการใช้ถังก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ยังต้องเสียภาษีในอัตราสูงถึงร้อยละ 30 ของมูลค่าถังแต่ละใบ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง โดยผู้ประกอบการ เห็นว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนช่วยลดภาษีดังกล่าว จะทำให้โครงการดังกล่าวเกิดความคล่องตัว และลดต้นทุนการดำเนินการได้อีก หลังจากที่ผ่านมา ภาครัฐให้การช่วยเหลือในการลดภาษีการนำเข้าเครื่องยนต์เอ็นจีวีไปแล้ว
สำหรับโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสารของ ขสมก.เป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี ที่ผ่านมา ขสมก.ได้ประกาศเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเสนอเงื่อนไข และมีผู้ประกอบการรวม 11 ราย ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมประกวดราคาในโครงการดังกล่าว โดย ขสมก.ได้วางเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรับมอบรถโดยสารของ ขสมก.มาติดตั้งเครื่องเอ็นจีวีก่อน บริษัทละ 1-2 คัน ก่อนส่งคืนให้ ขสมก.นำไปทดสอบทั้งในห้องแลปและออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารบนท้องถนนจริง ก่อนประเมินว่า รถเอ็นจีวีของบริษัทใด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะได้รับการตอบรับให้เจรจาเงื่อนไขทางการเงินกับ ขสมก.ต่อไป
วันนี้ (24 พ.ค.) บริษัท ดงแฟงฮังโจว มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการนำรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ไปเปลี่ยนเครื่องยนต์ จากเครื่องยนต์ดีเซล เป็นเอ็นจีวี ได้นำรถโดยสารของ ขสมก.ที่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้วเสร็จมาเปิดตัว เพื่อแสดงความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าว
นายสุรพงษ์ มณเฑียรวิเชียรฉาย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดงแฟงฮังโจวฯ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์จากเชื้อเพลิงดีเซลมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี สำหรับรถโดยสารของ ขสมก.จะใช้ต้นทุนดำเนินการตั้งแต่ 1.5-2 ล้านบาทต่อคัน โดยบริษัทจะเปลี่ยนอุปกรณ์สำคัญ ประกอบด้วย การเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนเกียร์ และคันเร่งระบบไฟฟ้า รวมถึงการติดตั้งถังเอ็นจีวี ขนาด 100-140 กิโลกรัม ซึ่งจะทำให้รถที่ติดตั้งมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอุปกรณ์ต่างๆ ของบริษัท เป็นอุปกรณ์และเครื่องยนต์นำเข้าจากประเทศจีน มีคุณภาพได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ ส่วนสาเหตุที่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสารของ ขสมก.เป็นเอ็นจีวีนั้น เพราะเห็นว่าแนวโน้มการใช้ก๊าซเอ็นจีวีในประเทศไทยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก
“อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งเครื่องยนต์เอ็นจีวี เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวยังมีอุปสรรค โดยเฉพาะปริมาณการใช้ถังก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ยังต้องเสียภาษีในอัตราสูงถึงร้อยละ 30 ของมูลค่าถังแต่ละใบ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง โดยผู้ประกอบการ เห็นว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนช่วยลดภาษีดังกล่าว จะทำให้โครงการดังกล่าวเกิดความคล่องตัว และลดต้นทุนการดำเนินการได้อีก หลังจากที่ผ่านมา ภาครัฐให้การช่วยเหลือในการลดภาษีการนำเข้าเครื่องยนต์เอ็นจีวีไปแล้ว
สำหรับโครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสารของ ขสมก.เป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี ที่ผ่านมา ขสมก.ได้ประกาศเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเสนอเงื่อนไข และมีผู้ประกอบการรวม 11 ราย ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมประกวดราคาในโครงการดังกล่าว โดย ขสมก.ได้วางเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการรับมอบรถโดยสารของ ขสมก.มาติดตั้งเครื่องเอ็นจีวีก่อน บริษัทละ 1-2 คัน ก่อนส่งคืนให้ ขสมก.นำไปทดสอบทั้งในห้องแลปและออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารบนท้องถนนจริง ก่อนประเมินว่า รถเอ็นจีวีของบริษัทใด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะได้รับการตอบรับให้เจรจาเงื่อนไขทางการเงินกับ ขสมก.ต่อไป