ผู้อำนวยการ สนพ.ระบุ กลไกการค้าน้ำมันแบบตลาดเสรี ตั้งแต่การนำเข้าระบบกลั่น ระบบขายปลีกของไทยเป็นระบบที่ดีที่สุดแล้ว เพราะผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการแข่งขันที่รุนแรง ส่วนค่าการกลั่นก็ปรับขึ้นลงตามหลักดีมานด์-ซัปพลาย พร้อมแจงเหตุที่ใช้ราคาสิงคโปร์มาอ้างอิง เพราะเป็นราคาตลาดโลกที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ด้านผู้บริหาร ปตท.ระบุ ไม่ได้ปกปิดข้อมูลการนำเข้าน้ำมัน โดยมีการรายงานต่อกระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากรตลอดเวลา
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกต ว่า ค่าการกลั่นอยู่ในระดับสูงเกินไป ว่า เรื่องนี้เป็นกลไกตลาดเสรี โดยภาครัฐไม่ได้กำหนดราคาขาย เพียงแต่กำหนดการอ้างอิงราคาสิงคโปร์ เพราะเป็นราคาตลาดโลกที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นผลดีต่อผู้บริโภค เพราะหากกำหนดราคาตามต้นทุนการนำเข้าน้ำมัน (cost plus) จะต้องมีการกำหนดกำไรที่เหมาะสมสำหรับโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งโรงกลั่นจะได้ประโยชน์ แต่หากซื้อน้ำมันต้นทุนแพงเข้ามา คนไทยก็บริโภคราคาน้ำมันแพง
“กลไกตลาดเสรีเป็นเรื่องที่ดีที่สุด โดยเมื่อช่วงวิกฤตราคาน้ำมัน โรงกลั่นต่างๆ ขาดทุนค่าการกลั่นได้ 1-2 เหรียญ/บาร์เรล แต่ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันค่าการกลั่นดีขึ้นมาเป็น 6-8 เหรียญ/บาร์เรล ก็เป็นเพราะความต้องการน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นเป็นเรื่องดีมานด์/ซัปพลาย และถ้าหากมาดูถึงราคาน้ำมันขายปลีกในไทย ก็พบว่า ราคาต่ำมาก ค่าการตลาดของผู้ค้าเหลือไม่ถึง 1 บาท ก็เป็นเพราะการแข่งขันสูง ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค” นายวีระพล กล่าว
ด้าน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กลไกการค้า การนำเข้าน้ำมันเป็นกลไกตลาดเสรี ค่าการกลั่นก็ขึ้นๆ ลงๆ โรงกลั่นบางแห่งก็ได้ผลดี บางแห่งก็ยังได้ค่าการกลั่นต่ำอยู่ เช่น โรงกลั่นบางจาก เป็นต้น
ด้าน นายสุรงค์ บูลกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การนำเข้าน้ำมัน ของ ปตท.ไม่ได้ปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด การนำเข้ามีการรายงานกระทรวงพาณิชย์ และกรมศุลกากรโดยตลอด ว่า นำเข้าจากที่ไหนอย่างไร ระบบการซื้อน้ำมันเป็นการซื้อแข่งขันในตลาด โดยมองว่าจะทำอย่างไรจึงจะประมูลได้ และให้โรงกลั่นมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งปัจจุบัน ปตท.นำเข้าประมาณร้อยละ 40 ของความต้องการของประเทศ ประมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน ส่วนที่เหลือแต่ละโรงกลั่นนำเข้าเอง ตลาดนำเข้าหลักๆ ของประเทศไทย แบ่งเป็นการนำเข้าจากตะวันออกกลางร้อยละ 80 เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 270,000 บาร์เรล/วัน ซาอุดีอาระเบีย 150,000 บาร์เรล/วัน โอมาน 140,000 บาร์เรล/วัน ส่วนร้อยละ 10 นำเข้าจากกลุ่มตลาดโลกใหม่ คือ เอเชียกลาง แอฟริกาตะวันตก อีกร้อยละ 10 ซื้อจากกลุ่มทาปิส เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยโรงกลั่นแต่ละแห่งเมื่อนำเข้ามาก็จะกลั่นได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนน้ำมันสำเร็จรูปแตกต่างกันไป เช่น เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ค่าการกลั่นก็จะได้แตกต่างกัน
“ราคาน้ำมันถ้าเราไม่อิงราคาตลาดโลก เราต้องถามว่า เศรษฐกิจไทยจะเปิดหรือปิด เราขายของกันเองได้หรือไม่ ทุกอย่างก็อิงตลาดโลก ซึ่งราคาน้ำมันก็เช่นกัน ก็ต้องอิงตลาดโลก และไม่ได้ปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด” นายสุรงค์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ ได้มีกลุ่มประชาชนออกมาเคลื่อนไหว ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับค่าการกลั่นและการนำเข้าน้ำมัน โดยได้มีการฟ้องร้องศาลปกครอง ว่า ปตท.และกระทรวงพลังงาน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งราคาน้ำมันหากอิงระบบต้นทุนน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากกว่า
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกต ว่า ค่าการกลั่นอยู่ในระดับสูงเกินไป ว่า เรื่องนี้เป็นกลไกตลาดเสรี โดยภาครัฐไม่ได้กำหนดราคาขาย เพียงแต่กำหนดการอ้างอิงราคาสิงคโปร์ เพราะเป็นราคาตลาดโลกที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นผลดีต่อผู้บริโภค เพราะหากกำหนดราคาตามต้นทุนการนำเข้าน้ำมัน (cost plus) จะต้องมีการกำหนดกำไรที่เหมาะสมสำหรับโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งโรงกลั่นจะได้ประโยชน์ แต่หากซื้อน้ำมันต้นทุนแพงเข้ามา คนไทยก็บริโภคราคาน้ำมันแพง
“กลไกตลาดเสรีเป็นเรื่องที่ดีที่สุด โดยเมื่อช่วงวิกฤตราคาน้ำมัน โรงกลั่นต่างๆ ขาดทุนค่าการกลั่นได้ 1-2 เหรียญ/บาร์เรล แต่ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันค่าการกลั่นดีขึ้นมาเป็น 6-8 เหรียญ/บาร์เรล ก็เป็นเพราะความต้องการน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นเป็นเรื่องดีมานด์/ซัปพลาย และถ้าหากมาดูถึงราคาน้ำมันขายปลีกในไทย ก็พบว่า ราคาต่ำมาก ค่าการตลาดของผู้ค้าเหลือไม่ถึง 1 บาท ก็เป็นเพราะการแข่งขันสูง ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค” นายวีระพล กล่าว
ด้าน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กลไกการค้า การนำเข้าน้ำมันเป็นกลไกตลาดเสรี ค่าการกลั่นก็ขึ้นๆ ลงๆ โรงกลั่นบางแห่งก็ได้ผลดี บางแห่งก็ยังได้ค่าการกลั่นต่ำอยู่ เช่น โรงกลั่นบางจาก เป็นต้น
ด้าน นายสุรงค์ บูลกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การนำเข้าน้ำมัน ของ ปตท.ไม่ได้ปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด การนำเข้ามีการรายงานกระทรวงพาณิชย์ และกรมศุลกากรโดยตลอด ว่า นำเข้าจากที่ไหนอย่างไร ระบบการซื้อน้ำมันเป็นการซื้อแข่งขันในตลาด โดยมองว่าจะทำอย่างไรจึงจะประมูลได้ และให้โรงกลั่นมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งปัจจุบัน ปตท.นำเข้าประมาณร้อยละ 40 ของความต้องการของประเทศ ประมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน ส่วนที่เหลือแต่ละโรงกลั่นนำเข้าเอง ตลาดนำเข้าหลักๆ ของประเทศไทย แบ่งเป็นการนำเข้าจากตะวันออกกลางร้อยละ 80 เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 270,000 บาร์เรล/วัน ซาอุดีอาระเบีย 150,000 บาร์เรล/วัน โอมาน 140,000 บาร์เรล/วัน ส่วนร้อยละ 10 นำเข้าจากกลุ่มตลาดโลกใหม่ คือ เอเชียกลาง แอฟริกาตะวันตก อีกร้อยละ 10 ซื้อจากกลุ่มทาปิส เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยโรงกลั่นแต่ละแห่งเมื่อนำเข้ามาก็จะกลั่นได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนน้ำมันสำเร็จรูปแตกต่างกันไป เช่น เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ค่าการกลั่นก็จะได้แตกต่างกัน
“ราคาน้ำมันถ้าเราไม่อิงราคาตลาดโลก เราต้องถามว่า เศรษฐกิจไทยจะเปิดหรือปิด เราขายของกันเองได้หรือไม่ ทุกอย่างก็อิงตลาดโลก ซึ่งราคาน้ำมันก็เช่นกัน ก็ต้องอิงตลาดโลก และไม่ได้ปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด” นายสุรงค์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ ได้มีกลุ่มประชาชนออกมาเคลื่อนไหว ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับค่าการกลั่นและการนำเข้าน้ำมัน โดยได้มีการฟ้องร้องศาลปกครอง ว่า ปตท.และกระทรวงพลังงาน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งราคาน้ำมันหากอิงระบบต้นทุนน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากกว่า