“เกริกไกร จีระแพทย์” เตือนเอกชนไทยให้เลิกหวังว่าจะได้สิทธิจีเอสพีจากสหรัฐฯตลอดไป และด้วยศักยภาพของสินค้าไทยในขณะนี้ ก็สามารถแข่งขันได้โดยไม่ต้องใช้สิทธิพิเศษทางภาษี ด้านทูตสหรัฐฯเข้าพบ และยืนยันว่า พร้อมจะให้ความช่วยเหลือไทยในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มที่

นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวหลัง นายราล์ฟ บอยซ์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เข้าพบหารือว่า ทางสหรัฐฯได้ยืนยันกับประเทศไทย ว่า การที่สหรัฐฯปรับสถานะของไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ไทยใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอล) แต่เป็นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินปัญญา ทั้งเพลง เสื้อผ้า และอื่นๆ ซึ่งสหรัฐฯมีความกังวล และยืนยันว่า ไม่ใช่มาตรการตอบโต้ไทย รวมทั้งไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่มีการพูดถึงว่า ทางสหรัฐฯจะตัดสิทธิจีเอสพีกับสินค้าไทยในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่กังวลว่า การปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินที่ประเทศไทยมีมาก ซึ่งทางสหรัฐฯพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ทั้งการอบรม และเครื่องมือต่างๆ โดยทางสหรัฐฯพร้อมจะช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งทางไทยได้อธิบายการปราบปรามทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่หน่วยงานปราบปราม แต่ขึ้นกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะต้องมีการจัดระบบการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยมอบให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปหารือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว และทางสหรัฐฯก็มีความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม ยังเห็นว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องทำแผนปฏิบัติการและกระทรวงพาณิชย์ไม่เคยตกลงกับสหรัฐฯ ว่า จะทำแผนปฏิบัติงาน แต่ไทยจะต้องทำงานตามกรอบของกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งจุดไหนที่เห็นว่ายังมีจุดอ่อน ก็จะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และทางสหรัฐฯมีการยืนยันว่า การตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย ที่ทางสหรัฐฯอยู่ระหว่างการพิจารณาและจะประกาศในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งกลุ่มสินค้ายางเรเดียล เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ จอทีวี ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ไทยใช้ซีแอลแต่อย่างใด ส่วนที่มีข่าวว่า รัฐมนตรีการค้าสหรัฐฯต้องการให้ไทยยกเลิกการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบและพิจารณาตามความเหมาะสม ว่า จะยกเลิกการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่
“อยากแนะผู้ส่งออกไทย ว่า อย่าหวังว่าจะได้สิทธิจีเอสพีตลอดไป แม้ว่าไทยจะได้สิทธิจีเอสพีประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมต่อปี แต่เห็นว่า สินค้าหลายรายการของไทยสามารถแข่งขันได้ แม้ว่าบางรายการจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีก็ตาม ดังนั้น แม้ว่ากลุ่มสินค้าที่อาจจะถูกตัดสิทธิในเดือนกรกฎาคมนี้ ก็ขอให้มีการปรับตัวเร่งหาตลาดใหม่ พัฒนาคุณภาพสินค้า เพราะยังเชื่อว่ายังสามารถทำตลาดได้เพิ่มอีกมาก จึงไม่อยากให้ตกใจ หรือกังวลมากเกินไป” นายเกริกไกร กล่าว
ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ได้ยืนยันว่า พร้อมช่วยเหลือไทยทุกด้าน แต่สิ่งที่สหรัฐฯมีความกังวล คือ อยากให้ประเทศไทยดำเนินการเกี่ยวกับการปราบปรามอย่างจริงจัง เพราะหากดูตามปกติการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย มีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงอยากให้ไทยเร่งปกป้องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้ดีขึ้น
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวหลัง นายราล์ฟ บอยซ์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เข้าพบหารือว่า ทางสหรัฐฯได้ยืนยันกับประเทศไทย ว่า การที่สหรัฐฯปรับสถานะของไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ไทยใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอล) แต่เป็นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินปัญญา ทั้งเพลง เสื้อผ้า และอื่นๆ ซึ่งสหรัฐฯมีความกังวล และยืนยันว่า ไม่ใช่มาตรการตอบโต้ไทย รวมทั้งไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่มีการพูดถึงว่า ทางสหรัฐฯจะตัดสิทธิจีเอสพีกับสินค้าไทยในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่กังวลว่า การปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินที่ประเทศไทยมีมาก ซึ่งทางสหรัฐฯพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ทั้งการอบรม และเครื่องมือต่างๆ โดยทางสหรัฐฯพร้อมจะช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งทางไทยได้อธิบายการปราบปรามทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่หน่วยงานปราบปราม แต่ขึ้นกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะต้องมีการจัดระบบการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยมอบให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปหารือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว และทางสหรัฐฯก็มีความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม ยังเห็นว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องทำแผนปฏิบัติการและกระทรวงพาณิชย์ไม่เคยตกลงกับสหรัฐฯ ว่า จะทำแผนปฏิบัติงาน แต่ไทยจะต้องทำงานตามกรอบของกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งจุดไหนที่เห็นว่ายังมีจุดอ่อน ก็จะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และทางสหรัฐฯมีการยืนยันว่า การตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย ที่ทางสหรัฐฯอยู่ระหว่างการพิจารณาและจะประกาศในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งกลุ่มสินค้ายางเรเดียล เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ จอทีวี ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ไทยใช้ซีแอลแต่อย่างใด ส่วนที่มีข่าวว่า รัฐมนตรีการค้าสหรัฐฯต้องการให้ไทยยกเลิกการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบและพิจารณาตามความเหมาะสม ว่า จะยกเลิกการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่
“อยากแนะผู้ส่งออกไทย ว่า อย่าหวังว่าจะได้สิทธิจีเอสพีตลอดไป แม้ว่าไทยจะได้สิทธิจีเอสพีประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมต่อปี แต่เห็นว่า สินค้าหลายรายการของไทยสามารถแข่งขันได้ แม้ว่าบางรายการจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีก็ตาม ดังนั้น แม้ว่ากลุ่มสินค้าที่อาจจะถูกตัดสิทธิในเดือนกรกฎาคมนี้ ก็ขอให้มีการปรับตัวเร่งหาตลาดใหม่ พัฒนาคุณภาพสินค้า เพราะยังเชื่อว่ายังสามารถทำตลาดได้เพิ่มอีกมาก จึงไม่อยากให้ตกใจ หรือกังวลมากเกินไป” นายเกริกไกร กล่าว
ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ได้ยืนยันว่า พร้อมช่วยเหลือไทยทุกด้าน แต่สิ่งที่สหรัฐฯมีความกังวล คือ อยากให้ประเทศไทยดำเนินการเกี่ยวกับการปราบปรามอย่างจริงจัง เพราะหากดูตามปกติการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย มีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงอยากให้ไทยเร่งปกป้องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้ดีขึ้น