ค่ายรถยนต์เดินหน้าหนุนลดภาษีผลิตอีโคคาร์ เต็มสูบ โดยพร้อมส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ระบุ พอใจกับเงื่อนไขต่างๆ ของบีโอไอ และต้องการให้รัฐบาลเร่งตัดสินใจ เพื่อให้สามารถวางแผนการลงทุนได้ ขณะที่โตโยต้าหวั่นกระทบการผลิตรถยนต์ขนาดกลาง
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เชิญภาคเอกชนผู้ผลิตรถยนต์ ที่เข้ามาผลิตรถยนต์ในประเทศ เช่น บีเอ็มดับเบิลยู โตโยต้า ฮอนด้า ซูซูกิ นิสสัน เบนซ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาข้อสรุป ในการลดภาษีสรรพสามิต รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) เพื่อเสนอคณะกรรมการบีโอไอกำหนดเงื่อนไขการลงทุน หลังจากกรมสรรพสามิตได้สรุปกรอบเบื้องต้นแล้ว นายเอกอธิ รัตนอารี ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักควบคุมองค์กร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทมีความสนใจ และพร้อมวางไลน์การผลิต เพราะเป็นการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันขณะนี้สูงถึง 30 บาท/ลิตร แต่อัตราภาษีจะลดลงเท่าใดยังไม่ได้ข้อสรุป และมิตซูบิชิ พร้อมผลิตเพื่อการส่งออก ร่วมกับการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศด้วย โดยเน้นส่งออกในแถบเอเชียและยุโรป แต่ต้องรอนโยบายของบริษัทแม่จากญี่ปุ่น ซึ่งกำลังรอดูความชัดเจนของรัฐบาล
นายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางการสนับสนุนการผลิตอีโคคาร์ เพราะกำลังอยู่ในช่วงน้ำมันแพง สำหรับโตโยต้าซึ่งผลิตรถยนต์ออกสู่ตลาดถึง 40 รุ่น พร้อมเข้าร่วมผลิตรถยนต์อีโคคาร์ แต่อยากให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ลดภาษีมากจนเกินไป เพราะกระทบต่อการผลิตรถยนต์ในประเทศ ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดกลาง รวมทั้งต้องการให้ดูแลรถยนต์ที่ผลิตอยู่แล้วในประเทศ ซึ่งทางโตโยต้ายังต้องการสนับสนุนการคิดอัตราภาษีที่ลดลงแบบขั้นบันได และหากจะส่งเสริมรถยนต์แบบใหม่ต้องให้มีความสมดุล เพราะขณะนี้รถที่ผลิตในประเทศสูงถึง 199,000 คัน ดังนั้น ถ้าจะผลิตประเภทใหม่ต้องดูสภาพตลาดให้เหมาะสม
นายบุญฤทธิ์ ผ่องเมฆินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยนตรกิจเกียมอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า เห็นด้วยกับเงื่อนไขต่างๆ ของบีโอไอ เช่น การผลิตรถยนต์ขนาดเล็กสิ้นเปลืองพลังงาน 5 ลิตร/100 กม.ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ฝากให้ไปช่วยดูว่าเสียภาษีระดับไหนจึงจะเหมาะสม ในส่วนของเกีย ขณะนี้ได้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก รุ่น PICANTO ขนาดความจุ 1,100 ซีซี ซึ่งได้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศแล้ว จึงมีความพร้อมในการผลิตตามที่บีโอไอกำหนด โดยทางเกาหลีต้องรอนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล
แหล่งข่าวจากภาคเอกชน ระบุว่า ในส่วนของการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ ซึ่งต้องใช้เทคนิคควบคู่ไปกับการทำตลาด โดยรถยนต์ที่ทำตลาดขนาดใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว แต่ต้องการให้มีการลดภาษีแบบขั้นบันได เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันไม่ใช่มีการลดลงไปเพียงอัตราเดียวเช่น ร้อยละ 20 และขณะนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนจะต้องทำให้ได้ตามสเปกที่บีโอไอกำหนด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นักลงทุนยังไม่กล้าขยายการลงทุน ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งตัดสินใจ เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจน
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เชิญภาคเอกชนผู้ผลิตรถยนต์ ที่เข้ามาผลิตรถยนต์ในประเทศ เช่น บีเอ็มดับเบิลยู โตโยต้า ฮอนด้า ซูซูกิ นิสสัน เบนซ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาข้อสรุป ในการลดภาษีสรรพสามิต รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) เพื่อเสนอคณะกรรมการบีโอไอกำหนดเงื่อนไขการลงทุน หลังจากกรมสรรพสามิตได้สรุปกรอบเบื้องต้นแล้ว นายเอกอธิ รัตนอารี ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักควบคุมองค์กร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทมีความสนใจ และพร้อมวางไลน์การผลิต เพราะเป็นการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันขณะนี้สูงถึง 30 บาท/ลิตร แต่อัตราภาษีจะลดลงเท่าใดยังไม่ได้ข้อสรุป และมิตซูบิชิ พร้อมผลิตเพื่อการส่งออก ร่วมกับการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศด้วย โดยเน้นส่งออกในแถบเอเชียและยุโรป แต่ต้องรอนโยบายของบริษัทแม่จากญี่ปุ่น ซึ่งกำลังรอดูความชัดเจนของรัฐบาล
นายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวทางการสนับสนุนการผลิตอีโคคาร์ เพราะกำลังอยู่ในช่วงน้ำมันแพง สำหรับโตโยต้าซึ่งผลิตรถยนต์ออกสู่ตลาดถึง 40 รุ่น พร้อมเข้าร่วมผลิตรถยนต์อีโคคาร์ แต่อยากให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ลดภาษีมากจนเกินไป เพราะกระทบต่อการผลิตรถยนต์ในประเทศ ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดกลาง รวมทั้งต้องการให้ดูแลรถยนต์ที่ผลิตอยู่แล้วในประเทศ ซึ่งทางโตโยต้ายังต้องการสนับสนุนการคิดอัตราภาษีที่ลดลงแบบขั้นบันได และหากจะส่งเสริมรถยนต์แบบใหม่ต้องให้มีความสมดุล เพราะขณะนี้รถที่ผลิตในประเทศสูงถึง 199,000 คัน ดังนั้น ถ้าจะผลิตประเภทใหม่ต้องดูสภาพตลาดให้เหมาะสม
นายบุญฤทธิ์ ผ่องเมฆินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยนตรกิจเกียมอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า เห็นด้วยกับเงื่อนไขต่างๆ ของบีโอไอ เช่น การผลิตรถยนต์ขนาดเล็กสิ้นเปลืองพลังงาน 5 ลิตร/100 กม.ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ฝากให้ไปช่วยดูว่าเสียภาษีระดับไหนจึงจะเหมาะสม ในส่วนของเกีย ขณะนี้ได้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก รุ่น PICANTO ขนาดความจุ 1,100 ซีซี ซึ่งได้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศแล้ว จึงมีความพร้อมในการผลิตตามที่บีโอไอกำหนด โดยทางเกาหลีต้องรอนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล
แหล่งข่าวจากภาคเอกชน ระบุว่า ในส่วนของการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ ซึ่งต้องใช้เทคนิคควบคู่ไปกับการทำตลาด โดยรถยนต์ที่ทำตลาดขนาดใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว แต่ต้องการให้มีการลดภาษีแบบขั้นบันได เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันไม่ใช่มีการลดลงไปเพียงอัตราเดียวเช่น ร้อยละ 20 และขณะนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนจะต้องทำให้ได้ตามสเปกที่บีโอไอกำหนด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นักลงทุนยังไม่กล้าขยายการลงทุน ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งตัดสินใจ เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจน