ปัจจุบัน นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้เสนอรายงานว่า การบริโภคโปรตีนจากถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองสามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ และถ้าบริโภคผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองประมาณ 25 กรัม/คน/วัน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ลดคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เสริมสร้างมวลกระดูกของร่างกาย และสามารถบริโภคเพื่อควบคุมหรือลดน้ำหนักได้อีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่เคยมองข้ามนมถั่วเหลืองได้เริ่มกลับมาให้ความสนใจมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคนมถั่วเหลืองภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งนมถั่วเหลืองเป็นสินค้าที่มีราคาใกล้เคียงหรือถูกกว่าเครื่องดื่มสุขภาพอีกหลายประเภทและยังหาซื้อได้ง่าย ทั้งนี้ ในอุตสาหกรรมการผลิตนมถั่วเหลืองของไทยนั้น นอกจากจะผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมดแล้ว ส่วนที่เหลือยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดในแถบภูมิภาคเอเชีย
การผลิตเติบโตดี……จูงใจผู้ผลิตใหม่เข้าร่วม
อุตสาหกรรมการผลิตนมถั่วเหลืองในประเทศไทยมีการเติบโตมานานแล้ว แต่เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยมีผู้ผลิตที่เริ่มบุกเบิกตลาดนมถั่วเหลืองในประเทศ คือ บริษัท กรีนสปอต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตนมถั่วเหลืองภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไวตามิ้ลค์” และ”วีซอย” และบริษัท แลคตาซอย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตนมถั่วเหลืองภายใต้เครื่องหมายการค้า “แลคตาซอย“ เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ผลิตรายใหญ่ 2 รายดังกล่าวข้างต้น โดยในปี 2549 นมถั่วเหลืองมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 326.6 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 จากปีที่ผ่านมา มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 81.6 ของกำลังการผลิตรวม สำหรับในปี 2550 คาดว่า นมถั่วเหลืองจะมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 370.5 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 จากปีก่อน เนื่องจากกระแสความนิยมในการบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งนมถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ประกอบกับ ความสะดวกสบายในการบริโภค ส่งผลให้ตลาดนมถั่วเหลืองเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตหลายรายสนใจเข้ามาแข่งขันมากขึ้น อาทิ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้า “ โย ” และ บริษัท แดรี่พลัส จำกัด (ในเครือ ดัชมิลล์) ผู้ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้า “ ดีน่า “ เป็นต้น
ตลาดในขยายตัว…ตามกระแสสุขภาพ : ไวตามิ้ลค์ และ แลคตาซอย….ค่ายใหญ่
ในช่วงระยะเวลา 4 – 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มของไทยมีการขยายตัวมาเป็นลำดับ แม้ว่าแต่เดิมนั้นนมถั่วเหลืองเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลกลูโคสที่มีอยู่ในนมวัว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาท้องอืดหรือท้องเสีย ต่อมาเมื่อผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จนปัจจุบัน มูลค่าตลาดนมถั่วเหลืองมีสัดส่วนสูงขึ้นถึงร้อยละ 37 ของมูลค่ารวมตลาดนมพร้อมดื่มทุกประเภท จากที่เคยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 14 ในปี 2541 โดยผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองที่ผลิตได้ในขณะนี้จำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นมถั่วเหลืองยูเอชที (แบบกล่อง) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดนมถั่วเหลืองทั้งหมด รองลงมา คือ นมถั่วเหลืองสเตอริไรซ์ (บรรจุขวดแก้ว) มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 39 ผู้ผลิตมีไม่มากนัก เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตลักษณะอื่น และผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองแบบพาสเจอร์ไรซ์ (บรรจุขวดพลาสติก) ที่มีมูลค่าตลาดเพียงร้อยละ 1 ถือเป็นผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองที่ไม่มีการเติบโต ผู้ผลิตมีเพียงรายเดียว คือ บริษัท เนสท์เล่ จำกัด ซึ่งไม่ค่อยมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเหมือนผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายนมถั่วเหลืองภายในประเทศโดยรวมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากปริมาณการจำหน่ายนมถั่วเหลืองที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 188.9 ล้านลิตรในปี 2545 เป็น 322.9 ล้านลิตรในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.1 ต่อปี สำหรับในปี 2550 คาดว่า นมถั่วเหลืองในประเทศจะมีปริมาณการจำหน่ายอยู่ที่ 355.10 ล้านลิตร หรือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 10.1 จากปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สำหรับผู้นำตลาดนมถั่วเหลืองในปัจจุบัน อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไวตามิ้ลค์” ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดนมถั่วเหลืองทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ แลคตาซอย ร้อยละ 30 ดีน่า ร้อยละ 5 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5
การผลิตเติบโตดี……จูงใจผู้ผลิตใหม่เข้าร่วม
อุตสาหกรรมการผลิตนมถั่วเหลืองในประเทศไทยมีการเติบโตมานานแล้ว แต่เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยมีผู้ผลิตที่เริ่มบุกเบิกตลาดนมถั่วเหลืองในประเทศ คือ บริษัท กรีนสปอต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตนมถั่วเหลืองภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไวตามิ้ลค์” และ”วีซอย” และบริษัท แลคตาซอย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตนมถั่วเหลืองภายใต้เครื่องหมายการค้า “แลคตาซอย“ เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ผลิตรายใหญ่ 2 รายดังกล่าวข้างต้น โดยในปี 2549 นมถั่วเหลืองมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 326.6 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 จากปีที่ผ่านมา มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 81.6 ของกำลังการผลิตรวม สำหรับในปี 2550 คาดว่า นมถั่วเหลืองจะมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 370.5 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 จากปีก่อน เนื่องจากกระแสความนิยมในการบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งนมถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ประกอบกับ ความสะดวกสบายในการบริโภค ส่งผลให้ตลาดนมถั่วเหลืองเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตหลายรายสนใจเข้ามาแข่งขันมากขึ้น อาทิ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้า “ โย ” และ บริษัท แดรี่พลัส จำกัด (ในเครือ ดัชมิลล์) ผู้ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้า “ ดีน่า “ เป็นต้น
ตลาดในขยายตัว…ตามกระแสสุขภาพ : ไวตามิ้ลค์ และ แลคตาซอย….ค่ายใหญ่
ในช่วงระยะเวลา 4 – 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มของไทยมีการขยายตัวมาเป็นลำดับ แม้ว่าแต่เดิมนั้นนมถั่วเหลืองเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลกลูโคสที่มีอยู่ในนมวัว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาท้องอืดหรือท้องเสีย ต่อมาเมื่อผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จนปัจจุบัน มูลค่าตลาดนมถั่วเหลืองมีสัดส่วนสูงขึ้นถึงร้อยละ 37 ของมูลค่ารวมตลาดนมพร้อมดื่มทุกประเภท จากที่เคยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 14 ในปี 2541 โดยผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองที่ผลิตได้ในขณะนี้จำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นมถั่วเหลืองยูเอชที (แบบกล่อง) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดนมถั่วเหลืองทั้งหมด รองลงมา คือ นมถั่วเหลืองสเตอริไรซ์ (บรรจุขวดแก้ว) มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 39 ผู้ผลิตมีไม่มากนัก เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตลักษณะอื่น และผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองแบบพาสเจอร์ไรซ์ (บรรจุขวดพลาสติก) ที่มีมูลค่าตลาดเพียงร้อยละ 1 ถือเป็นผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองที่ไม่มีการเติบโต ผู้ผลิตมีเพียงรายเดียว คือ บริษัท เนสท์เล่ จำกัด ซึ่งไม่ค่อยมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเหมือนผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายนมถั่วเหลืองภายในประเทศโดยรวมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากปริมาณการจำหน่ายนมถั่วเหลืองที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 188.9 ล้านลิตรในปี 2545 เป็น 322.9 ล้านลิตรในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15.1 ต่อปี สำหรับในปี 2550 คาดว่า นมถั่วเหลืองในประเทศจะมีปริมาณการจำหน่ายอยู่ที่ 355.10 ล้านลิตร หรือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 10.1 จากปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สำหรับผู้นำตลาดนมถั่วเหลืองในปัจจุบัน อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไวตามิ้ลค์” ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดนมถั่วเหลืองทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ แลคตาซอย ร้อยละ 30 ดีน่า ร้อยละ 5 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5