ตลาดเม็ดเงินโฆษณา 4 เดือนแรกโต 3.15% ทะลุ 29,290 ล้านบาท ส่วนเดือนเมษายนเดือนเดียว สื่อโฆษณาหลักยังติดลบระนาว โงหัวไม่ขึ้น ด้านสื่อนิตยสารหนักสุด ร่วง 14% เผยโฆษณาวัตถุมงคลกระโดดขึ้นแท่นแชมป์ใช้งบสูงสุดในเดือนเมษายนกว่า 60 ล้านบาท เบียดพอนด์สหล่นที่สอง
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า มูลค่าตลาดโฆษณาโดยรวมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 นี้ มีมูลค่า 29,290 ล้านบาท เติบโต 3.15% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มี 28,395 ล้านบาท
โดยแยกเป็นประเภทพบว่า สื่อทีวีมีมูลค่า 17,107 ล้านบาท เติบโต 0.30% จากเดิมที่มี 17,055 ล้านบาท สื่อวิทยุ มีมูลค่า 1,912 ล้านบาท ลดลง 5.95% จากเดิมที่มี 2,033 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 4,743 ล้านบาท ลดลง 7.89% จากเดิมที่มี 5,149 ล้านบาท สื่อนิตยสารมีมูลค่า 1,770 ล้านบาท ลดลง 7.18% สื่อโรงหนังมีมูลค่า 1,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 398% จากเดิมที่มี 356 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมีมูลค่า 1,490 ล้านบาท ลดลง 2.80% จากเดิมที่มี 1,533 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 326 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.67% จากเดิมที่มี 300 ล้านบาท และสื่ออินสโตร์มีมูลค่า 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166.67% จากเดิมที่มี 63 ล้านบาท
ขณะที่ช่วงเดือนเมษายนเดือนเดียวของปี 2550 พบว่า ตลาดรวมมีมูลค่า 7,397 ล้านบาท ติดลบ 1.16% จากช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่มี 7,484 ล้านบาท
หากแยกเป็นประเภทสื่อของเดือนเมษายนปี 2550 พบว่า สื่อทีวีมีมูลค่า 4,353 ล้านบาท ติดลบ 7.23% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่มี 4,692 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 529 ล้านบาท ติดลบ 2.94% จากเดิมที่มี 545 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 1,150 ล้านบาท ติดลบ 0.26% จากเดิมที่มี 1,153 ล้านบาท สื่อนิตยสารมีมูลค่า 425 ล้านบาท ติดลบ 14.49% จากเดิมที่มี 497 ล้านบาท สื่อโรงหนังมีมูลค่า 426 ล้านบาท เติบโต 343.75% จากเดิมที่มี 96 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมีมูลค่า 370 ล้านบาท ติดลบ 5.13% จากเดิมที่มี 390 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 98 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.07% จากเดิมที่มี 83 ล้านบาท สื่ออินสโตร์ มีมูลค่า 47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67.86% จากเดิมที่มี 28 ล้านบาท
สำหรับ 5 อันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2549 พบว่า 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 1,937 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 1,624 ล้านบาท 2.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้งบ 557 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 17 ล้านบาท 3.พีแอนด์จี ใช้งบ 527 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 564 ล้านบาท 4.เอไอเอส ใช้บ 506 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 451 ล้านบาท 5.โตโยต้า ใช้งบ 400 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 566 ล้านบาท
ส่วน 5 อันดับแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนเมษายน 2550 เมื่อเทียบช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วพบว่า 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 488 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 612 ล้านบาท 2.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้งบ 140 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3 ล้านบาท 3.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใช้งบ 121 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 76 ล้านบาท 4.โตโยต้า ใช้งบ 117 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 161 ล้านบาท 5.เอไอเอส ใช้งบ 117 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 125 ล้านบาท
ขณะที่แบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 5 แบรนด์แรกในช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2549 พบว่า 1.พอนด์ส ใช้งบ 291 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 383 ล้านบาท 2.โค้ก ใช้งบ 246 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 77 ล้านบาท 3.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบ 216 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 188 ล้านบาท 4.มอเตอร์ไซค์ยามาฮ่า ใช้งบ 213 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 63 ล้านบาท 5.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 209 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 146 ล้านบาท
ส่วนแบรนด์สินค้า 5อันดับแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเฉพาะช่วงเดือนเมษายน 2550 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2549 พบว่า 1.วัตถุมงคล ใช้งบ 60 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 5 ล้านบาท 2.พอนด์ส ใช้งบ 60 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 98 ล้านบาท 3.ออยล์ออฟโอเลย์ใช้งบ 55 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 554 ล้านบาท 4.คลีนิค ใช้งบ 53 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 66 ล้านบาท 5.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้ 24 ล้านบาท
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า มูลค่าตลาดโฆษณาโดยรวมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 นี้ มีมูลค่า 29,290 ล้านบาท เติบโต 3.15% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มี 28,395 ล้านบาท
โดยแยกเป็นประเภทพบว่า สื่อทีวีมีมูลค่า 17,107 ล้านบาท เติบโต 0.30% จากเดิมที่มี 17,055 ล้านบาท สื่อวิทยุ มีมูลค่า 1,912 ล้านบาท ลดลง 5.95% จากเดิมที่มี 2,033 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 4,743 ล้านบาท ลดลง 7.89% จากเดิมที่มี 5,149 ล้านบาท สื่อนิตยสารมีมูลค่า 1,770 ล้านบาท ลดลง 7.18% สื่อโรงหนังมีมูลค่า 1,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 398% จากเดิมที่มี 356 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมีมูลค่า 1,490 ล้านบาท ลดลง 2.80% จากเดิมที่มี 1,533 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 326 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.67% จากเดิมที่มี 300 ล้านบาท และสื่ออินสโตร์มีมูลค่า 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166.67% จากเดิมที่มี 63 ล้านบาท
ขณะที่ช่วงเดือนเมษายนเดือนเดียวของปี 2550 พบว่า ตลาดรวมมีมูลค่า 7,397 ล้านบาท ติดลบ 1.16% จากช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่มี 7,484 ล้านบาท
หากแยกเป็นประเภทสื่อของเดือนเมษายนปี 2550 พบว่า สื่อทีวีมีมูลค่า 4,353 ล้านบาท ติดลบ 7.23% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่มี 4,692 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 529 ล้านบาท ติดลบ 2.94% จากเดิมที่มี 545 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 1,150 ล้านบาท ติดลบ 0.26% จากเดิมที่มี 1,153 ล้านบาท สื่อนิตยสารมีมูลค่า 425 ล้านบาท ติดลบ 14.49% จากเดิมที่มี 497 ล้านบาท สื่อโรงหนังมีมูลค่า 426 ล้านบาท เติบโต 343.75% จากเดิมที่มี 96 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมีมูลค่า 370 ล้านบาท ติดลบ 5.13% จากเดิมที่มี 390 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 98 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.07% จากเดิมที่มี 83 ล้านบาท สื่ออินสโตร์ มีมูลค่า 47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67.86% จากเดิมที่มี 28 ล้านบาท
สำหรับ 5 อันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2549 พบว่า 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 1,937 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 1,624 ล้านบาท 2.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้งบ 557 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 17 ล้านบาท 3.พีแอนด์จี ใช้งบ 527 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 564 ล้านบาท 4.เอไอเอส ใช้บ 506 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 451 ล้านบาท 5.โตโยต้า ใช้งบ 400 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 566 ล้านบาท
ส่วน 5 อันดับแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนเมษายน 2550 เมื่อเทียบช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วพบว่า 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 488 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 612 ล้านบาท 2.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้งบ 140 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3 ล้านบาท 3.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใช้งบ 121 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 76 ล้านบาท 4.โตโยต้า ใช้งบ 117 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 161 ล้านบาท 5.เอไอเอส ใช้งบ 117 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 125 ล้านบาท
ขณะที่แบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 5 แบรนด์แรกในช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2549 พบว่า 1.พอนด์ส ใช้งบ 291 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 383 ล้านบาท 2.โค้ก ใช้งบ 246 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 77 ล้านบาท 3.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบ 216 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 188 ล้านบาท 4.มอเตอร์ไซค์ยามาฮ่า ใช้งบ 213 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 63 ล้านบาท 5.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 209 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 146 ล้านบาท
ส่วนแบรนด์สินค้า 5อันดับแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเฉพาะช่วงเดือนเมษายน 2550 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2549 พบว่า 1.วัตถุมงคล ใช้งบ 60 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 5 ล้านบาท 2.พอนด์ส ใช้งบ 60 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 98 ล้านบาท 3.ออยล์ออฟโอเลย์ใช้งบ 55 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 554 ล้านบาท 4.คลีนิค ใช้งบ 53 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 66 ล้านบาท 5.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้ 24 ล้านบาท