กรมการค้าต่างประเทศแนะเอกชนไทยอย่าวิตกกังวลที่จะถูกสหรัฐตัดสิทธิจีเอสพีเกินเหตุ ระบุภายในปีนี้หากสินค้าไทยถูกตัดจีเอสพีจริงไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ย้ำจะต่อรองกับสหรัฐวันที่ 11 พ.ค.นี้ ให้ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด พร้อมยกเครื่องแนวทางปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใหม่
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีสหรัฐจัดสถานะให้ไทยอยู่กลุ่มประเทศที่จับตาเป็นพิเศษ (PWL) ไม่น่าจะกระทบต่อการพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าส่งออกของไทย เนื่องจากมองว่าการพิจารณาตัดจีเอสพี น่าจะพิจารณาจากข้อมูลด้านเศรษฐกิจและการเมืองควบคู่กันไปเป็นหลัก ไม่น่าจะนำเรื่อง PWL มาเป็นเหตุผลในการพิจารณาและเห็นว่าหลังจากที่ข่าวดังกล่าวออกมา ทำให้ขณะนี้ภาคเอกชนหลายกลุ่มวิตกกังวลสูงมาก ดังนั้น ในการประชุมหารือร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาและกรมการค้าต่างประเทศจะขอรอฟังเหตุผลของสหรัฐก่อนว่าจะให้ไทยปฏิบัติตัวตามแผนปฏิบัติการร่วมกันอย่างไร โดยภาครัฐจะพยายามต่อรองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยมากที่สุด
“ยอมรับว่าขณะนี้ภาคเอกชนหลายกลุ่มอุตสาหกรรมกังวลใจในเรื่องที่สหรัฐจะนำประเด็นที่ไทยใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยามาเป็นข้อต่อรองเพื่อตัดจีเอสพีสินค้าไทยหลายรายการ แต่เท่าที่ได้มีการติดตามและรับฟังเหตุผลของสหรัฐ ก่อนหน้านี้ หากสินค้าไทยจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีที่มีอยู่เกือบ 10 รายการ จะไม่เกี่ยวข้องปัญหาการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา แต่เป็นเพราะบางรายการสินค้าที่มีการส่งออกเกินโควตา การให้สิทธิทางจีเอสพีและมีการแข็งขันได้ดี และเห็นว่าที่ผ่านมามีสินค้าหลายรายการที่ถูกตัดสิทธิจีเอสพีและกลับมาได้สิทธิใหม่ ซึ่งสินค้าที่ถูกตัดสิทธิไปยังสามารถแข่งขันได้ จึงอยากให้ภาคเอกชนมีความเข้าใจและเชื่อมั่นต่อการเจรจาต่อรองที่ภาครัฐจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ” นางอภิรดี กล่าว
นางอภิรดี กล่าวอีกว่า สินค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนจีเอสพีโครงการใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 คือ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางเรเดียล และผลไม้ เช่น ทุเรียน มะละกอ และมะขาม โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าอาจจะไม่ได้รับการต่อสิทธิจีเอสพีมากที่สุด คือ อัญมณีและเครื่องประดับ และรายการอาหารสินค้าเกษตรบางรายการ แต่เชื่อว่าด้วยคุณภาพสินค้าไทยน่าจะแข็งขันได้ไม่มีปัญหา ดังนั้น กลุ่มสินค้าที่จะมีการทบทวนสิทธิจีเอสพีและทราบผลภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ น่าจะมาจากสาเหตุที่มีการส่งออกเกินเพดานที่สหรัฐกำหนดไว้ แต่สินค้าหลายรายการเชื่อว่าน่าจะแข็งขันได้
ทั้งนี้ สหรัฐให้สิทธิจีเอสพีแก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2516 โดยประเทศที่ได้รับสิทธิจะถูกสหรัฐระงับสิทธิเป็นการชั่วคราว เมื่อส่งออกสินค้าไปสหรัฐในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเกินเกณฑ์ภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitive Need Limit : CNL) คือ มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าจากสหรัฐตั้งแต่ร้อยละ 50 หรือมีมูลค่านำเข้าสหรัฐเกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐกำหนดไว้ในแต่ละปี โดยในปี 2549 เท่ากับ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยให้เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการระงับสิทธิจีเอสพีสหรัฐจะทบทวนเป็นประจำทุกปี
สำหรับสถิติการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยภายใต้สิทธิจีเอสพีไปสหรัฐมีจำนวน 4,600 รายการ โดยหากจัดเก็บภาษีนำเข้าจะถูกเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ร้อยละ 10-12 และการได้สิทธิจีเอสพีจะเสียภาษีนำเข้าเพียงร้อยละ 0 ซึ่งในปี 2549 ไทยใช้สิทธิจีเอสพีคิดเป็นมูลค่า 4,252.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 628.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ เวลา 09.00 น. กรมฯ จะหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เพื่อหารือกรอบแนวทางเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Plan of Action) โดยจะมีการหารือในประเด็น คือ การกำหนดว่าสหรัฐต้องการให้ไทยดำเนินการเพื่อดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร และในเรื่องใดบ้าง หลังจากนั้น กรมฯ และสหรัฐจะดำเนินการร่วมกันเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้น กรมฯ จะจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อร่วมกันจัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ แต่แผนที่จะดำเนินการร่วมกับสหรัฐไม่ได้หมายความว่าไทยจะยอมทำตามทุกประการ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความพอใจต่อทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ และเชื่อว่าการจัดทำแผนปฏิบัติการคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมจะสามารถสรุปแผนร่วมกันได้
ขณะเดียวกัน ในส่วนของกรมฯ กำหนดจะทบทวนการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การทบทวนบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐกับเอกชน การประเมินแผนสกัดนำเข้าเครื่องผลิตแผ่นซีดีเถื่อน โดยเฉพาะกับห้างสรรพสินค้าที่อยู่ในบัญชีของกรม 11 ห้างดังที่จะร่วมกันปฏิบัติป้องกันและปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างจริงจัง พร้อมทั้งเร่งแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งกรมฯ ได้แก้ไขแต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยกำหนดบทลงโทษตามสัดส่วนการกระทำผิดแต่ละคดี จากเดิมที่บทลงโทษจะเหมือนกันทุกคดีไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กและได้พูดคุยกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วว่าหลังจากนี้ไปจะใช้มาตรการเข้มงวดในเรื่องของการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งสรุปร่างข้อกฎหมายใหม่ที่จะออกบังคับใช้ เช่น พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ซึ่งข้อกฎหมายดังกล่าว เดิมกรมฯ ได้เสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้ขั้นตอนพิจารณากลับมาสู่กรมฯ อีกครั้ง และจะพยายามชี้แจงเหตุผลดังกล่าวให้ทางสหรัฐทราบว่าประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ แม้ว่ากฎหมายจะมีความล่าช้า เพราะในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ รัฐบาลจะพยายามเร่งผลักดันกฎหมายรัฐธรรมนูญออกมา ดังนั้น อาจต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณากฎหมายที่ค้างอยู่แทน ซึ่งเชื่อว่าสหรัฐจะมีความเข้าใจประเทศไทยยิ่งขึ้น และยังเชื่อว่าการทำงานทั้งหมด หากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย มั่นใจว่าจะทำให้ไทยกลับมาอยู่ในสถานะประเทศที่ถูกจับตามองได้ในปีหน้า
สำหรับสถิติการจับกุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2550 พบว่า มีคดีที่เกิดจากการละเมิดทั้งหมด 1,914 คดี โดยเป็นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ 1,078 คดี ละเมิดเครื่องหมายการค้า 823 คดี ละเมิดสิทธิบัตร 1 คดี และละเมิดควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ 12 คดี ขณะที่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปี 2549 มีคดีรวม 9,575 คดี เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 6,459 คดี ละเมิดเครื่องหมายการค้า 3,100 คดี ละเมิดสิทธิบัตร 4 คดี และละเมิดกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ 12 คดี
“การที่ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยเดินทางไปประเทศสหรัฐและจะมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับบริษัทยาของสหรัฐ ถือเป็นสิ่งที่ดีและจะทำให้สหรัฐมีความเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของไทยมากขึ้น และอยากเสนอแนะให้ภาคเอกชนไทยอย่าวิตกกังวลใจปัญหาดังกล่าวมากเกินไป ภาครัฐจะพยายามทำให้ดีที่สุด และยังเชื่อว่าหลายสินค้าของไทยมีศักยภาพที่จะแข็งขัน และกระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะเดินหน้าเจาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อชดเชยหากไทยจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีบางรายการสินค้าจริง” นางพวงรัตน์ กล่าว
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีสหรัฐจัดสถานะให้ไทยอยู่กลุ่มประเทศที่จับตาเป็นพิเศษ (PWL) ไม่น่าจะกระทบต่อการพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าส่งออกของไทย เนื่องจากมองว่าการพิจารณาตัดจีเอสพี น่าจะพิจารณาจากข้อมูลด้านเศรษฐกิจและการเมืองควบคู่กันไปเป็นหลัก ไม่น่าจะนำเรื่อง PWL มาเป็นเหตุผลในการพิจารณาและเห็นว่าหลังจากที่ข่าวดังกล่าวออกมา ทำให้ขณะนี้ภาคเอกชนหลายกลุ่มวิตกกังวลสูงมาก ดังนั้น ในการประชุมหารือร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาและกรมการค้าต่างประเทศจะขอรอฟังเหตุผลของสหรัฐก่อนว่าจะให้ไทยปฏิบัติตัวตามแผนปฏิบัติการร่วมกันอย่างไร โดยภาครัฐจะพยายามต่อรองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยมากที่สุด
“ยอมรับว่าขณะนี้ภาคเอกชนหลายกลุ่มอุตสาหกรรมกังวลใจในเรื่องที่สหรัฐจะนำประเด็นที่ไทยใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยามาเป็นข้อต่อรองเพื่อตัดจีเอสพีสินค้าไทยหลายรายการ แต่เท่าที่ได้มีการติดตามและรับฟังเหตุผลของสหรัฐ ก่อนหน้านี้ หากสินค้าไทยจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีที่มีอยู่เกือบ 10 รายการ จะไม่เกี่ยวข้องปัญหาการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา แต่เป็นเพราะบางรายการสินค้าที่มีการส่งออกเกินโควตา การให้สิทธิทางจีเอสพีและมีการแข็งขันได้ดี และเห็นว่าที่ผ่านมามีสินค้าหลายรายการที่ถูกตัดสิทธิจีเอสพีและกลับมาได้สิทธิใหม่ ซึ่งสินค้าที่ถูกตัดสิทธิไปยังสามารถแข่งขันได้ จึงอยากให้ภาคเอกชนมีความเข้าใจและเชื่อมั่นต่อการเจรจาต่อรองที่ภาครัฐจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ” นางอภิรดี กล่าว
นางอภิรดี กล่าวอีกว่า สินค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนจีเอสพีโครงการใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 คือ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับโทรทัศน์สีจอแบน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางเรเดียล และผลไม้ เช่น ทุเรียน มะละกอ และมะขาม โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าอาจจะไม่ได้รับการต่อสิทธิจีเอสพีมากที่สุด คือ อัญมณีและเครื่องประดับ และรายการอาหารสินค้าเกษตรบางรายการ แต่เชื่อว่าด้วยคุณภาพสินค้าไทยน่าจะแข็งขันได้ไม่มีปัญหา ดังนั้น กลุ่มสินค้าที่จะมีการทบทวนสิทธิจีเอสพีและทราบผลภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ น่าจะมาจากสาเหตุที่มีการส่งออกเกินเพดานที่สหรัฐกำหนดไว้ แต่สินค้าหลายรายการเชื่อว่าน่าจะแข็งขันได้
ทั้งนี้ สหรัฐให้สิทธิจีเอสพีแก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2516 โดยประเทศที่ได้รับสิทธิจะถูกสหรัฐระงับสิทธิเป็นการชั่วคราว เมื่อส่งออกสินค้าไปสหรัฐในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเกินเกณฑ์ภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นด้านการแข่งขัน (Competitive Need Limit : CNL) คือ มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าจากสหรัฐตั้งแต่ร้อยละ 50 หรือมีมูลค่านำเข้าสหรัฐเกินมูลค่าขั้นสูงที่สหรัฐกำหนดไว้ในแต่ละปี โดยในปี 2549 เท่ากับ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยให้เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการระงับสิทธิจีเอสพีสหรัฐจะทบทวนเป็นประจำทุกปี
สำหรับสถิติการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยภายใต้สิทธิจีเอสพีไปสหรัฐมีจำนวน 4,600 รายการ โดยหากจัดเก็บภาษีนำเข้าจะถูกเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ร้อยละ 10-12 และการได้สิทธิจีเอสพีจะเสียภาษีนำเข้าเพียงร้อยละ 0 ซึ่งในปี 2549 ไทยใช้สิทธิจีเอสพีคิดเป็นมูลค่า 4,252.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 628.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ เวลา 09.00 น. กรมฯ จะหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เพื่อหารือกรอบแนวทางเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Plan of Action) โดยจะมีการหารือในประเด็น คือ การกำหนดว่าสหรัฐต้องการให้ไทยดำเนินการเพื่อดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร และในเรื่องใดบ้าง หลังจากนั้น กรมฯ และสหรัฐจะดำเนินการร่วมกันเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้น กรมฯ จะจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อร่วมกันจัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ แต่แผนที่จะดำเนินการร่วมกับสหรัฐไม่ได้หมายความว่าไทยจะยอมทำตามทุกประการ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความพอใจต่อทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ และเชื่อว่าการจัดทำแผนปฏิบัติการคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมจะสามารถสรุปแผนร่วมกันได้
ขณะเดียวกัน ในส่วนของกรมฯ กำหนดจะทบทวนการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การทบทวนบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐกับเอกชน การประเมินแผนสกัดนำเข้าเครื่องผลิตแผ่นซีดีเถื่อน โดยเฉพาะกับห้างสรรพสินค้าที่อยู่ในบัญชีของกรม 11 ห้างดังที่จะร่วมกันปฏิบัติป้องกันและปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างจริงจัง พร้อมทั้งเร่งแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งกรมฯ ได้แก้ไขแต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยกำหนดบทลงโทษตามสัดส่วนการกระทำผิดแต่ละคดี จากเดิมที่บทลงโทษจะเหมือนกันทุกคดีไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กและได้พูดคุยกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วว่าหลังจากนี้ไปจะใช้มาตรการเข้มงวดในเรื่องของการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ ให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งสรุปร่างข้อกฎหมายใหม่ที่จะออกบังคับใช้ เช่น พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ซึ่งข้อกฎหมายดังกล่าว เดิมกรมฯ ได้เสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้ขั้นตอนพิจารณากลับมาสู่กรมฯ อีกครั้ง และจะพยายามชี้แจงเหตุผลดังกล่าวให้ทางสหรัฐทราบว่าประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ แม้ว่ากฎหมายจะมีความล่าช้า เพราะในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ รัฐบาลจะพยายามเร่งผลักดันกฎหมายรัฐธรรมนูญออกมา ดังนั้น อาจต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณากฎหมายที่ค้างอยู่แทน ซึ่งเชื่อว่าสหรัฐจะมีความเข้าใจประเทศไทยยิ่งขึ้น และยังเชื่อว่าการทำงานทั้งหมด หากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย มั่นใจว่าจะทำให้ไทยกลับมาอยู่ในสถานะประเทศที่ถูกจับตามองได้ในปีหน้า
สำหรับสถิติการจับกุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรและควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2550 พบว่า มีคดีที่เกิดจากการละเมิดทั้งหมด 1,914 คดี โดยเป็นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ 1,078 คดี ละเมิดเครื่องหมายการค้า 823 คดี ละเมิดสิทธิบัตร 1 คดี และละเมิดควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ 12 คดี ขณะที่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปี 2549 มีคดีรวม 9,575 คดี เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 6,459 คดี ละเมิดเครื่องหมายการค้า 3,100 คดี ละเมิดสิทธิบัตร 4 คดี และละเมิดกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ 12 คดี
“การที่ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยเดินทางไปประเทศสหรัฐและจะมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับบริษัทยาของสหรัฐ ถือเป็นสิ่งที่ดีและจะทำให้สหรัฐมีความเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของไทยมากขึ้น และอยากเสนอแนะให้ภาคเอกชนไทยอย่าวิตกกังวลใจปัญหาดังกล่าวมากเกินไป ภาครัฐจะพยายามทำให้ดีที่สุด และยังเชื่อว่าหลายสินค้าของไทยมีศักยภาพที่จะแข็งขัน และกระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะเดินหน้าเจาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อชดเชยหากไทยจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีบางรายการสินค้าจริง” นางพวงรัตน์ กล่าว