ภาวะการแข่งขัน….หลากกลยุทธ์…เข้าถึงผู้บริโภค
โดยรายงานของธนาคารนครหลวงไทย ระบุว่า ภาวะการแข่งขันในธุรกิจเพลงยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง Grammy และ RS ซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งมูลค่าของลิขสิทธ์เพลง ตลอดจนจำนวนศิลปินในสังกัด อย่างไรก็ตาม จากการเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจนี้ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของศิลปินรายใหม่จากค่ายเล็ก ส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้งรายเดิม รวมทั้งรายใหญ่อย่าง Grammy และ RS ต่างนำกลยุทธ์การแข่งขันในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดของตนไว้ โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงมักนำมาใช้อยู่เสมอ ได้แก่
การผลิตผลงานเพลงคุณภาพ
ผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงต่างมุ่งเน้นในการผลิตผลงานเพลงที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ รายใหญ่ในตลาด เฉพาะอย่างยิ่ง Grammy และ RS ต่างได้มีการแบ่งหน่วยงานในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงออกเป็นในรูปแบบของค่ายเล็กๆ ซึ่งในแต่ละค่ายจะมีทีมงานผลิตและศิลปินในสังกัดร่วมกันผลิต ผลงานเพลงออกมาตามความถนัดของตนเอง โดยจะมีแนวเพลงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละค่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารงานแล้ว ยังทำให้ได้ผลงานเพลงที่มีคุณภาพและ มีความหลากหลาย สามารถเข้าถึงรสนิยมการฟังเพลงได้ในทุกกลุ่มและทุกแนวเพลง
การดำเนินธุรกิจบันเทิงแบบครบวงจร
ปัจจุบัน การประกอบธุรกิจเพลง นอกเหนือจากการนำเสนอผลงานเพลงที่มีคุณภาพและมีความหลากหลายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ผู้ประกอบการในตลาดยังมีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบครบวงจรมากขึ้น โดยมีการขยายธุรกิจเข้าไปในแทบทุกสื่อทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจ E-Business ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการนำเสนอผลงานเพลง ของศิลปินในสังกัดให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความได้เปรียบทางด้านการ แข่งขัน โดยผู้ประกอบการที่มีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบครบวงจรนั้น จะสามารถกำหนดนโยบายและแผน การตลาด ตั้งแต่การสร้างสรรค์ผลงานเพลงจนถึงการนำเสนอออกสู่สายตาผู้บริโภคได้อย่างสอดคล้องกัน
การจัดระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีการบริหารจัดระบบการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจุบัน ผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงมีการกระจายสินค้าผ่านทางตัวแทนจำหน่ายที่กระจายอยู่ทั่ว พื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ทั้งในส่วนของผู้ค้าปลีกค้าส่ง ตลอดจน ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade โดยมีสัดส่วนร้อยละ 65 และร้อยละ 35 ตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นการลดปริมาณสินค้าคงเหลือลง และนำไปสู่การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
ปัญหาและอุปสรรค…สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ฉุดรั้งการขยายตัว
ปัจจุบัน ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของธุรกิจเพลง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
การแพร่กระจายของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ฉุดรั้งการเจริญเติบโตของธุรกิจเพลงทั่วโลกมาโดยตลอด เนื่องจากธุรกิจการจำหน่ายเทป ซีดี และวีซีดี เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี ประกอบกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง ทำให้สามารถตั้งราคาจำหน่ายได้ต่ำกว่าสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ ค่อนข้างมาก จึงเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ส่งผลให้สินค้าเหล่านี้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างรายได้หรือ ค่าตอบแทนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากผลงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามการบริโภคที่มีอยู่จริง โดยในปัจจุบัน มูลค่าตลาดรวมของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าตลาดในธุรกิจบันเทิงทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ล้วนเป็นสิ่ง ที่ยากแก่การคาดการณ์ของผู้ประกอบการในธุรกิจเพลง ไม่ว่าจะเป็น แนวเพลงที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสนิยมจากต่างประเทศ และความนิยมชมชอบในตัวศิลปินที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากผลงานเพลง ที่ออกวางจำหน่ายหรือตัวศิลปินไม่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค อาจส่งผลกระทบต่อยอดขาย ของผลงานเพลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงต้องมีการสำรวจและวิจัยตลาดเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การสำรวจในแต่ละครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น
การย้ายสังกัดของศิลปินและทีมงานผลิต
การสร้างสรรค์ผลงานเพลงในแต่ละครั้ง จำเป็นต้องอาศัยศิลปินและทีมงานผลิตที่มีคุณภาพและ มีประสบการณ์ค่อนข้างสูง ซึ่งถือเป็นกลุ่มบุคลากรหรือทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการในธุรกิจเพลง ดังนั้น หากเกิดการย้ายค่ายหรือย้ายสังกัดของศิลปินและทีมงานผลิต จะทำให้ผู้ประกอบการต้องสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าไป การสร้างศิลปินและทีมงานผลิตใหม่ขึ้นมา ทดแทนนั้น จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา นอกจากนั้น หากศิลปินหรือทีมงานผลิตเหล่านี้ ย้ายเข้าไปสังกัดในค่ายเพลงคู่แข่ง อาจทำให้ค่ายเพลงคู่แข่งมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นและมีความสามารถ สร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ผู้ประกอบการที่สูญเสียศิลปินและทีมงานผลิต ไปนั้น จะเกิดความเสียเปรียบในด้านการแข่งขัน
แนวโน้มปี’50….ดิจิตอลมิวสิค…แหล่งรายได้ใหม่
ธุรกิจเพลงของไทยในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 7,800 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากการขยายตัวของธุรกิจเพลงดิจิตัล หรือ Digital Music อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมของ ผู้บริโภคที่เริ่มหันไปดาวน์โหลดเพลงจากระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ MP3 กันมากขึ้น ทำให้รายได้ ในส่วนนี้จะเข้ามาทดแทนรายได้จากการจำหน่ายเทปและซีดีที่เริ่มลดลง อันเป็นไปตามแนวโน้มของธุรกิจเพลงทั่วโลก เฉพาะอย่างยิ่ง แนวโน้มของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ถูกผลักดันจากการจำหน่ายเพลงในรูปแบบดิจิตอลไฟล์ ขณะที่ การจำหน่ายเพลงในรูปแบบเทปและซีดีในตลาดโลก ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดกันว่า ภายในปี 2553 ธุรกิจเพลงดิจิตอลของตลาดเพลงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะมีมูลค่าสูงถึง 3.6 หมื่นล้านบาท
แต่หากพิจารณาด้านภาวะการแข่งขันในธุรกิจเพลงของไทย พบว่า จะยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งสองรายในตลาด คือ Grammy และ RS ซึ่งนอกจากจะแข่งขันกันในด้านของการนำเสนอผลงานเพลง ที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีการให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลงานเพลง เช่น การจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบริการในรูปแบบดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งเป็นรูปแบบบริการที่มีแนวโน้มขยายตัวมาโดยตลอด ทำให้ คาดว่า รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิงต่างๆและ รายได้จากบริการด้านดิจิตอลคอนเทนต์ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 และ 15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับรายได้ในธุรกิจเพลงทั้งหมด อันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน ให้ธุรกิจเพลงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศและความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการจับจ่ายใช้สอยของ ผู้บริโภค อีกทั้งความวิตกกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในการจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ ของผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงแล้ว การขยายตัวของธุรกิจเพลงในปี 2550 จะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งเทป ซีดี และMP3 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องและนับวันจะมีแนวโน้มรุนแรง มากขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งการขยายตัวของธุรกิจเพลงมาโดยตลอด รวมทั้งให้บริการดาวน์โหลดเพลงผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซด์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากมีการปราบปรามอย่างเข้มงวดและจริงจังจากภาครัฐ ประกอบกับความร่วมมือของประชาชนในการไม่สนับสนุนสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ก็อาจทำให้ธุรกิจเพลงสามารถขยายตัวได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้หลายเท่าตัว
โดยรายงานของธนาคารนครหลวงไทย ระบุว่า ภาวะการแข่งขันในธุรกิจเพลงยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง Grammy และ RS ซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งมูลค่าของลิขสิทธ์เพลง ตลอดจนจำนวนศิลปินในสังกัด อย่างไรก็ตาม จากการเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจนี้ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของศิลปินรายใหม่จากค่ายเล็ก ส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้งรายเดิม รวมทั้งรายใหญ่อย่าง Grammy และ RS ต่างนำกลยุทธ์การแข่งขันในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดของตนไว้ โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงมักนำมาใช้อยู่เสมอ ได้แก่
การผลิตผลงานเพลงคุณภาพ
ผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงต่างมุ่งเน้นในการผลิตผลงานเพลงที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ รายใหญ่ในตลาด เฉพาะอย่างยิ่ง Grammy และ RS ต่างได้มีการแบ่งหน่วยงานในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงออกเป็นในรูปแบบของค่ายเล็กๆ ซึ่งในแต่ละค่ายจะมีทีมงานผลิตและศิลปินในสังกัดร่วมกันผลิต ผลงานเพลงออกมาตามความถนัดของตนเอง โดยจะมีแนวเพลงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละค่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารงานแล้ว ยังทำให้ได้ผลงานเพลงที่มีคุณภาพและ มีความหลากหลาย สามารถเข้าถึงรสนิยมการฟังเพลงได้ในทุกกลุ่มและทุกแนวเพลง
การดำเนินธุรกิจบันเทิงแบบครบวงจร
ปัจจุบัน การประกอบธุรกิจเพลง นอกเหนือจากการนำเสนอผลงานเพลงที่มีคุณภาพและมีความหลากหลายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ผู้ประกอบการในตลาดยังมีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบครบวงจรมากขึ้น โดยมีการขยายธุรกิจเข้าไปในแทบทุกสื่อทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจ E-Business ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการนำเสนอผลงานเพลง ของศิลปินในสังกัดให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความได้เปรียบทางด้านการ แข่งขัน โดยผู้ประกอบการที่มีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบครบวงจรนั้น จะสามารถกำหนดนโยบายและแผน การตลาด ตั้งแต่การสร้างสรรค์ผลงานเพลงจนถึงการนำเสนอออกสู่สายตาผู้บริโภคได้อย่างสอดคล้องกัน
การจัดระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีการบริหารจัดระบบการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจุบัน ผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงมีการกระจายสินค้าผ่านทางตัวแทนจำหน่ายที่กระจายอยู่ทั่ว พื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ทั้งในส่วนของผู้ค้าปลีกค้าส่ง ตลอดจน ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade โดยมีสัดส่วนร้อยละ 65 และร้อยละ 35 ตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นการลดปริมาณสินค้าคงเหลือลง และนำไปสู่การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
ปัญหาและอุปสรรค…สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ฉุดรั้งการขยายตัว
ปัจจุบัน ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของธุรกิจเพลง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
การแพร่กระจายของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ฉุดรั้งการเจริญเติบโตของธุรกิจเพลงทั่วโลกมาโดยตลอด เนื่องจากธุรกิจการจำหน่ายเทป ซีดี และวีซีดี เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี ประกอบกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง ทำให้สามารถตั้งราคาจำหน่ายได้ต่ำกว่าสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ ค่อนข้างมาก จึงเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ส่งผลให้สินค้าเหล่านี้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างรายได้หรือ ค่าตอบแทนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากผลงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามการบริโภคที่มีอยู่จริง โดยในปัจจุบัน มูลค่าตลาดรวมของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าตลาดในธุรกิจบันเทิงทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ล้วนเป็นสิ่ง ที่ยากแก่การคาดการณ์ของผู้ประกอบการในธุรกิจเพลง ไม่ว่าจะเป็น แนวเพลงที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสนิยมจากต่างประเทศ และความนิยมชมชอบในตัวศิลปินที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากผลงานเพลง ที่ออกวางจำหน่ายหรือตัวศิลปินไม่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค อาจส่งผลกระทบต่อยอดขาย ของผลงานเพลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงต้องมีการสำรวจและวิจัยตลาดเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การสำรวจในแต่ละครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น
การย้ายสังกัดของศิลปินและทีมงานผลิต
การสร้างสรรค์ผลงานเพลงในแต่ละครั้ง จำเป็นต้องอาศัยศิลปินและทีมงานผลิตที่มีคุณภาพและ มีประสบการณ์ค่อนข้างสูง ซึ่งถือเป็นกลุ่มบุคลากรหรือทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการในธุรกิจเพลง ดังนั้น หากเกิดการย้ายค่ายหรือย้ายสังกัดของศิลปินและทีมงานผลิต จะทำให้ผู้ประกอบการต้องสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าไป การสร้างศิลปินและทีมงานผลิตใหม่ขึ้นมา ทดแทนนั้น จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา นอกจากนั้น หากศิลปินหรือทีมงานผลิตเหล่านี้ ย้ายเข้าไปสังกัดในค่ายเพลงคู่แข่ง อาจทำให้ค่ายเพลงคู่แข่งมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นและมีความสามารถ สร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ผู้ประกอบการที่สูญเสียศิลปินและทีมงานผลิต ไปนั้น จะเกิดความเสียเปรียบในด้านการแข่งขัน
แนวโน้มปี’50….ดิจิตอลมิวสิค…แหล่งรายได้ใหม่
ธุรกิจเพลงของไทยในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 7,800 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากการขยายตัวของธุรกิจเพลงดิจิตัล หรือ Digital Music อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมของ ผู้บริโภคที่เริ่มหันไปดาวน์โหลดเพลงจากระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ MP3 กันมากขึ้น ทำให้รายได้ ในส่วนนี้จะเข้ามาทดแทนรายได้จากการจำหน่ายเทปและซีดีที่เริ่มลดลง อันเป็นไปตามแนวโน้มของธุรกิจเพลงทั่วโลก เฉพาะอย่างยิ่ง แนวโน้มของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ถูกผลักดันจากการจำหน่ายเพลงในรูปแบบดิจิตอลไฟล์ ขณะที่ การจำหน่ายเพลงในรูปแบบเทปและซีดีในตลาดโลก ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดกันว่า ภายในปี 2553 ธุรกิจเพลงดิจิตอลของตลาดเพลงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะมีมูลค่าสูงถึง 3.6 หมื่นล้านบาท
แต่หากพิจารณาด้านภาวะการแข่งขันในธุรกิจเพลงของไทย พบว่า จะยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งสองรายในตลาด คือ Grammy และ RS ซึ่งนอกจากจะแข่งขันกันในด้านของการนำเสนอผลงานเพลง ที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีการให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลงานเพลง เช่น การจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบริการในรูปแบบดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งเป็นรูปแบบบริการที่มีแนวโน้มขยายตัวมาโดยตลอด ทำให้ คาดว่า รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิงต่างๆและ รายได้จากบริการด้านดิจิตอลคอนเทนต์ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 และ 15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับรายได้ในธุรกิจเพลงทั้งหมด อันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน ให้ธุรกิจเพลงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศและความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการจับจ่ายใช้สอยของ ผู้บริโภค อีกทั้งความวิตกกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในการจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ ของผู้ประกอบการในธุรกิจเพลงแล้ว การขยายตัวของธุรกิจเพลงในปี 2550 จะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งเทป ซีดี และMP3 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องและนับวันจะมีแนวโน้มรุนแรง มากขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งการขยายตัวของธุรกิจเพลงมาโดยตลอด รวมทั้งให้บริการดาวน์โหลดเพลงผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซด์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากมีการปราบปรามอย่างเข้มงวดและจริงจังจากภาครัฐ ประกอบกับความร่วมมือของประชาชนในการไม่สนับสนุนสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ก็อาจทำให้ธุรกิจเพลงสามารถขยายตัวได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้หลายเท่าตัว