รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตั้งเป้าขยายรถติดตั้งเอ็นจีวีเพิ่มเป็น 60,850 คันภายในปีนี้ พร้อมเร่งขยายสถานีบริการเอ็นจีวีเพิ่มเป็น 270 แห่ง ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วประเทศด้วย

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวี สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก ว่า เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยการใช้เอ็นจีวี จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการติดตั้งอุปกรณ์เอ็นจีวี ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมธุรกิจพลังงาน กรมการขนส่งทางบก และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยจะเป็นหน่วยงานที่ออกใบรับรองให้กับศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวีที่ได้มาตรฐาน
ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์บริการรับติดตั้งเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นทั้งหมด 160 แห่ง ได้ผ่านการรับรองแล้ว 18 แห่ง และอยู่ระหว่างยื่นขอใบรับรองอีก 46 แห่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวีที่จะได้รับใบรับรองมาตรฐาน ต้องผ่านหลักเกณฑ์ เช่น ต้องมีสถานที่รับติดตั้งไม่น้อยกว่า 200 ตารางเมตร เป็นอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ต้องมีเครื่องมือครบถ้วนที่ได้มาตรฐานสากล มีอุปกรณ์ตรวจสอบระดับก๊าซ อุปกรณ์ยกรถยนต์ อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นต้น บุคลากรต้องเป็นวิศวกรและช่างผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะ รวมทั้งต้องรับประกันการติดตั้งพร้อมทั้งอุปกรณ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีด้วย โดยการสร้างมาตรฐานศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวี จะช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีของศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวี ให้ได้รับการไว้วางใจและเชื่อถือจากประชาชน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งเอ็นจีวีแล้วทั้งสิ้น 31,700 คัน และกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายรถยนต์ที่ติดตั้งเอ็นจีวี เพิ่มเป็น 60,850 คัน ภายในปี 2550 โดยขณะนี้มีสถานีบริการเอ็นจีวีแล้ว 118 แห่งทั่วประเทศ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายสถานีบริการเพิ่มเป็น 270 แห่ง ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วประเทศไทย ภายในปี 2550
เตือนผู้ใช้รถเลือกอู่ติดตั้งเอ็นจีวี ต้องมีใบรับรอง
นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า สำหรับผู้ที่ต้องการดัดแปลงปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์ส่วนตัวให้สามารถใช้ก๊าซเอ็นจีวีได้ จะต้องพิจารณาเลือกสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน และมีใบรับรองมาตรฐานด้านวิศวกรรมจากทางกรมการขนส่งทางบก ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีวิศวกรที่จะสามารถออกใบรับรองดังกล่าวได้เพียง 37 คนเท่านั้น ซึ่งวิศวกรแต่ละคนจะประจำอยู่ตามสถานประกอบการคนละ 1 แห่ง เนื่องจากการติดตั้งอุปกรณ์เอ็นจีวีนั้นก็ถือเป็นการดัดแปลงรถยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องมีใบรับรองมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งหากผู้ใช้รถนำรถไปติดตั้งในสถานประกอบการที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีใบรับรอง ก็จะถือว่าเป็นการดัดแปลงรถยนต์โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่สามารถนำรถไปต่อทะเบียนได้ ซึ่งจะมีความผิดต่อการใช้รถผิดกฎหมาย และใช้รถยนต์ดัดแปลงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทด้วย
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวี สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก ว่า เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐาน และสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยการใช้เอ็นจีวี จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการติดตั้งอุปกรณ์เอ็นจีวี ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมธุรกิจพลังงาน กรมการขนส่งทางบก และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยจะเป็นหน่วยงานที่ออกใบรับรองให้กับศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวีที่ได้มาตรฐาน
ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์บริการรับติดตั้งเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นทั้งหมด 160 แห่ง ได้ผ่านการรับรองแล้ว 18 แห่ง และอยู่ระหว่างยื่นขอใบรับรองอีก 46 แห่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวีที่จะได้รับใบรับรองมาตรฐาน ต้องผ่านหลักเกณฑ์ เช่น ต้องมีสถานที่รับติดตั้งไม่น้อยกว่า 200 ตารางเมตร เป็นอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ต้องมีเครื่องมือครบถ้วนที่ได้มาตรฐานสากล มีอุปกรณ์ตรวจสอบระดับก๊าซ อุปกรณ์ยกรถยนต์ อุปกรณ์ดับเพลิง เป็นต้น บุคลากรต้องเป็นวิศวกรและช่างผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะ รวมทั้งต้องรับประกันการติดตั้งพร้อมทั้งอุปกรณ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีด้วย โดยการสร้างมาตรฐานศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวี จะช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีของศูนย์ติดตั้งเอ็นจีวี ให้ได้รับการไว้วางใจและเชื่อถือจากประชาชน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งเอ็นจีวีแล้วทั้งสิ้น 31,700 คัน และกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายรถยนต์ที่ติดตั้งเอ็นจีวี เพิ่มเป็น 60,850 คัน ภายในปี 2550 โดยขณะนี้มีสถานีบริการเอ็นจีวีแล้ว 118 แห่งทั่วประเทศ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายสถานีบริการเพิ่มเป็น 270 แห่ง ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วประเทศไทย ภายในปี 2550
เตือนผู้ใช้รถเลือกอู่ติดตั้งเอ็นจีวี ต้องมีใบรับรอง
นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า สำหรับผู้ที่ต้องการดัดแปลงปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์ส่วนตัวให้สามารถใช้ก๊าซเอ็นจีวีได้ จะต้องพิจารณาเลือกสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน และมีใบรับรองมาตรฐานด้านวิศวกรรมจากทางกรมการขนส่งทางบก ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีวิศวกรที่จะสามารถออกใบรับรองดังกล่าวได้เพียง 37 คนเท่านั้น ซึ่งวิศวกรแต่ละคนจะประจำอยู่ตามสถานประกอบการคนละ 1 แห่ง เนื่องจากการติดตั้งอุปกรณ์เอ็นจีวีนั้นก็ถือเป็นการดัดแปลงรถยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องมีใบรับรองมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งหากผู้ใช้รถนำรถไปติดตั้งในสถานประกอบการที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีใบรับรอง ก็จะถือว่าเป็นการดัดแปลงรถยนต์โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่สามารถนำรถไปต่อทะเบียนได้ ซึ่งจะมีความผิดต่อการใช้รถผิดกฎหมาย และใช้รถยนต์ดัดแปลงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทด้วย