สนข.เตรียมประเมินผลการนำร่องเดินรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที เส้นแรก สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ก่อนนำมาปรับแผนการพัฒนาบีอาร์ทีทั้ง 9 เส้นทาง ตามผลศึกษาของ สนข.ให้สอดคล้องกับเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 5 เส้นทาง เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และการเดินรถเกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาจราจรมากที่สุด

นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร เดินรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที เส้นแรก สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่า กรุงเทพมหานครจะใช้ระยะเวลาในการเตรียมการ และสามารถเริ่มให้บริการได้ในสิ้นปี 2550 โดยการหารือร่วมกับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กับ สนข.ในช่วงที่ผ่านมา ได้หารือถึงการก่อสร้างสถานี และจัดช่องจราจรของรถบีอาร์ทีขอให้ดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้โครงสร้างที่เป็นโครงเหล็กร่วมกับวัสดุอื่นๆ ที่สามารถรื้อถอนง่าย เพื่อสะดวกหากจะมีการปรับสถานีและเส้นทางในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับแผนการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 5 เส้นทาง และโครงการรถบีอาร์ทีเส้นทางอื่นที่จะพัฒนาในอนาคต
โดยในส่วนแรก สนข.จะทำการประเมินผลการให้บริการของรถบีอาร์ทีของกรุงเทพมหานคร ว่าประสบผลสำเร็จแค่ไหน โดยเฉพาะในประเด็นความเห็นของประชาชนผู้ใช้ถนน เนื่องจากการเดินรถบีอาร์ทีจะมีการแบ่งช่องจราจร 1 ช่อง เพื่อใช้เดินรถบีอาร์ทีเฉพาะ ซึ่งแน่นอนจะกระทบกับผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนอื่น รวมทั้งจะมีประเด็นเรื่องความนิยมในการใช้บริการของประชาชนต่อรถบีอาร์ทีด้วย
ทั้งนี้ ภายหลังจาก สนข.รับทราบผลดำเนินการ ก็จะนำมาปรับแผนกับผลศึกษาในการพัฒนาระบบรถบีอาร์ทีอีก 9 เส้นทาง ที่ สนข.เคยศึกษาไว้ และการจะสรุปว่าจะมีรถบีอาร์ทีเกิดขึ้นอีกกี่เส้นทาง สนข.จะใช้แผนแม่บทในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในขณะนี้ที่มีอยู่ 5 เส้นทาง นำมาปรับให้สอดคล้องกับเส้นทางเดินรถบีอาร์ที เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และการเดินรถเกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาจราจรมากที่สุด
สำหรับผลศึกษา การพัฒนาระบบรถบีอาร์ทีของ สนข.9 เส้นทาง แบ่งโครงการรถบีอาร์ทีออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก 4 เส้นทาง คือ สายเมืองทอง - มีนบุรี ระยะทาง 26 กิโลเมตร สายบางกะปิ - สมุทรปราการ ระยะทาง 20 กิโลเมตร สายตลิ่งชัน - สะพานปิ่นเกล้า ระยะทาง 10 กิโลเมตร และสายดอนเมือง - หมอชิต ระยะทาง 17 กิโลเมตร รวมระยะทางในเฟสที่ 1 คือ 73 กิโลเมตร หลังจากนั้น จะมีระยะที่ 2 ใน 9 เส้นทาง ประกอบด้วย สายบางแค - รังสิต ระยะทาง 56.80 กิโลเมตร สายสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง ระยะทาง 52.5 กิโลเมตร สายเมืองทอง – คลองจั่น - ตลิ่งชัน ระยะทาง 54.30 กิโลเมตร สายสุวินทวงศ์ - ตลิ่งชัน 42.8 กิโลเมตร สายรามอินทรา - กม.8 - เพชรเกษม ระยะทาง 35.8 กิโลเมตร เส้นทางพระสมุทรเจดีย์ - สยามสแควร์ ระยะทาง 34.4 กิโลเมตร สายสถานีขนส่งสายใต้ - เอกมัย ระยะทาง 22.7 กิโลเมตร สายพระราม 2 - รามอินทรา ระยะทาง 58.8 กิโลเมตร และสายรังสิต - จตุจักร ระยะทาง 21.26 กิโลเมตร รวมเป็นเส้นทางระยะที่ 2 คือ 379.72 กิโลเมตร
นายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร เดินรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที เส้นแรก สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่า กรุงเทพมหานครจะใช้ระยะเวลาในการเตรียมการ และสามารถเริ่มให้บริการได้ในสิ้นปี 2550 โดยการหารือร่วมกับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กับ สนข.ในช่วงที่ผ่านมา ได้หารือถึงการก่อสร้างสถานี และจัดช่องจราจรของรถบีอาร์ทีขอให้ดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้โครงสร้างที่เป็นโครงเหล็กร่วมกับวัสดุอื่นๆ ที่สามารถรื้อถอนง่าย เพื่อสะดวกหากจะมีการปรับสถานีและเส้นทางในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับแผนการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 5 เส้นทาง และโครงการรถบีอาร์ทีเส้นทางอื่นที่จะพัฒนาในอนาคต
โดยในส่วนแรก สนข.จะทำการประเมินผลการให้บริการของรถบีอาร์ทีของกรุงเทพมหานคร ว่าประสบผลสำเร็จแค่ไหน โดยเฉพาะในประเด็นความเห็นของประชาชนผู้ใช้ถนน เนื่องจากการเดินรถบีอาร์ทีจะมีการแบ่งช่องจราจร 1 ช่อง เพื่อใช้เดินรถบีอาร์ทีเฉพาะ ซึ่งแน่นอนจะกระทบกับผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนอื่น รวมทั้งจะมีประเด็นเรื่องความนิยมในการใช้บริการของประชาชนต่อรถบีอาร์ทีด้วย
ทั้งนี้ ภายหลังจาก สนข.รับทราบผลดำเนินการ ก็จะนำมาปรับแผนกับผลศึกษาในการพัฒนาระบบรถบีอาร์ทีอีก 9 เส้นทาง ที่ สนข.เคยศึกษาไว้ และการจะสรุปว่าจะมีรถบีอาร์ทีเกิดขึ้นอีกกี่เส้นทาง สนข.จะใช้แผนแม่บทในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในขณะนี้ที่มีอยู่ 5 เส้นทาง นำมาปรับให้สอดคล้องกับเส้นทางเดินรถบีอาร์ที เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และการเดินรถเกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาจราจรมากที่สุด
สำหรับผลศึกษา การพัฒนาระบบรถบีอาร์ทีของ สนข.9 เส้นทาง แบ่งโครงการรถบีอาร์ทีออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก 4 เส้นทาง คือ สายเมืองทอง - มีนบุรี ระยะทาง 26 กิโลเมตร สายบางกะปิ - สมุทรปราการ ระยะทาง 20 กิโลเมตร สายตลิ่งชัน - สะพานปิ่นเกล้า ระยะทาง 10 กิโลเมตร และสายดอนเมือง - หมอชิต ระยะทาง 17 กิโลเมตร รวมระยะทางในเฟสที่ 1 คือ 73 กิโลเมตร หลังจากนั้น จะมีระยะที่ 2 ใน 9 เส้นทาง ประกอบด้วย สายบางแค - รังสิต ระยะทาง 56.80 กิโลเมตร สายสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง ระยะทาง 52.5 กิโลเมตร สายเมืองทอง – คลองจั่น - ตลิ่งชัน ระยะทาง 54.30 กิโลเมตร สายสุวินทวงศ์ - ตลิ่งชัน 42.8 กิโลเมตร สายรามอินทรา - กม.8 - เพชรเกษม ระยะทาง 35.8 กิโลเมตร เส้นทางพระสมุทรเจดีย์ - สยามสแควร์ ระยะทาง 34.4 กิโลเมตร สายสถานีขนส่งสายใต้ - เอกมัย ระยะทาง 22.7 กิโลเมตร สายพระราม 2 - รามอินทรา ระยะทาง 58.8 กิโลเมตร และสายรังสิต - จตุจักร ระยะทาง 21.26 กิโลเมตร รวมเป็นเส้นทางระยะที่ 2 คือ 379.72 กิโลเมตร