มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยปีนี้จะโตเพียงร้อยละ 9.46 หรือคิดเป็นมูลค่า 142,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าจะโตร้อยละ 12.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากโดนปัญหาสารพัดรุมเร้า ทั้งปัญหาค่าเงินบาทที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลก ปัญหาราคาน้ำมัน รวมทั้งปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการคาดการณ์ภาวะส่งออก-นำเข้าสินค้าของไทยตลอดทั้งปี 2550 ว่า จะขยายตัวร้อยละ 9.64 หรือคิดเป็นมูลค่า 142,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกปี 2550 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเหตุผลหลักที่ทำให้การส่งออกลดต่ำลงมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทจะกระทบต่อการส่งออกและนำเข้ารวมถึงดุลการค้า หากแข็งค่าถึง 1 บาท มูลค่าการส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 3.1 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จึงทำให้การส่งออกของไทยแม้จะมีการขยายตัวแต่จะเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลง และหากดูตัวเลขการนำเข้าสินค้าที่นำมาผลิตเพื่อการส่งออกในปี 2550 ยังมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10.17 หรือคิดเป็นมูลค่า 139,744 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ไทยยังเกินดุลการค้าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,729 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
“เหตุผลหลักน่าจะมาจากปัญหาของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ผันผวน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐและอีกหลายประเทศ และปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะข่าวการระเบิดตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด ได้เกิดเหตุระเบิดตู้โทรศัพท์ที่หน้าโรงภาพยนตร์เมเจอร์ รัชโยธิน ทำให้นักท่องเที่ยว นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ และส่งผลให้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คาดหมายว่าจะมีการท่องเที่ยวคึกคัก ประชาชนก็อาจหวั่นวิตกเกิดเหตุระเบิด และจะอยู่บ้านมากกว่าท่องเที่ยว และอีกหลายปัจจัยที่สร้างความไม่มั่นใจต่อการลงทุนภายในประเทศ” นายอัทธ์ กล่าว
นายอัทธ์ กล่าวอีกว่า เท่าที่ประเมินการค้าการนำเข้าของไทยในไตรมาส 2 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 33,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสแรกของปีร้อยละ 0.81 เนื่องจากค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจของคู่ค้าชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 16.33 เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าคงคลังมากขึ้น หลังจากการชะลอการนำเข้าในช่วงต้นปี ประกอบกับการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปป้า) ทำให้ไทยจะนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น เพราะมีการลดภาษีสินค้าลงหลายรายการ ส่งผลให้ดุลการค้าในไตรมาส 2 จะขาดดุลประมาณ 3,589 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในภาคบริการจะมีรายได้ลดลงจากไตรมาสแรกประมาณร้อยละ 18.12 เพราะเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซันของการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน สถานการณ์ลอบวางระเบิดและความไม่สงบทำให้ประชาชนชะลอการท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ คาดว่า ดุลบริการจะเกินดุลเพียง 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 2 ขาดดุลถึง 5,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง หากดูการส่งออกในแต่ละตลาดโดยเฉพาะตลาดหลักมีอัตราที่ลดลงต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และตลาดอาเซียน แต่ไทยยังสามารถที่จะทำตลาดได้ดี ขณะเดียวกัน หากดูในปี 2550 แม้ว่าไทยจะเกินดุลการค้า 2,729 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ไทยยังขาดดุลการค้าญี่ปุ่นสูงถึง 9,425 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีน 2,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ อีก 7,532 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 11,384 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สหภาพยุโรป 6,455 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาเซียน 2,904 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออสเตรเลีย 1,702 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการคาดการณ์ภาวะส่งออก-นำเข้าสินค้าของไทยตลอดทั้งปี 2550 ว่า จะขยายตัวร้อยละ 9.64 หรือคิดเป็นมูลค่า 142,473 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกปี 2550 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเหตุผลหลักที่ทำให้การส่งออกลดต่ำลงมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทจะกระทบต่อการส่งออกและนำเข้ารวมถึงดุลการค้า หากแข็งค่าถึง 1 บาท มูลค่าการส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 3.1 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จึงทำให้การส่งออกของไทยแม้จะมีการขยายตัวแต่จะเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลง และหากดูตัวเลขการนำเข้าสินค้าที่นำมาผลิตเพื่อการส่งออกในปี 2550 ยังมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10.17 หรือคิดเป็นมูลค่า 139,744 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ไทยยังเกินดุลการค้าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,729 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
“เหตุผลหลักน่าจะมาจากปัญหาของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ผันผวน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะตลาดสหรัฐและอีกหลายประเทศ และปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะข่าวการระเบิดตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด ได้เกิดเหตุระเบิดตู้โทรศัพท์ที่หน้าโรงภาพยนตร์เมเจอร์ รัชโยธิน ทำให้นักท่องเที่ยว นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ และส่งผลให้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คาดหมายว่าจะมีการท่องเที่ยวคึกคัก ประชาชนก็อาจหวั่นวิตกเกิดเหตุระเบิด และจะอยู่บ้านมากกว่าท่องเที่ยว และอีกหลายปัจจัยที่สร้างความไม่มั่นใจต่อการลงทุนภายในประเทศ” นายอัทธ์ กล่าว
นายอัทธ์ กล่าวอีกว่า เท่าที่ประเมินการค้าการนำเข้าของไทยในไตรมาส 2 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 33,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสแรกของปีร้อยละ 0.81 เนื่องจากค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจของคู่ค้าชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 16.33 เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าคงคลังมากขึ้น หลังจากการชะลอการนำเข้าในช่วงต้นปี ประกอบกับการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปป้า) ทำให้ไทยจะนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น เพราะมีการลดภาษีสินค้าลงหลายรายการ ส่งผลให้ดุลการค้าในไตรมาส 2 จะขาดดุลประมาณ 3,589 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในภาคบริการจะมีรายได้ลดลงจากไตรมาสแรกประมาณร้อยละ 18.12 เพราะเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซันของการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน สถานการณ์ลอบวางระเบิดและความไม่สงบทำให้ประชาชนชะลอการท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ คาดว่า ดุลบริการจะเกินดุลเพียง 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 2 ขาดดุลถึง 5,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง หากดูการส่งออกในแต่ละตลาดโดยเฉพาะตลาดหลักมีอัตราที่ลดลงต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และตลาดอาเซียน แต่ไทยยังสามารถที่จะทำตลาดได้ดี ขณะเดียวกัน หากดูในปี 2550 แม้ว่าไทยจะเกินดุลการค้า 2,729 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ไทยยังขาดดุลการค้าญี่ปุ่นสูงถึง 9,425 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีน 2,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ อีก 7,532 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 11,384 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สหภาพยุโรป 6,455 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาเซียน 2,904 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออสเตรเลีย 1,702 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ