การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นแผนพีดีพี 2007 ฉลุย โดยไม่มีการชุมนุมต่อต้านจากกลุ่มเอ็นจีโอ เตรียมเสนอบอร์ด กพช.วันที่ 9 เมษายน นี้ ระบุ หากใช้แผนที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด มีโรงไฟฟ้าก๊าซ-ถ่านหิน คาด จะมีเงินลงทุนรวม 15 ปี กว่า 986,000 ล้านบาท รวมทั้งจะมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ ขณะที่ ปตท.เตรียมแผนจัดหาก๊าซรองรับไอพีพี เฟสแรก คาดแหล่งพม่า เอ็ม 7, เอ็ม 9 จะมีปริมาณผลิตเบื้องต้น 300-400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
กระทรวงพลังงาน จัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง “การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี ตั้งแต่ช่วงปี 2550-2559 (พีดีพี 2007) ที่สโมสรทหารบก โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา 400 คน แต่ไม่มีการชุมนุมคัดค้านของกลุ่มองค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) แต่อย่างใด ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เสนอ 9 แผนงาน ที่พิจารณาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีประมาณการจากตัวเลขคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.5 โดยแผนดังกล่าวมีการผลิตไฟฟ้าทั้งจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ การใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) 10 ล้านตัน การรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากสรุปงานสัมมนาแล้วจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบในวันที่ 9 เมษายนนี้ ซึ่งหากพิจารณา 9 แผนแล้ว ส่วนตัวเห็นว่า แผน บี 2 มีความเป็นไปได้ เพราะจะมีต้นทุนต่ำ และมีความเป็นไปได้ในการจัดหาเชื้อเพลิง ซึ่งแผนดังกล่าว มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ 18,200 เมกะวัตต์ ถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ (4 โรงไฟฟ้า) นิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ (2 โรงไฟฟ้า) เอสพีพี 1,700 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 5,090 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิตที่เพิ่ม 31,790 เมกะวัตต์ คาดมีเม็ดเงินลงทุนในส่วนโรงไฟฟ้าประมาณ 690,000 ล้านบาท การลงทุนธุรกิจระบบส่ง 294,800 ล้านบาท รวมแล้วหากใช้แผนนี้ จะมีการลงทุนรวม 986,700 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เป็นแผนระยะยาว ดังนั้นจึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดยจะจัดเก็บเงินจากโรงไฟฟ้าใหม่ และโรงไฟฟ้าเก่า เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า โดยส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับครอบครัวผู้ที่ได้รับประโยชน์ และนำไปพัฒนาพลังงานหมุนเวียน สำหรับแนวทางการเก็บเงิน หากเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะเรียกเก็บขั้นต่ำ 30,000 บาท ต่อเมกะวัตต์ต่อปี นับจากวันเริ่มก่อสร้างจนถึงวันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ เช่น โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ จะจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ประมาณ 21 ล้านบาทต่อปี และภายหลังการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ทุกโรงไฟฟ้าจะต้องจ่ายเงินขั้นต่ำ 1 สตางค์ต่อหน่วย ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสมทบกองทุนฯ โดยขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ จะเรียกเก็บที่ 1 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นปีละ 52 ล้านบาท ส่วนกรณีถ้าเป็นถ่านหิน จะเรียกเก็บที่ 2.50 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นปีละ 130 ล้านบาท
ด้าน นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ตามแผนดังกล่าว ปตท.ได้จัดหาก๊าซ ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยปัจจุบัน ปตท.มีโครงข่ายท่อก๊าซ 2,637 กิโลเมตร กำลังส่งก๊าซ 3,520 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในอนาคตมีแผนขยายก่อสร้างอีก 1,705 กิโลเมตร กำลังส่งก๊าซ 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน รวมแล้วจะสามารถจัดหาก๊าซได้รวมเป็น 8,540 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่มีความต้องการก๊าซเร่งด่วน ในช่วงปี 2551-2553 ปตท.ได้ร่วมกับ ปตท.สผ. เร่งผลิตโครงการอาทิตย์เหนืออีก 120-150 ล้านลูกบาศก์ฟุต และจากที่การประมูลโรงไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) รอบแรก ประมาณปี 2555-2557 ที่คาดว่าจะต้องใช้ก๊าซทั้งหมด ปตท. ได้เตรียมแผนหาก๊าซรองรับด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เบื้องต้น 3-5 ล้านตัน (400-500 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน) ในปี 2554 และการจัดหาก๊าซจากพม่า จากแหล่งเอ็ม 7 และ เอ็ม 9 ที่คาดว่าจะส่งก๊าซเข้าระบบ 300-400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นต้น โดยในแหล่ง เอ็ม 9 นั้น คาดว่า จะมีปริมาณสำรองถึง 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
กระทรวงพลังงาน จัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง “การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี ตั้งแต่ช่วงปี 2550-2559 (พีดีพี 2007) ที่สโมสรทหารบก โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา 400 คน แต่ไม่มีการชุมนุมคัดค้านของกลุ่มองค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) แต่อย่างใด ซึ่งกระทรวงพลังงานได้เสนอ 9 แผนงาน ที่พิจารณาจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีประมาณการจากตัวเลขคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.5 โดยแผนดังกล่าวมีการผลิตไฟฟ้าทั้งจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ การใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) 10 ล้านตัน การรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากสรุปงานสัมมนาแล้วจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบในวันที่ 9 เมษายนนี้ ซึ่งหากพิจารณา 9 แผนแล้ว ส่วนตัวเห็นว่า แผน บี 2 มีความเป็นไปได้ เพราะจะมีต้นทุนต่ำ และมีความเป็นไปได้ในการจัดหาเชื้อเพลิง ซึ่งแผนดังกล่าว มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ 18,200 เมกะวัตต์ ถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ (4 โรงไฟฟ้า) นิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ (2 โรงไฟฟ้า) เอสพีพี 1,700 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 5,090 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิตที่เพิ่ม 31,790 เมกะวัตต์ คาดมีเม็ดเงินลงทุนในส่วนโรงไฟฟ้าประมาณ 690,000 ล้านบาท การลงทุนธุรกิจระบบส่ง 294,800 ล้านบาท รวมแล้วหากใช้แผนนี้ จะมีการลงทุนรวม 986,700 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เป็นแผนระยะยาว ดังนั้นจึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดยจะจัดเก็บเงินจากโรงไฟฟ้าใหม่ และโรงไฟฟ้าเก่า เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า โดยส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับครอบครัวผู้ที่ได้รับประโยชน์ และนำไปพัฒนาพลังงานหมุนเวียน สำหรับแนวทางการเก็บเงิน หากเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะเรียกเก็บขั้นต่ำ 30,000 บาท ต่อเมกะวัตต์ต่อปี นับจากวันเริ่มก่อสร้างจนถึงวันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ เช่น โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ จะจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ประมาณ 21 ล้านบาทต่อปี และภายหลังการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ทุกโรงไฟฟ้าจะต้องจ่ายเงินขั้นต่ำ 1 สตางค์ต่อหน่วย ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสมทบกองทุนฯ โดยขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ จะเรียกเก็บที่ 1 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นปีละ 52 ล้านบาท ส่วนกรณีถ้าเป็นถ่านหิน จะเรียกเก็บที่ 2.50 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นปีละ 130 ล้านบาท
ด้าน นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ตามแผนดังกล่าว ปตท.ได้จัดหาก๊าซ ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยปัจจุบัน ปตท.มีโครงข่ายท่อก๊าซ 2,637 กิโลเมตร กำลังส่งก๊าซ 3,520 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในอนาคตมีแผนขยายก่อสร้างอีก 1,705 กิโลเมตร กำลังส่งก๊าซ 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน รวมแล้วจะสามารถจัดหาก๊าซได้รวมเป็น 8,540 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่มีความต้องการก๊าซเร่งด่วน ในช่วงปี 2551-2553 ปตท.ได้ร่วมกับ ปตท.สผ. เร่งผลิตโครงการอาทิตย์เหนืออีก 120-150 ล้านลูกบาศก์ฟุต และจากที่การประมูลโรงไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) รอบแรก ประมาณปี 2555-2557 ที่คาดว่าจะต้องใช้ก๊าซทั้งหมด ปตท. ได้เตรียมแผนหาก๊าซรองรับด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เบื้องต้น 3-5 ล้านตัน (400-500 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน) ในปี 2554 และการจัดหาก๊าซจากพม่า จากแหล่งเอ็ม 7 และ เอ็ม 9 ที่คาดว่าจะส่งก๊าซเข้าระบบ 300-400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นต้น โดยในแหล่ง เอ็ม 9 นั้น คาดว่า จะมีปริมาณสำรองถึง 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน