รองปลัดพลังงาน ยืนยันการแก้ไขปัญหาหนี้ค่าก๊าซ จากการบรรเทาผลกระทบค่าไฟฟ้าเอฟที งวดเดือนตุลาคม 2548 - มกราคม 2549 จำนวน 6,000 ล้านบาท จะไม่เพิ่มภาระต่อประชาชน โดย ปตท.ยังคงได้ดอกเบี้ยเท่าเดิม ขณะที่ กฟผ.จ่ายภาระส่วนต่างดอกเบี้ย แต่ไม่ออกพันธบัตรมาใช้หนี้แน่นอน
นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาหาข้อสรุปหนี้ค้างจ่ายราคาก๊าซธรรมชาติ สำหรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟที งวดเดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 เป็นวงเงินรวม 6,000 ล้านบาท ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้น คือ ไม่ให้สร้างภาระต่อประชาชน และไม่เพิ่มภาระค่าเอฟที แต่จะเป็นรูปแบบไหนจะนำเสนอต่อที่ประชุมอนุกรรมการพิจารณาค่าไฟฟ้าเอฟทีในงวดต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อสรุปเบื้องต้น คือ ปตท.ยังได้รับอัตราดอกเบี้ยของวงเงิน 6,000 ล้านบาท เท่าเดิม คือ ร้อยละ 6.7 เพราะ ปตท.มีภาระในการออกพันธบัตรมารับภาระก๊าซ ให้ก่อน จึงไม่เป็นธรรมต่อ ปตท.หากจะต้องมีภาระเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่า จากภาระดอกเบี้ยที่ลดลงก็คงไม่เป็นธรรม หากมารับภาระอัตราดอกเบี้ยที่สูง และเห็นร่วมกันว่าประชาชนน่าจะรับภาระดอกเบี้ยสะท้อนตลาดในขณะนี้ คือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5-6 โดยส่วนต่างของดอกเบี้ย ทางกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาว่าจะใช้ส่วนไหนมารับภาระ ซึ่งแนวโน้มจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มาร่วมรับภาระ แต่จะไม่ใช่การออกพันธบัตร 6,000 ล้านบาท มาใช้หนี้ ปตท.เพราะไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะขายพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพลังงาน จะพยายามหาแนวทางใช้หนี้คืนให้หมดโดยเร็วที่สุด จากเดิมที่กำหนดให้ใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี หรือปี 2553 โดยช่วงใดที่ราคาต้นทุนค่าเอฟทีลดลง ก็ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวคืนหนี้ให้มากที่สุด
นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาหาข้อสรุปหนี้ค้างจ่ายราคาก๊าซธรรมชาติ สำหรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟที งวดเดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 เป็นวงเงินรวม 6,000 ล้านบาท ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้น คือ ไม่ให้สร้างภาระต่อประชาชน และไม่เพิ่มภาระค่าเอฟที แต่จะเป็นรูปแบบไหนจะนำเสนอต่อที่ประชุมอนุกรรมการพิจารณาค่าไฟฟ้าเอฟทีในงวดต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อสรุปเบื้องต้น คือ ปตท.ยังได้รับอัตราดอกเบี้ยของวงเงิน 6,000 ล้านบาท เท่าเดิม คือ ร้อยละ 6.7 เพราะ ปตท.มีภาระในการออกพันธบัตรมารับภาระก๊าซ ให้ก่อน จึงไม่เป็นธรรมต่อ ปตท.หากจะต้องมีภาระเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่า จากภาระดอกเบี้ยที่ลดลงก็คงไม่เป็นธรรม หากมารับภาระอัตราดอกเบี้ยที่สูง และเห็นร่วมกันว่าประชาชนน่าจะรับภาระดอกเบี้ยสะท้อนตลาดในขณะนี้ คือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5-6 โดยส่วนต่างของดอกเบี้ย ทางกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาว่าจะใช้ส่วนไหนมารับภาระ ซึ่งแนวโน้มจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มาร่วมรับภาระ แต่จะไม่ใช่การออกพันธบัตร 6,000 ล้านบาท มาใช้หนี้ ปตท.เพราะไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะขายพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพลังงาน จะพยายามหาแนวทางใช้หนี้คืนให้หมดโดยเร็วที่สุด จากเดิมที่กำหนดให้ใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี หรือปี 2553 โดยช่วงใดที่ราคาต้นทุนค่าเอฟทีลดลง ก็ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวคืนหนี้ให้มากที่สุด