“เสรี วงษ์มณฑา” เผย ไม่มั่นใจคณะกรรมการกลางกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กกค.) ย้ำไม่ใช้เทวดาจะกำหนดได้ทุกเรื่อง ยันควรเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน ขณะที่ผู้ประกอบการค้าปลีกแนะควรใช้โซนนิ่งในการแก้ปัญหา
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักสื่อสารการตลาด กล่าวแสดงความเห็นถึงที่มาของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กกค.) ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีได้ตีกลับให้กระทรวงพาณิชย์กลับไปพิจารณาในประเด็นของ กกค.ว่า จะปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง เพราะจะมีกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน กรรมการผู้แทนสถาบัน หรือองค์กรเอกชนอีก 5 คน โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งกรรมการที่ไม่ได้เป็นโดยตำแหน่งนั้น จะมีกระบวนการสรรหาที่เป็นธรรม และห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเข้ามาเป็น เพื่อป้องกันการเข้ามาหาผลประโยชน์นั้นว่าตนไม่เชื่อว่าเทวดาเหล่านี้ จะเป็นผู้กำหนดได้ทุกเรื่อง ซึ่งไม่ควรมีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เพราะหวั่นว่าจะไม่มีความเป็นธรรม
“ไม่เชื่อว่า เทวดาที่ตั้งขึ้นมาจะเป็นผู้กำหนดได้ทุกเรื่อง กฎหมายที่จะร่างออกมานั้น ควรมีความชัดเจน ไม่ใช่เป็นดุลยพินิจของกรรมการชุดใดทั้งหรือคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ควรจะต้องเขียนตัวกฎหมายให้มีความชัดเจนไปเลยจะดีกว่า” ดร.เสรี กล่าว
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการค้าปลีก กล่าวว่า นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เตรียมเรียกผู้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) โชวห่วย นักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาหารือ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมติ ครม.ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์พยายามที่จะผลักดันร่าง พ.ร.ก.ค้าปลีก ออกมาอย่างรวดเร็วในขณะที่ผู้ประกอบค้าปลีกรายใหญ่ยังไม่เห็นด้วยในหลายเรื่อง แต่ทางพาณิชย์ก็พยายามกล่อมให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเห็นด้วยในร่าง พ.ร.ก.ค้าปลีกดังกล่าว แต่เมื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้วมีความเห็นที่แตกต่าง และไม่เห็นด้วยในเรื่อง กกค.ซึ่งทำให้ผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์รู้สึกอึดอัดใจที่ถูกตีกลับในเรื่องนี้
“ต้องยอมรับว่า ปัญหาที่ พ.ร.ก.ถูกตีกลับนั้น เพราะเจตนารมณ์ในการร่างกฎหมายไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ เนื่องจากผู้ร่างกฎหมายซึ่งควบคุมการขยายตัวของโมเดิรน์เทรดจนเกิดไป ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนแล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาของโชวห่วยได้อีกด้วย ตราบใดที่โชวห่วยไม่พัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน แนวทางการอยู่ร่วมกันของโมเดิรน์เทรด และโชวห่วยที่ถูกต้องควรจะเน้นในเรื่องการจัดโซนนิง มากกว่าการควบคุมการขยายสาขา ซึ่งในหลายประเทศที่มีกฎหมายเรื่องค้าปลีก ในยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งเข้มงวดมาก เคยมีการใช้กฎหมายเช่นนี้มากว่า 20 ปี แต่ก็พบว่าไม่เกิดผลตามที่ตั้งไว้ ทำให้ทุกประเทศลดความเข้มข้นในการขยายสาขาลง และหันมาใช้การจัดโซนนิงแทน”
แหล่งข่าวกล่าวจากวงการค้าปลีก กล่าวว่า ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกฉบับนี้ อยู่ที่ข้าราชการชั้นสูงในกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการเนื้อหาของ พ.ร.บ.เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับหน่วยงานราชการ มากกว่าที่จะมุ่งแก้ปัญหาที่แท้จริงส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับจากคณะรัฐมนตรี รวมทั้งคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก ซึ่งความจริงแล้วแทบไม่มีส่วนร่วมในการร่างนี้เลย รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ด้วย
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักสื่อสารการตลาด กล่าวแสดงความเห็นถึงที่มาของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กกค.) ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีได้ตีกลับให้กระทรวงพาณิชย์กลับไปพิจารณาในประเด็นของ กกค.ว่า จะปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง เพราะจะมีกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน กรรมการผู้แทนสถาบัน หรือองค์กรเอกชนอีก 5 คน โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งกรรมการที่ไม่ได้เป็นโดยตำแหน่งนั้น จะมีกระบวนการสรรหาที่เป็นธรรม และห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเข้ามาเป็น เพื่อป้องกันการเข้ามาหาผลประโยชน์นั้นว่าตนไม่เชื่อว่าเทวดาเหล่านี้ จะเป็นผู้กำหนดได้ทุกเรื่อง ซึ่งไม่ควรมีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เพราะหวั่นว่าจะไม่มีความเป็นธรรม
“ไม่เชื่อว่า เทวดาที่ตั้งขึ้นมาจะเป็นผู้กำหนดได้ทุกเรื่อง กฎหมายที่จะร่างออกมานั้น ควรมีความชัดเจน ไม่ใช่เป็นดุลยพินิจของกรรมการชุดใดทั้งหรือคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ควรจะต้องเขียนตัวกฎหมายให้มีความชัดเจนไปเลยจะดีกว่า” ดร.เสรี กล่าว
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการค้าปลีก กล่าวว่า นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เตรียมเรียกผู้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) โชวห่วย นักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาหารือ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมติ ครม.ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์พยายามที่จะผลักดันร่าง พ.ร.ก.ค้าปลีก ออกมาอย่างรวดเร็วในขณะที่ผู้ประกอบค้าปลีกรายใหญ่ยังไม่เห็นด้วยในหลายเรื่อง แต่ทางพาณิชย์ก็พยายามกล่อมให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเห็นด้วยในร่าง พ.ร.ก.ค้าปลีกดังกล่าว แต่เมื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้วมีความเห็นที่แตกต่าง และไม่เห็นด้วยในเรื่อง กกค.ซึ่งทำให้ผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์รู้สึกอึดอัดใจที่ถูกตีกลับในเรื่องนี้
“ต้องยอมรับว่า ปัญหาที่ พ.ร.ก.ถูกตีกลับนั้น เพราะเจตนารมณ์ในการร่างกฎหมายไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ เนื่องจากผู้ร่างกฎหมายซึ่งควบคุมการขยายตัวของโมเดิรน์เทรดจนเกิดไป ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนแล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาของโชวห่วยได้อีกด้วย ตราบใดที่โชวห่วยไม่พัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน แนวทางการอยู่ร่วมกันของโมเดิรน์เทรด และโชวห่วยที่ถูกต้องควรจะเน้นในเรื่องการจัดโซนนิง มากกว่าการควบคุมการขยายสาขา ซึ่งในหลายประเทศที่มีกฎหมายเรื่องค้าปลีก ในยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งเข้มงวดมาก เคยมีการใช้กฎหมายเช่นนี้มากว่า 20 ปี แต่ก็พบว่าไม่เกิดผลตามที่ตั้งไว้ ทำให้ทุกประเทศลดความเข้มข้นในการขยายสาขาลง และหันมาใช้การจัดโซนนิงแทน”
แหล่งข่าวกล่าวจากวงการค้าปลีก กล่าวว่า ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกฉบับนี้ อยู่ที่ข้าราชการชั้นสูงในกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการเนื้อหาของ พ.ร.บ.เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับหน่วยงานราชการ มากกว่าที่จะมุ่งแก้ปัญหาที่แท้จริงส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับจากคณะรัฐมนตรี รวมทั้งคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก ซึ่งความจริงแล้วแทบไม่มีส่วนร่วมในการร่างนี้เลย รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ด้วย