สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) สนับสนุนรัฐบาลเร่งลงนามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ระหว่างญี่ปุ่นและไทย เพราะจะเป็นประโยชน์มากมายกับประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม คาด มูลค่าการค้าระหว่างกันจะขยายตัวถึงร้อยละ 25 และช่วยสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทย
นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและไทย (JTEPA) ในวันที่ 3 เมษายนนี้ จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยจากข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลให้มีการยกเลิกภาษีนำเข้าของญี่ปุ่นในบางสินค้า เช่น เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ที่ถูกเก็บภาษีถึงร้อยละ 12 ซึ่งคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 35 สินค้ากุ้งและไก่แช่แข็ง ที่คาดว่า จะเติบโตร้อยละ 50 สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ อัญมณี เป็นต้น ส่วนสินค้าประเภทอื่นๆ มีกรอบเวลาในการลดภาษี เช่น ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม ปัจจุบันมูลค่าการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น สูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท/ปี ซึ่งคาดว่าภายหลังการลงนามเอฟทีเอ 1-2 ปี มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศ จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 25 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่น่าพอใจ
“ทาง สรท.สนับสนุนให้รัฐบาลเร่งลงนามเปิดเอฟทีเอกับญี่ปุ่นเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์ของประเทศ เพราะการทำเอฟทีเอครั้งนี้ ทั้งญี่ปุ่นและไทย ต่างก็ได้ประโยชน์ หากประเทศไทยไม่ลงนามกับญี่ปุ่น ก็จะเสียเปรียบคู่แข่งทางการค้า เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ที่ลงนามเอฟทีเอกับญี่ปุ่นแล้ว” นายสุชาติ กล่าว
ส่วนกรณีที่กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) คัดค้านการทำเอฟทีเอ และจะยื่นร้องต่อศาลปกครองให้มีการสั่งระงับการทำเอฟทีเอนั้น นายสุชาติ กล่าวว่า เป็นสิทธิที่จะแสดงความเห็นได้ แต่หากต้องระงับการลงนาม จะทำให้ไทยเสียโอกาสในการขยายการค้าการลงทุนไปยังญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่า การดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง ส่วนข้อวิตกกังวลเรื่องขยะพิษ และการจดสิทธิบัตรจุลชีพนั้น ยืนยันว่า ข้อตกลงนี้ไม่ได้ทำให้มีขยะพิษเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีกฎหมายห้ามนำเข้าขยะที่ใช้ไม่ได้ ยกเว้นกากอุตสาหกรรมที่นำมารีไซเคิลใหม่ เช่นเดียวกับการจดสิทธิบัตรจุลชีพ ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและญี่ปุ่น
นายสุชาติ กล่าวว่า การลงนามเอฟทีเอ ยังจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ทำให้นักลงทุนใหม่ที่กำลังรีรอ คลายความกังวล เพราะปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย ปรับตัวลดลงจาก 40,000-50,000 ล้านบาท ในปี 2544 เหลือ 25,000 ล้านบาท ในปี 2548 การลงนามครั้งนี้จึงจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังจะได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ประเทศไทยมุ่งจะเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมอาหาร เรื่อง Food Safety และนวัตกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เทคโนโลยีกระบวนการผลิตเส้นใยต่างๆ
“การทำเอฟทีเอ เป็นข้อตกลงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่เอื้อประโยชน์ สามารถยกเลิกการทำข้อตกลงได้ โดยแจ้งล่วงหน้า 1 ปี ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นห่วง” นายสุชาติ กล่าว
นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและไทย (JTEPA) ในวันที่ 3 เมษายนนี้ จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยจากข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลให้มีการยกเลิกภาษีนำเข้าของญี่ปุ่นในบางสินค้า เช่น เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ที่ถูกเก็บภาษีถึงร้อยละ 12 ซึ่งคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 35 สินค้ากุ้งและไก่แช่แข็ง ที่คาดว่า จะเติบโตร้อยละ 50 สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ อัญมณี เป็นต้น ส่วนสินค้าประเภทอื่นๆ มีกรอบเวลาในการลดภาษี เช่น ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม ปัจจุบันมูลค่าการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น สูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท/ปี ซึ่งคาดว่าภายหลังการลงนามเอฟทีเอ 1-2 ปี มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศ จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 25 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่น่าพอใจ
“ทาง สรท.สนับสนุนให้รัฐบาลเร่งลงนามเปิดเอฟทีเอกับญี่ปุ่นเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์ของประเทศ เพราะการทำเอฟทีเอครั้งนี้ ทั้งญี่ปุ่นและไทย ต่างก็ได้ประโยชน์ หากประเทศไทยไม่ลงนามกับญี่ปุ่น ก็จะเสียเปรียบคู่แข่งทางการค้า เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ที่ลงนามเอฟทีเอกับญี่ปุ่นแล้ว” นายสุชาติ กล่าว
ส่วนกรณีที่กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) คัดค้านการทำเอฟทีเอ และจะยื่นร้องต่อศาลปกครองให้มีการสั่งระงับการทำเอฟทีเอนั้น นายสุชาติ กล่าวว่า เป็นสิทธิที่จะแสดงความเห็นได้ แต่หากต้องระงับการลงนาม จะทำให้ไทยเสียโอกาสในการขยายการค้าการลงทุนไปยังญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่า การดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง ส่วนข้อวิตกกังวลเรื่องขยะพิษ และการจดสิทธิบัตรจุลชีพนั้น ยืนยันว่า ข้อตกลงนี้ไม่ได้ทำให้มีขยะพิษเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีกฎหมายห้ามนำเข้าขยะที่ใช้ไม่ได้ ยกเว้นกากอุตสาหกรรมที่นำมารีไซเคิลใหม่ เช่นเดียวกับการจดสิทธิบัตรจุลชีพ ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและญี่ปุ่น
นายสุชาติ กล่าวว่า การลงนามเอฟทีเอ ยังจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ทำให้นักลงทุนใหม่ที่กำลังรีรอ คลายความกังวล เพราะปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย ปรับตัวลดลงจาก 40,000-50,000 ล้านบาท ในปี 2544 เหลือ 25,000 ล้านบาท ในปี 2548 การลงนามครั้งนี้จึงจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังจะได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ประเทศไทยมุ่งจะเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมอาหาร เรื่อง Food Safety และนวัตกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เทคโนโลยีกระบวนการผลิตเส้นใยต่างๆ
“การทำเอฟทีเอ เป็นข้อตกลงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่เอื้อประโยชน์ สามารถยกเลิกการทำข้อตกลงได้ โดยแจ้งล่วงหน้า 1 ปี ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นห่วง” นายสุชาติ กล่าว