รัฐบาลคุยหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นได้ประโยชน์เพียบ ไม่ว่าจะเป็นถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน ส่วนปัญหาการนำเข้าสารพิษจากญี่ปุ่นไม่น่าห่วง เพราะมีการป้องกันถึง 2 ระดับทั้งในประเทศและระดับภาคี ชี้หากไม่ลงนามอาจรั้งท้ายอาเซียน เหตุเวียดนาม-อินโดนีเซียจ่อลงนามกับญี่ปุ่นเช่นกัน
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หลังจากได้นำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมา 3 ครั้ง เพื่อที่จะพยายามรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ถ้าไม่มีข้อขัดแย้ง ปัญหาก็สามารถดำเนินต่อไปได้ ส่วนสิทธิบัตรนั้นยังมีสิทธิ 100%
สำหรับกากอุตสาหกรรมมีอยู่ในภาษีอากร-นำเข้ามาในประเทศ จะมีข้อตกลง เว้นแต่กฎหมายไม่ให้นำเข้า การแตกต่างทางด้านภาษีสุงสุดร้อยละ 5 ซึ่งแตกต่าง แต่หากมีการลงนามแล้วจะเหลือร้อยละ 0 ส่วนเรื่องที่มีปัญหาก็ไม่สามารถนำเข้าได้
นายโฆสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นเป็นการดูแลเพื่อให้รักษาระดับแข่งขัน ปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น หากไม่ทำ ไม่เชื่อมโยงกับประเทศอื่น ก็จะทำให้ไทยอาจรั้งในกลุ่มอาเซียนได้ เนื่องจากเวียดนาม และอินโดนีเซีย ก็กำลังจะลงนามกับญี่ปุ่นเช่นกัน
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.กระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า 5 ปี โดยได้ศึกษาข้อมูลจากนักวิชาการ และหน่วยราชการ 2 ปี จากนั้นทำการวิจัยทั้งทางด้านการเมือง เกษตร และพาณิชย์เป็นเวลา 3 ปี และมีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางการทูต ซึ่งนับว่าได้ดำเนินการมาหมดกระบวนการแล้ว จึงถึงเวลาที่ต้องลงนามข้อตกลง
ทั้งนี้ หลังจากลงนามไปแล้ว 3- 6 เดือนจึงจะมีผลบังคับใช้ เนื่องจากทางญี่ปุ่นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อลงมติว่ารับหรือไม่รับการลงนามครั้งนี้ และในส่วนของไทยก็จะมีการนำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อลงมติว่าจะเดินหน้าหรือไม่ นับเป็นการเข้าสู่การพิจารณาครั้งที่ 5 ซึ่งเสมือนเป็นการให้สัตยาบัน และจากนี้ ไป 3 - 5 หรือ 10 ปี จะมีการทบทวนข้อดีข้อเสียระหว่างกัน และสามารถแก้ไขในภายหลังได้
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทางด้านวิทยาศาสตร์ต้องมีการถ่ายทอดความรู้จากญี่ปุ่นสู่ไทย และจากไทยสู่ญี่ปุ่น ซึ่งเทคโนโลยีที่ไทยยังตามไม่ทัน ก็สามารถร่วมมือ สามารถเป็นหุ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นการวิจัย การจดสิทธิบัตร
ส่วนการที่มีความเป็นห่วงว่าจะมีการนำจุลชีพของไทยไปใช้และถูกจดสิทธิบัตรนั้น ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติกำหนดไว้ว่าจุลชีพที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ นอกจากจะนำไปต่อยอด และพัฒนาจากของเดิม ส่วนพืชก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน โดยจะมีการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กนำภูมิปัญญาชาวบ้านหรือท้องถิ่นไปจดสิทธิบัตรที่ญี่ปุ่นด้วย แต่หากมีการศึกษาร่วมกันก็จะเป็นเจ้าของร่วมกัน
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การเป็นหุ้นส่วน จะมีข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้เสียเปรียบซึ่งกันและกัน โดยทั้ง 2 ประเทศจะยอมรับและยึดถือกฎหมายของแต่ละประเทศเป็นหลัก
ส่วนการนำเข้ากากอุตสาหกรรมนั้น นายเกษม กล่าวว่า มีคณะกรรมการการดูแลการนำเข้าของเสียอุตสาหกรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีอนุสัญญาบาเซิ่ลของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสารพิษข้ามประเทศ ข้ามทวีป ซึ่งมีผลบังคับ มีการกำหนดสารพิษไว้แล้ว โดยทั้งไทยและญี่ปุ่นก็ได้ลงนามแล้ว และไม่ว่าจะลงนามหรือไม่ลงนามก็มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว รวมทั้งยังจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางการทูตระหว่างกัน ซึ่งถือเป็นการป้องกัน 2 ชั้น คือ กฎหมายในประเทศ และอนุสัญญาบาเซิ่ล
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงการพาณิชย์ กล่าวว่า เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ นำมาผสมผสาน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นมองไทยเป็นแหล่งลงทุน และฐานการผลิตรถยนต์ในอาเซียน โดยจะส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถแข่งขันกับมาเลเซียได้ ส่วนไทยมองญี่ปุ่นในฐานะนักลงทุน และยังได้ตลาดญี่ปุ่น การศึกษา และอบรมเทคโนโลยีด้วย
โดยสินค้าทั่วไปจะได้ประโยชน์จากการลงนามในครั้งนี้ เช่น ประมง ไก่ ผลไม้ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมแทบทุกสาขาก็จะได้ประโยชน์ อย่างเช่น อัญมณี เฟอร์นิเจอร์ ส่วนที่มีปัญหาคือ เหล็ก และรถยนต์ขนาด 3,000 ซี.ซี.ที่ญี่ปุ่นต้องการให้ลดภาษี ก็มีการขอให้เลื่อนการเจรจาไปก่อน
นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการส่งออกมากขึ้น แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะให้เกษตรกรมาส่งออกทุกคน โดยถือว่าเอกชนยังคงเป็นตัวหลักในการส่งออก แต่ก็ต้องมาบริหารจัดการเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์มากที่สุดด้วย
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หลังจากได้นำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมา 3 ครั้ง เพื่อที่จะพยายามรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ถ้าไม่มีข้อขัดแย้ง ปัญหาก็สามารถดำเนินต่อไปได้ ส่วนสิทธิบัตรนั้นยังมีสิทธิ 100%
สำหรับกากอุตสาหกรรมมีอยู่ในภาษีอากร-นำเข้ามาในประเทศ จะมีข้อตกลง เว้นแต่กฎหมายไม่ให้นำเข้า การแตกต่างทางด้านภาษีสุงสุดร้อยละ 5 ซึ่งแตกต่าง แต่หากมีการลงนามแล้วจะเหลือร้อยละ 0 ส่วนเรื่องที่มีปัญหาก็ไม่สามารถนำเข้าได้
นายโฆสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นเป็นการดูแลเพื่อให้รักษาระดับแข่งขัน ปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น หากไม่ทำ ไม่เชื่อมโยงกับประเทศอื่น ก็จะทำให้ไทยอาจรั้งในกลุ่มอาเซียนได้ เนื่องจากเวียดนาม และอินโดนีเซีย ก็กำลังจะลงนามกับญี่ปุ่นเช่นกัน
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.กระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า 5 ปี โดยได้ศึกษาข้อมูลจากนักวิชาการ และหน่วยราชการ 2 ปี จากนั้นทำการวิจัยทั้งทางด้านการเมือง เกษตร และพาณิชย์เป็นเวลา 3 ปี และมีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางการทูต ซึ่งนับว่าได้ดำเนินการมาหมดกระบวนการแล้ว จึงถึงเวลาที่ต้องลงนามข้อตกลง
ทั้งนี้ หลังจากลงนามไปแล้ว 3- 6 เดือนจึงจะมีผลบังคับใช้ เนื่องจากทางญี่ปุ่นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อลงมติว่ารับหรือไม่รับการลงนามครั้งนี้ และในส่วนของไทยก็จะมีการนำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อลงมติว่าจะเดินหน้าหรือไม่ นับเป็นการเข้าสู่การพิจารณาครั้งที่ 5 ซึ่งเสมือนเป็นการให้สัตยาบัน และจากนี้ ไป 3 - 5 หรือ 10 ปี จะมีการทบทวนข้อดีข้อเสียระหว่างกัน และสามารถแก้ไขในภายหลังได้
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทางด้านวิทยาศาสตร์ต้องมีการถ่ายทอดความรู้จากญี่ปุ่นสู่ไทย และจากไทยสู่ญี่ปุ่น ซึ่งเทคโนโลยีที่ไทยยังตามไม่ทัน ก็สามารถร่วมมือ สามารถเป็นหุ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นการวิจัย การจดสิทธิบัตร
ส่วนการที่มีความเป็นห่วงว่าจะมีการนำจุลชีพของไทยไปใช้และถูกจดสิทธิบัตรนั้น ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติกำหนดไว้ว่าจุลชีพที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ นอกจากจะนำไปต่อยอด และพัฒนาจากของเดิม ส่วนพืชก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน โดยจะมีการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กนำภูมิปัญญาชาวบ้านหรือท้องถิ่นไปจดสิทธิบัตรที่ญี่ปุ่นด้วย แต่หากมีการศึกษาร่วมกันก็จะเป็นเจ้าของร่วมกัน
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การเป็นหุ้นส่วน จะมีข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้เสียเปรียบซึ่งกันและกัน โดยทั้ง 2 ประเทศจะยอมรับและยึดถือกฎหมายของแต่ละประเทศเป็นหลัก
ส่วนการนำเข้ากากอุตสาหกรรมนั้น นายเกษม กล่าวว่า มีคณะกรรมการการดูแลการนำเข้าของเสียอุตสาหกรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีอนุสัญญาบาเซิ่ลของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสารพิษข้ามประเทศ ข้ามทวีป ซึ่งมีผลบังคับ มีการกำหนดสารพิษไว้แล้ว โดยทั้งไทยและญี่ปุ่นก็ได้ลงนามแล้ว และไม่ว่าจะลงนามหรือไม่ลงนามก็มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว รวมทั้งยังจะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางการทูตระหว่างกัน ซึ่งถือเป็นการป้องกัน 2 ชั้น คือ กฎหมายในประเทศ และอนุสัญญาบาเซิ่ล
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงการพาณิชย์ กล่าวว่า เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ นำมาผสมผสาน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นมองไทยเป็นแหล่งลงทุน และฐานการผลิตรถยนต์ในอาเซียน โดยจะส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถแข่งขันกับมาเลเซียได้ ส่วนไทยมองญี่ปุ่นในฐานะนักลงทุน และยังได้ตลาดญี่ปุ่น การศึกษา และอบรมเทคโนโลยีด้วย
โดยสินค้าทั่วไปจะได้ประโยชน์จากการลงนามในครั้งนี้ เช่น ประมง ไก่ ผลไม้ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมแทบทุกสาขาก็จะได้ประโยชน์ อย่างเช่น อัญมณี เฟอร์นิเจอร์ ส่วนที่มีปัญหาคือ เหล็ก และรถยนต์ขนาด 3,000 ซี.ซี.ที่ญี่ปุ่นต้องการให้ลดภาษี ก็มีการขอให้เลื่อนการเจรจาไปก่อน
นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการส่งออกมากขึ้น แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะให้เกษตรกรมาส่งออกทุกคน โดยถือว่าเอกชนยังคงเป็นตัวหลักในการส่งออก แต่ก็ต้องมาบริหารจัดการเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์มากที่สุดด้วย