ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เตือนรัฐบาลไทยเร่งสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั้งการบริโภคและการลงทุนโดยเร็ว หลังการส่งออกเริ่มชะลอตัว และอันดับเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำสุดในอาเซียน สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจเอเชีย เนื่องจากปัญหาการเมืองฉุดความเชื่อมั่นทุกด้านลดลง พร้อมระบุมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ส่งผลเกิดการเก็งกำไรเงินบาท
นายฌอง-ปิแอร์ เอ.เวอร์บิสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2550 และปี 2551 คาดว่า จะขยายตัวแนวโน้มชะลอตัว โดยคาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4 และร้อยละ 5 ตามลำดับ สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจเอเชีย ที่คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 7.6 และ 7.7 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2549 นั้น เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 5 แต่เศรษฐกิจเอเชียขยายตัวร้อยละ 8.3 นับเป็นอัตราเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลหลักจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน และอินเดีย รวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของไทยมีการขยายตัวในอันดับต่ำสุดในอาเซียน ในขณะที่เป็นอันดับรองจากอันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ปัจจัยหลักเกิดจากความเชื่อมั่นทุกด้านที่ลดลง เพราะปัญหาการเมือง ในขณะเดียวกัน มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดอีกด้วย พร้อมวิจารณ์ว่า มาตรการของ ธปท.นั้น ดำเนินการล่าช้าเกินไป เพราะมีการเก็งกำไรก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้ระบุชัดว่ามาตรการนี้ควรยกเลิกหรือไม่
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในช่วง 2 ปีนี้ เอดีบี เตือนว่า จะพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวและค่าเงินบาทที่แข็งค่ามีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันเช่นกัน โดยคาดว่า การส่งออกในปี 2550 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้น ดังนั้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ ที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั้งการบริโภคและการลงทุน อย่างไรก็ตาม การประมาณการเศรษฐกิจนี้ อยู่บนสมมติฐานว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และหากรัฐบาลใหม่ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจก็จะกลับมาดีขึ้น และจะส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวในปี 2551 นอกจากนั้น รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญและเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างระมัดระวัง
เอดีบี ระบุด้วยว่า กรณีที่ ธปท.ได้ประกาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 เรื่องมาตรการกันเงินสำรองร้อยละ 30 จากเงินทุนไหล มาตรการนี้ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นตกลงอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม โดยแม้ ธปท.จะผ่อนคลายและมีการส่งสัญญาณว่ามาตรการดังกล่าวจะถูกยกเลิกในที่สุด แต่มาตรการนี้สร้างความกังวลอย่างกว้างขวาง ว่า จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน นอกจากนี้ ยังทำให้ค่าเงินบาทที่ซื้อขายกันในและต่างประเทศแตกต่างกันอย่างมาก ธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถขายดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อซื้อเงินบาทได้เพียงในตลาดต่างประเทศ ส่วนผู้นำเข้าสินค้าต้องจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ สิ่งเหล่านี้เป็นการจำกัดอุปทานของเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งค่าขึ้นมากกว่าตลาดในประเทศถึง 2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนต่างนี้อาจทำให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงิน โดยการซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดต่างประเทศ และนำไปขายในตลาดในประเทศ
สำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2550-2551 เอดีบี คาดว่า การนำเข้าจะเร่งตัวขึ้น เนื่องจากบริษัทเริ่มจะเพิ่มสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ดี อุปสงค์ภายในประเทศยังคงชะลอตัว จึงส่งผลให้การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8 ส่วนการนำเข้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากมีการเลือกตั้ง เนื่องจากการลงทุนทางภาครัฐและเอกชน คาดว่า จะฟื้นตัว สำหรับการคาดการณ์ดุลการค้าในปีนี้จะเกินดุลประมาณ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่จะลดลงในปี 2551 ดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่า จะเกินดุลประมาณ ร้อยละ 1.3 ของจีดีพีในปีนี้ และจะกลับไปขาดดุลในปี 2551
ด้านการลงทุนภาคเอกชน คาดว่า จะเพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2550 เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ แต่คาดว่า การลงทุนจะขยายตัวสูงขึ้นในปี 2551 เมื่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง สำหรับการลงทุนภาครัฐ คาดว่า จะเพิ่มขึ้นในปี 2550 และมีเติบโตต่อเนื่องในปี 2551 เนื่องจากรัฐบาลจะเริ่มลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน การประมูลในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ คาดว่า จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2550 โดยรัฐบาลได้เห็นชอบที่จะมีการสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย แต่คาดว่า จะมีเพียง 2 สายที่จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในปีนี้ ส่วนการขยายตัวของการลงทุนในภาพรวมของปี 2550 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 และขยายตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 8% ในปี 2551 และการขยายตัวของจีดีพีในปี 2550 จะขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 4 ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5 ในปี 2551 ทั้งนี้ อยู่บนสมมติฐานที่ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับมาดีขึ้น
สำหรับปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณขาดดุลที่ 142,600 ล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ากับร้อยละ 1.7 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีอาจได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ได้คาดไว้เมื่อขณะจัดทำงบประมาณ การขาดดุลงบประมาณดังกล่าวจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 41 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากอยู่ที่ระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลังของรัฐบาล
อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในปีนี้และปีหน้า คาดว่า จะลดระดับลงไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จาก ร้อยละ 4.5 ในปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันในต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง ดังนั้น จึงอาจเป็นการปูทางไปสู่การลดลงของดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
ในรายงานของเอดีบี ระบุด้วยว่า ความพยายามของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงินถูกบั่นทอนโดยการออกมาตรการควบคุมเงินทุน ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการหยุดชะงักของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่ได้รับการรับรองในปี 2549 ตั้งเป้าหมายจะขยายขนาดของตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้เพิ่มเป็น 2 เท่า ในปี 2553 และแผนดังกล่าวได้กล่าวถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อขยายตลาดตราสารทุน อย่างไรก็ตาม แผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้หยุดชะงัก เนื่องจากในช่วงปลายปี 2548 มีคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดว่าการเสนอขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อาจเป็นการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คาดว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจคงจะไม่มีขึ้นจนกว่าจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินการปฏิรูปภาคการเงินในปีนี้ การแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติการประกันภัย การแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มความเป็นอิสระให้แก่หน่วยงานกำกับดูแลทั้งสามให้ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง
ความเสี่ยงภายในประเทศต่อเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่มาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หากมีความล่าช้าในการเลือกตั้ง อาจก่อให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอ และไม่มีแนวนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน จะยิ่งส่งผลให้มีความไม่แน่นอนต่อเนื่องไปอีก และส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำต่อไป ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเท่าไรนัก ส่วนกรณีไข้หวัดนกเริ่มพบอีกในช่วงต้นปี 2550 มีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสัตว์ปีกรายใหญ่
“ความไม่แน่นอนทางการเมืองและทางด้านนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากมาตรการควบคุมเงินทุนแล้ว รัฐบาลยังได้เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การแก้ไขดังกล่าวเสนอให้มีการสร้างความชัดเจนในกฎเกณฑ์ของการใช้นอมินี ร่างการแก้ไขกฎเกณฑ์ดังกล่าว จะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติบางรายต้องลดการถือหุ้นและจำกัดสิทธิในการออกเสียงในบริษัทลง และรัฐบาลชุดปัจจุบันได้สนับสนุนและส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แม้จะให้ความมั่นใจว่าไม่ได้ขัดต่อกลไกตลาดเสรี และยังคงต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจต่างชาติส่วนหนึ่งยังคงมีความกังวลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เอดีบี ระบุ
นายฌอง-ปิแอร์ เอ.เวอร์บิสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2550 และปี 2551 คาดว่า จะขยายตัวแนวโน้มชะลอตัว โดยคาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4 และร้อยละ 5 ตามลำดับ สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจเอเชีย ที่คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 7.6 และ 7.7 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2549 นั้น เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 5 แต่เศรษฐกิจเอเชียขยายตัวร้อยละ 8.3 นับเป็นอัตราเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลหลักจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน และอินเดีย รวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของไทยมีการขยายตัวในอันดับต่ำสุดในอาเซียน ในขณะที่เป็นอันดับรองจากอันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ปัจจัยหลักเกิดจากความเชื่อมั่นทุกด้านที่ลดลง เพราะปัญหาการเมือง ในขณะเดียวกัน มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดอีกด้วย พร้อมวิจารณ์ว่า มาตรการของ ธปท.นั้น ดำเนินการล่าช้าเกินไป เพราะมีการเก็งกำไรก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้ระบุชัดว่ามาตรการนี้ควรยกเลิกหรือไม่
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในช่วง 2 ปีนี้ เอดีบี เตือนว่า จะพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวและค่าเงินบาทที่แข็งค่ามีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันเช่นกัน โดยคาดว่า การส่งออกในปี 2550 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้น ดังนั้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ ที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั้งการบริโภคและการลงทุน อย่างไรก็ตาม การประมาณการเศรษฐกิจนี้ อยู่บนสมมติฐานว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และหากรัฐบาลใหม่ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจก็จะกลับมาดีขึ้น และจะส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวในปี 2551 นอกจากนั้น รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญและเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างระมัดระวัง
เอดีบี ระบุด้วยว่า กรณีที่ ธปท.ได้ประกาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 เรื่องมาตรการกันเงินสำรองร้อยละ 30 จากเงินทุนไหล มาตรการนี้ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นตกลงอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม โดยแม้ ธปท.จะผ่อนคลายและมีการส่งสัญญาณว่ามาตรการดังกล่าวจะถูกยกเลิกในที่สุด แต่มาตรการนี้สร้างความกังวลอย่างกว้างขวาง ว่า จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน นอกจากนี้ ยังทำให้ค่าเงินบาทที่ซื้อขายกันในและต่างประเทศแตกต่างกันอย่างมาก ธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถขายดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อซื้อเงินบาทได้เพียงในตลาดต่างประเทศ ส่วนผู้นำเข้าสินค้าต้องจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ สิ่งเหล่านี้เป็นการจำกัดอุปทานของเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็งค่าขึ้นมากกว่าตลาดในประเทศถึง 2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนต่างนี้อาจทำให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงิน โดยการซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดต่างประเทศ และนำไปขายในตลาดในประเทศ
สำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2550-2551 เอดีบี คาดว่า การนำเข้าจะเร่งตัวขึ้น เนื่องจากบริษัทเริ่มจะเพิ่มสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ดี อุปสงค์ภายในประเทศยังคงชะลอตัว จึงส่งผลให้การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8 ส่วนการนำเข้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากมีการเลือกตั้ง เนื่องจากการลงทุนทางภาครัฐและเอกชน คาดว่า จะฟื้นตัว สำหรับการคาดการณ์ดุลการค้าในปีนี้จะเกินดุลประมาณ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่จะลดลงในปี 2551 ดุลบัญชีเดินสะพัด คาดว่า จะเกินดุลประมาณ ร้อยละ 1.3 ของจีดีพีในปีนี้ และจะกลับไปขาดดุลในปี 2551
ด้านการลงทุนภาคเอกชน คาดว่า จะเพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2550 เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ แต่คาดว่า การลงทุนจะขยายตัวสูงขึ้นในปี 2551 เมื่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง สำหรับการลงทุนภาครัฐ คาดว่า จะเพิ่มขึ้นในปี 2550 และมีเติบโตต่อเนื่องในปี 2551 เนื่องจากรัฐบาลจะเริ่มลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน การประมูลในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ คาดว่า จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2550 โดยรัฐบาลได้เห็นชอบที่จะมีการสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย แต่คาดว่า จะมีเพียง 2 สายที่จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในปีนี้ ส่วนการขยายตัวของการลงทุนในภาพรวมของปี 2550 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 และขยายตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 8% ในปี 2551 และการขยายตัวของจีดีพีในปี 2550 จะขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 4 ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5 ในปี 2551 ทั้งนี้ อยู่บนสมมติฐานที่ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับมาดีขึ้น
สำหรับปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณขาดดุลที่ 142,600 ล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ากับร้อยละ 1.7 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีอาจได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ได้คาดไว้เมื่อขณะจัดทำงบประมาณ การขาดดุลงบประมาณดังกล่าวจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 41 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากอยู่ที่ระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลังของรัฐบาล
อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในปีนี้และปีหน้า คาดว่า จะลดระดับลงไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จาก ร้อยละ 4.5 ในปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันในต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง ดังนั้น จึงอาจเป็นการปูทางไปสู่การลดลงของดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
ในรายงานของเอดีบี ระบุด้วยว่า ความพยายามของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงินถูกบั่นทอนโดยการออกมาตรการควบคุมเงินทุน ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการหยุดชะงักของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่ได้รับการรับรองในปี 2549 ตั้งเป้าหมายจะขยายขนาดของตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้เพิ่มเป็น 2 เท่า ในปี 2553 และแผนดังกล่าวได้กล่าวถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อขยายตลาดตราสารทุน อย่างไรก็ตาม แผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้หยุดชะงัก เนื่องจากในช่วงปลายปี 2548 มีคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดว่าการเสนอขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อาจเป็นการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คาดว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจคงจะไม่มีขึ้นจนกว่าจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินการปฏิรูปภาคการเงินในปีนี้ การแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติการประกันภัย การแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มความเป็นอิสระให้แก่หน่วยงานกำกับดูแลทั้งสามให้ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง
ความเสี่ยงภายในประเทศต่อเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่มาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หากมีความล่าช้าในการเลือกตั้ง อาจก่อให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอ และไม่มีแนวนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน จะยิ่งส่งผลให้มีความไม่แน่นอนต่อเนื่องไปอีก และส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำต่อไป ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเท่าไรนัก ส่วนกรณีไข้หวัดนกเริ่มพบอีกในช่วงต้นปี 2550 มีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสัตว์ปีกรายใหญ่
“ความไม่แน่นอนทางการเมืองและทางด้านนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากมาตรการควบคุมเงินทุนแล้ว รัฐบาลยังได้เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การแก้ไขดังกล่าวเสนอให้มีการสร้างความชัดเจนในกฎเกณฑ์ของการใช้นอมินี ร่างการแก้ไขกฎเกณฑ์ดังกล่าว จะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติบางรายต้องลดการถือหุ้นและจำกัดสิทธิในการออกเสียงในบริษัทลง และรัฐบาลชุดปัจจุบันได้สนับสนุนและส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แม้จะให้ความมั่นใจว่าไม่ได้ขัดต่อกลไกตลาดเสรี และยังคงต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจต่างชาติส่วนหนึ่งยังคงมีความกังวลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เอดีบี ระบุ