นักวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้ ร่างกฎหมายค้าปลีกที่จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมตรีในวันพรุ่งนี้ (27 มี.ค.) ยังมีข้อบกพร่องอีกมาก โดยเฉพาะการปกป้องผู้ประกอบการรายย่อยของคนไทย รวมทั้งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วย ระบุสินค้าจากจีนเป็นปัญหาที่คุกคามโชวห่วยของไทยมากที่สุดในขณะนี้
นายอัทธ์ พิศาลวนิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่จะมีการนำเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมตรีในวันพรุ่งนี้ (27 มี.ค.) ว่า เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก โดยเฉพาะเป้าหมายที่ต้องการ คือ ปกป้องผู้ประกอบการรายย่อยของคนไทยนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ก็ไม่สามารถทำได้ภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโชวห่วยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีเนื้อหาที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคแต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การควบคุมห้างโมเดิร์นเทรด ซึ่งเมื่อไปเน้นความเข้มงวดในจุดนั้นแล้ว ในที่สุด ซัปพลายเออร์จะกลับมาเป็นเจ้าตลาดอีกครั้ง และผู้บริโภคจะเป็นผู้เสียเปรียบทั้งในเรื่องของราคาสินค้า จำนวนประเภทของสินค้าที่มีให้เลือก และภาวะสินค้าขาดตลาดจะกลับมาอีก
ส่วนข้อบกพร่องอื่นๆ เช่น มุ่งจำกัดธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เป็นการเฉพาะ ไม่มีการกล่าวถึงบทบาท และหน้าที่ของฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ผลิต และเครือข่ายพ่อค้าคนกลาง มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับคณะกรรมการกลาง (กกค.) และกรมการค้าภายใน โดยทับซ้อนกับบทบาทหน้าที่ของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ ให้บริษัทผู้ผลิตร่วมอยู่ใน กกค.เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ผลิต และเครือข่ายพ่อค้าคนกลางอย่างชัดเจน รวมทั้งเป็นการอำนวยให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนร่าง พ.ร.บ.อาจมีผลบังคับย้อนหลัง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป และอาจมีผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจไม่มีการกล่าวถึงมาตรการในการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกรายย่อยให้ชัดเจน ทั้งๆ ที่ให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองร้านค้าปลีกรายย่อยจะมีผลกระทบในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะการลงทุน การจ้างงานการสร้างงานภายในประเทศ และความมั่นใจของนักลงทุนจะมีผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทคู่ค้า ทั้งในด้านการลงทุน สภาพคล่อง และภาวะคุ้มทุน
นอกจากนี้ ปัญหาที่คุกคามโชวห่วยของไทยไม่ใช่โมเดิร์นเทรดที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็นสินค้าที่มีจากประเทศจีน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาถูกมาก และทยอยเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่มีข้อกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้เลย การแก้ปัญหาของร้านโชวห่วยนั้น ควรจะเร่งพัฒนาหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีรับเข้าไปช่วยเหลือ เพราะขณะนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว แม้ว่าจะมีกฎหมายมาจำกัดการขยายตัวของโมเดิร์นเทรด ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้บริโภคจะย้อนกลับไปหาร้านโชวห่วย หากยังไม่สามารถตอบสนองในเรื่องของจำนวนประเภทสินค้าที่หลากหลาย ราคาที่เหมาะสมและความสะดวกอื่นๆ ที่โมเดิร์นเทรดมีให้
นายอัทธ์ ยังกล่าวด้วยว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันไปก่อนที่จะผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะขณะนี้สภาพเศรษฐกิจไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 – 4.5 ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.0 หรือดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ติดลบอยู่ถึงร้อยละ 27.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ซึ่งหากมี พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้ามาอีก จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจให้เลวร้ายลงไปอีก
นายอัทธ์ พิศาลวนิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่จะมีการนำเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมตรีในวันพรุ่งนี้ (27 มี.ค.) ว่า เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก โดยเฉพาะเป้าหมายที่ต้องการ คือ ปกป้องผู้ประกอบการรายย่อยของคนไทยนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ก็ไม่สามารถทำได้ภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโชวห่วยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีเนื้อหาที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคแต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การควบคุมห้างโมเดิร์นเทรด ซึ่งเมื่อไปเน้นความเข้มงวดในจุดนั้นแล้ว ในที่สุด ซัปพลายเออร์จะกลับมาเป็นเจ้าตลาดอีกครั้ง และผู้บริโภคจะเป็นผู้เสียเปรียบทั้งในเรื่องของราคาสินค้า จำนวนประเภทของสินค้าที่มีให้เลือก และภาวะสินค้าขาดตลาดจะกลับมาอีก
ส่วนข้อบกพร่องอื่นๆ เช่น มุ่งจำกัดธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เป็นการเฉพาะ ไม่มีการกล่าวถึงบทบาท และหน้าที่ของฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ผลิต และเครือข่ายพ่อค้าคนกลาง มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับคณะกรรมการกลาง (กกค.) และกรมการค้าภายใน โดยทับซ้อนกับบทบาทหน้าที่ของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ ให้บริษัทผู้ผลิตร่วมอยู่ใน กกค.เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ผลิต และเครือข่ายพ่อค้าคนกลางอย่างชัดเจน รวมทั้งเป็นการอำนวยให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนร่าง พ.ร.บ.อาจมีผลบังคับย้อนหลัง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป และอาจมีผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจไม่มีการกล่าวถึงมาตรการในการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกรายย่อยให้ชัดเจน ทั้งๆ ที่ให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองร้านค้าปลีกรายย่อยจะมีผลกระทบในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะการลงทุน การจ้างงานการสร้างงานภายในประเทศ และความมั่นใจของนักลงทุนจะมีผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทคู่ค้า ทั้งในด้านการลงทุน สภาพคล่อง และภาวะคุ้มทุน
นอกจากนี้ ปัญหาที่คุกคามโชวห่วยของไทยไม่ใช่โมเดิร์นเทรดที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็นสินค้าที่มีจากประเทศจีน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาถูกมาก และทยอยเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่มีข้อกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้เลย การแก้ปัญหาของร้านโชวห่วยนั้น ควรจะเร่งพัฒนาหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีรับเข้าไปช่วยเหลือ เพราะขณะนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว แม้ว่าจะมีกฎหมายมาจำกัดการขยายตัวของโมเดิร์นเทรด ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้บริโภคจะย้อนกลับไปหาร้านโชวห่วย หากยังไม่สามารถตอบสนองในเรื่องของจำนวนประเภทสินค้าที่หลากหลาย ราคาที่เหมาะสมและความสะดวกอื่นๆ ที่โมเดิร์นเทรดมีให้
นายอัทธ์ ยังกล่าวด้วยว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันไปก่อนที่จะผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะขณะนี้สภาพเศรษฐกิจไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 – 4.5 ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.0 หรือดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ติดลบอยู่ถึงร้อยละ 27.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ซึ่งหากมี พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้ามาอีก จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจให้เลวร้ายลงไปอีก