ม.หอการค้าไทย ชี้ การบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ลดลง ซึ่งมีผลทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง เสนอรัฐบาลกระตุ้นการบริโภคของประชาชนผ่านทางสื่อทุกประเภท
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หลังจากมีสัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจยังชะลอตัว เพราะดัชนีต่างๆ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นต่ำสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต่ำกว่าปกติเป็นเดือนที่ 10 ตลอดจนดัชนีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ต่ำลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น หอการค้าไทยจึงเตรียมปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จากปัจจุบันที่ร้อยละ 4-4.5 ประมาณวันที่ 19 เดือนเมษายนนี้ ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับวิกฤตความเชื่อมั่น ตลอดจนยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ซึ่งจะปรับลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 2 รวมถึงการได้รับผลกระทบจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นต่อเนื่อง ทำให้รายได้จากการส่งออกจากการแลกเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทได้น้อยลง
ดังนั้น การชะลอตัวเศรษฐกิจจึงยังมีอยู่และจะฟื้นได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และเห็นว่า จีดีพีไตรมาส 3 จะอยู่ในระดับต่ำสุด จากเดิมที่คาดว่า จุดต่ำสุดจะอยู่ที่ไตรมาส 2 โดยจีดีพีไตรมาส 1 อยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 ส่วนไตรมาส 2 มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเห็นว่า แม้ ธปท.จะลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายดังกล่าวจะไปกระตุ้นการซื้อขายสินค้าในช่วงไตรมาส 3 และคาดว่า ทั้งปีนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นน่าจะลดได้ถึงร้อยละ 1
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หอการค้าไทยยังประเมินการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนไตรมาส 2 สินค้าที่ชะลอลงมาก คือ สินค้าฟุ่มเฟือย ทั้งรถยนต์ ที่อยู่อาศัย อาหารบำรุงสุขภาพ และสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทต่างๆ โดยสินค้าภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไตรมาส 2 จะทรงตัว และชะลอตัวลงมาก ซึ่งผู้ประกอบการยอมรับว่า เป็นผลจากการชะลอตัวของการบริโภค ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งกระตุ้นการบริโภคผ่านสื่อประเภทต่างๆ ทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ขณะนี้ยังประเมินว่าไตรมาส 1 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 34.5-35.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไตรมาส 2 คงไม่แข็งค่ามากนัก
สำหรับพฤติกรรมการบริโภค ประชาชนส่วนใหญ่ยังจับจ่ายใช้สอยที่ห้างค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี คาร์ฟูร์ โลตัส มีสัดส่วนถึงร้อยละ 69.2 ร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 12 ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 16.6 แสดงให้เห็นว่าประชาชนนิยมจับจ่ายใช้สอยกับผู้ประกอบการที่มีการปรับปรุงร้าน หรือห้างทั่วไป เพราะสัดส่วนร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชวห่วย) มีการซื้อขายสินค้าเพียงร้อยละ 2.2
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หลังจากมีสัญญาณทางเศรษฐกิจ ที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจยังชะลอตัว เพราะดัชนีต่างๆ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นต่ำสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต่ำกว่าปกติเป็นเดือนที่ 10 ตลอดจนดัชนีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ต่ำลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น หอการค้าไทยจึงเตรียมปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จากปัจจุบันที่ร้อยละ 4-4.5 ประมาณวันที่ 19 เดือนเมษายนนี้ ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับวิกฤตความเชื่อมั่น ตลอดจนยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ซึ่งจะปรับลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 2 รวมถึงการได้รับผลกระทบจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นต่อเนื่อง ทำให้รายได้จากการส่งออกจากการแลกเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทได้น้อยลง
ดังนั้น การชะลอตัวเศรษฐกิจจึงยังมีอยู่และจะฟื้นได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และเห็นว่า จีดีพีไตรมาส 3 จะอยู่ในระดับต่ำสุด จากเดิมที่คาดว่า จุดต่ำสุดจะอยู่ที่ไตรมาส 2 โดยจีดีพีไตรมาส 1 อยู่ที่ร้อยละ 3.5-4 ส่วนไตรมาส 2 มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเห็นว่า แม้ ธปท.จะลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายดังกล่าวจะไปกระตุ้นการซื้อขายสินค้าในช่วงไตรมาส 3 และคาดว่า ทั้งปีนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นน่าจะลดได้ถึงร้อยละ 1
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หอการค้าไทยยังประเมินการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนไตรมาส 2 สินค้าที่ชะลอลงมาก คือ สินค้าฟุ่มเฟือย ทั้งรถยนต์ ที่อยู่อาศัย อาหารบำรุงสุขภาพ และสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทต่างๆ โดยสินค้าภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไตรมาส 2 จะทรงตัว และชะลอตัวลงมาก ซึ่งผู้ประกอบการยอมรับว่า เป็นผลจากการชะลอตัวของการบริโภค ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งกระตุ้นการบริโภคผ่านสื่อประเภทต่างๆ ทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ขณะนี้ยังประเมินว่าไตรมาส 1 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 34.5-35.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไตรมาส 2 คงไม่แข็งค่ามากนัก
สำหรับพฤติกรรมการบริโภค ประชาชนส่วนใหญ่ยังจับจ่ายใช้สอยที่ห้างค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี คาร์ฟูร์ โลตัส มีสัดส่วนถึงร้อยละ 69.2 ร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 12 ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 16.6 แสดงให้เห็นว่าประชาชนนิยมจับจ่ายใช้สอยกับผู้ประกอบการที่มีการปรับปรุงร้าน หรือห้างทั่วไป เพราะสัดส่วนร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชวห่วย) มีการซื้อขายสินค้าเพียงร้อยละ 2.2