"เฉลิม อยู่วิทยา" ชูนโยบายลุย 3 ธุรกิจ ชูกำลัง- ทีมรถแข่งฟอร์มูล่าวัน - อุตฯไวน์ไทย สร้างชื่อติดอันดับโลก ระบุก้างชิ้นใหญ่ พ.ร.บ.คุมน้ำเมา-การจัดเก็บภาษีไวน์ 200% เล่นงานไวน์ไทยเสียเปรียบ เดินหน้าสานฝัน เร่งสร้างความเชื่อมั่นแก้พฤติกรรมคนไทยดื่มไวน์นอก ส่งไวน์มอนซูน แวลลี่ย์ ลุยต่างประเทศ อาศัยเครือข่ายเรดบูลทำตลาด สิ้นปีกลุ่มไวน์โต 30% โกยยอด 3.9 หมื่นขวด

นายเฉลิม อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไวน์เนอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไวน์ มอนซูน แวลลี่ย์ และสปาย ไวน์ คูลเลอร์ เปิดเผยว่า จุดมุ่งหมายของการทำธุรกิจตระกูล"อยู่วิทยา" ที่วางเป้าหมายไว้มีทั้งหมด 3 ธุรกิจ คือ การทำเครื่องดื่มชูกำลังเรดบูลหรือกระทิงแดง ให้โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งประสบความสำเร็จไปแล้วในระดับหนึ่ง ส่วนจุดมุ่งหมายที่ สอง คือ อยากสร้างทีมรถแข่งฟอร์มูล่าวันภายใต้ชื่อ"เรนโบว์"ได้รับชัยชนะในสนามแข่งในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ และธุรกิจสุดท้ายที่ท้าทายความสามารถมากที่สุด คือ การสร้างอุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิดให้ได้ และเป็นที่รู้จักในทั่วโลกเช่นเดียวกับเครื่องดื่มชูกำลัง
"เป้าหมายของการผลักดันอุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิด เพราะมองว่าไวน์น่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคไทย ขณะเดียวก็สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย และแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะไม่ค่อยดีในขณะนี้ แต่บริษัทก็ไม่ได้มีการชะลอการลงทุน เพราะมั่นใจว่าอุตฯ ไวน์จะเกิดขึ้นได้"
สำหรับการตลาดเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไวน์ให้แจ้งเกิดในไทย สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ ภาครัฐจะต้องลดภาษีการผลิตไวน์ภายในประเทศลดลง ซึ่งคิดในอัตราการ 200% นับว่าเป็นภาษีไวน์ที่สูงที่สุดในโลก ในขณะที่ไวน์นำเข้าสามารถแจ้งต้นทุนต่ำ เพื่อเลี่ยงในการจัดเก็บภาษีที่สูง ปัจจัยดังกล่าวทำให้ไวน์ไทยไม่สามารถแข่งขันราคากับไวน์นำเข้าได้ ซึ่งไวน์ออสเตรเลียแจ้งเกิดได้ เพราะภาครัฐไม่ได้มีการจัดเก็บภาษี โดยล่าสุดฮ่องกงกำลังจะลดภาษีไวน์จาก 80% เป็น 40%
ชี้พ.ร.บ.ก้างชิ้นใหญ่บูมอุตฯไวน์
ส่วนกรณีการมีพ.ร.บ.การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มองว่าจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งสำหรับการผลักดันให้อุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิดเช่นกัน เพราะการออกมาควบคุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การห้ามแม้กระทั่งใช้ชื่อบริษัท จะทำให้อุตสาหกรรมบางอย่างไม่โต สิ่งสำคัญที่สุดที่ภาครัฐจะต้องทำ คือ การนำกฎหมายที่มีอยู่มาบังคับใช้ และรณรงค์ให้ความรู้
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในเอเชียให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยพบว่า สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน ผลิตไวน์คิดเป็น 30% ในภูมิภาคนี้ ดังนั้นมองว่าวิธีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นตามปริมาณดีกรี หรือกระทั่งการมีมาตรการต่างๆหนักเบาตามปริมาณดีกรี ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ประเทศอินเดียใช้อยู่น่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิดได้
ขณะนี้อุตฯไวน์อินเดียก้าวหน้าไปไกลกว่าประเทศไทยไป 5-6 ปี ส่วนตลาดไวน์ไทยมีตัวเลขในเชิงปริมาณกว่า 8 แสนขวดเท่านั้น ซึ่งอัตราการบริโภคของคนไทยราว 0.1 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนประเทศเพื่อนบ้านสัดส่วน 0.3 ลิตรต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับฝรั่งเศส 50 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่พื้นที่การปลูกองุ่นในไทยเฉพาะ 3 จังหวัด สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม มี 2.5 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นของบริษัท 1,000 ไร่
"สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ คือ อุตสาหกรรมไวน์สร้างรายได้มหาศาล โดยเฉพาะภาคเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ตอนนี้ผมไม่ได้ตั้งเป้าว่าอีกกี่อุตฯ ไวน์ถึงจะเกิด เพราะนโยบายจากทางภาครัฐเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"
เปิดแผนดันไวน์ไทยแจ้งเกิด
นายเฉลิม กล่าวถึงแผนการสร้างตลาดไวน์ไทยภายในประเทศว่า ต้องมุ่งเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นไวน์ไทยกับผู้บริโภคไทยให้ได้ก่อน เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยนิยมดื่มไวน์นำเข้าจากต่างประเทศมากกว่า ดังนั้นการที่จะทำให้คนไทยยอมรับสินค้าไทยได้ก่อน คือ การสร้างไวน์ไทยในตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทส่งออกไวน์ไทยภายใต้แบรนด์"มอนซูน แวลลี่ย์" ไปยังประเทศ ญี่ปุ่น ลาว เขมร ฮ่องกง สิงคโปร์ ซึ่งแผนขยายตลาดบริษัทอาศัยเครือข่ายเครื่องดื่มชูกำลังเรดบูลในการจัดจำหน่าย รวมทั้งช่องทางร้านอาหาร ผับ บาร์ โดยโมเดลดังกล่าวนำร่อง ที่ประเทศอังกฤษ และขณะนี้กำลังวางแผนขยายตลาดไปยังสแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันออกกลาง
"อาหารไทยกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับทำตลาดไวน์ไทย เพราะพฤติกรรมการดื่มไวน์มักจะควบคู่กับการกินอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนยังนำไวน์มาปรุงอาหาร เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่นำสาเกมาปรุงอาหารถึง 60%"
ปูพรมสร้างพฤติกรรมดื่มไวน์
นายเฉลิม กล่าวถึงการสร้างพฤติกรรมการดื่มไวน์ให้กับคนไทยว่า บริษัทได้เปิดตัวสปาย ไวน์ คูลเลอร์ในปี 2529 เครื่องดื่มที่มีพื้นฐานมาจากไวน์และมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อ่อนๆ กับสมุนไพรไทย ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวและเหมาะกับลิ้นคนไทยและภูมิอากาศร้อนอบอ้าว นี่ถือว่าได้เป็นกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดประสาทการรับรู้รสคนไทยไปสู่การรับรู้รสชาติไวน์ ขณะนี้คนไทยดื่มไวน์ในระดับหนึ่งเท่านั้น และยังจำกัดอยู่ในวงแคบ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาสูง
นายคิม ว๊าซไฟท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท สยาม ไวเนอรี่ จำกัด กล่าวเสริมว่า ในตลาดต่างประเทศขณะนี้ไวน์ คูลเลอร์ กำลังเป็นเครื่องดื่มเริ่มได้รับความนิยม โดยเทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ที่ ผ่านมานี้ ซึ่งบริษัทดิอาจิโอ ฯ ได้เปิดตัวเครื่องดื่มไวน์ คูลเลอร์ในบางประเทศแล้ว ล่าสุดได้ส่งออกไวน์คูลเลอร์สบายรสชาติใหม่ ผสมทับทิมไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อรองรับกับกระแสสุขภาพที่มาแรง ขณะที่ภายในประเทศกำลังวางแผนขยายช่องทางจำหน่ายไวน์ เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันช่องทางหลักเป็นโรงแรมระดับ 5ดาว ส่วนระดับ 3-4 ดาวยังมีน้อย ซึ่งคู่แข่งสำคัญคือไวน์ราคาถูก 2 ลิตร ราคา 400 บาท และมีอัตราการเติบโตถึง 30-40%
สำหรับตลาดไวน์คูลเลอร์กับอาร์ทีดีมูลค่า 3,000 ล้านบาท คาดว่าตลาดไวน์คูลเลอร์ จะมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว โดยปัจจุบันสปาย ไวน์ คูลเลอร์ เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 95% ที่เหลือ 5% เป็นคูลเลอร์ คลับ ผลประกอบการปีนี้ตั้งเป้าไวน์ มีอัตราการเติบโต 30% แบ่งเป็น ในต่างประเทศ 3 แสนขวด และในประเทศ 9 หมื่นขวด ส่วนสปาย ไวน์ คูลเลอร์ ตั้งเป้าเติบโต 10% แบ่งเป็น ยอดขายสปาย ไวน์ คูลเลอร์ในต่างประเทศ 60ล้านขวด และประเทศ 80ล้านขวด สำหรับในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ยอดขายภายในประเทศมีอัตราการเติบโต 74% และต่างประเทศโต 23%
นายเฉลิม อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไวน์เนอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไวน์ มอนซูน แวลลี่ย์ และสปาย ไวน์ คูลเลอร์ เปิดเผยว่า จุดมุ่งหมายของการทำธุรกิจตระกูล"อยู่วิทยา" ที่วางเป้าหมายไว้มีทั้งหมด 3 ธุรกิจ คือ การทำเครื่องดื่มชูกำลังเรดบูลหรือกระทิงแดง ให้โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งประสบความสำเร็จไปแล้วในระดับหนึ่ง ส่วนจุดมุ่งหมายที่ สอง คือ อยากสร้างทีมรถแข่งฟอร์มูล่าวันภายใต้ชื่อ"เรนโบว์"ได้รับชัยชนะในสนามแข่งในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ และธุรกิจสุดท้ายที่ท้าทายความสามารถมากที่สุด คือ การสร้างอุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิดให้ได้ และเป็นที่รู้จักในทั่วโลกเช่นเดียวกับเครื่องดื่มชูกำลัง
"เป้าหมายของการผลักดันอุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิด เพราะมองว่าไวน์น่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคไทย ขณะเดียวก็สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย และแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะไม่ค่อยดีในขณะนี้ แต่บริษัทก็ไม่ได้มีการชะลอการลงทุน เพราะมั่นใจว่าอุตฯ ไวน์จะเกิดขึ้นได้"
สำหรับการตลาดเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไวน์ให้แจ้งเกิดในไทย สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ ภาครัฐจะต้องลดภาษีการผลิตไวน์ภายในประเทศลดลง ซึ่งคิดในอัตราการ 200% นับว่าเป็นภาษีไวน์ที่สูงที่สุดในโลก ในขณะที่ไวน์นำเข้าสามารถแจ้งต้นทุนต่ำ เพื่อเลี่ยงในการจัดเก็บภาษีที่สูง ปัจจัยดังกล่าวทำให้ไวน์ไทยไม่สามารถแข่งขันราคากับไวน์นำเข้าได้ ซึ่งไวน์ออสเตรเลียแจ้งเกิดได้ เพราะภาครัฐไม่ได้มีการจัดเก็บภาษี โดยล่าสุดฮ่องกงกำลังจะลดภาษีไวน์จาก 80% เป็น 40%
ชี้พ.ร.บ.ก้างชิ้นใหญ่บูมอุตฯไวน์
ส่วนกรณีการมีพ.ร.บ.การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มองว่าจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งสำหรับการผลักดันให้อุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิดเช่นกัน เพราะการออกมาควบคุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การห้ามแม้กระทั่งใช้ชื่อบริษัท จะทำให้อุตสาหกรรมบางอย่างไม่โต สิ่งสำคัญที่สุดที่ภาครัฐจะต้องทำ คือ การนำกฎหมายที่มีอยู่มาบังคับใช้ และรณรงค์ให้ความรู้
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในเอเชียให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยพบว่า สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน ผลิตไวน์คิดเป็น 30% ในภูมิภาคนี้ ดังนั้นมองว่าวิธีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นตามปริมาณดีกรี หรือกระทั่งการมีมาตรการต่างๆหนักเบาตามปริมาณดีกรี ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ประเทศอินเดียใช้อยู่น่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมไวน์ไทยแจ้งเกิดได้
ขณะนี้อุตฯไวน์อินเดียก้าวหน้าไปไกลกว่าประเทศไทยไป 5-6 ปี ส่วนตลาดไวน์ไทยมีตัวเลขในเชิงปริมาณกว่า 8 แสนขวดเท่านั้น ซึ่งอัตราการบริโภคของคนไทยราว 0.1 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนประเทศเพื่อนบ้านสัดส่วน 0.3 ลิตรต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับฝรั่งเศส 50 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่พื้นที่การปลูกองุ่นในไทยเฉพาะ 3 จังหวัด สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม มี 2.5 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นของบริษัท 1,000 ไร่
"สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ คือ อุตสาหกรรมไวน์สร้างรายได้มหาศาล โดยเฉพาะภาคเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ตอนนี้ผมไม่ได้ตั้งเป้าว่าอีกกี่อุตฯ ไวน์ถึงจะเกิด เพราะนโยบายจากทางภาครัฐเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"
เปิดแผนดันไวน์ไทยแจ้งเกิด
นายเฉลิม กล่าวถึงแผนการสร้างตลาดไวน์ไทยภายในประเทศว่า ต้องมุ่งเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นไวน์ไทยกับผู้บริโภคไทยให้ได้ก่อน เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยนิยมดื่มไวน์นำเข้าจากต่างประเทศมากกว่า ดังนั้นการที่จะทำให้คนไทยยอมรับสินค้าไทยได้ก่อน คือ การสร้างไวน์ไทยในตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทส่งออกไวน์ไทยภายใต้แบรนด์"มอนซูน แวลลี่ย์" ไปยังประเทศ ญี่ปุ่น ลาว เขมร ฮ่องกง สิงคโปร์ ซึ่งแผนขยายตลาดบริษัทอาศัยเครือข่ายเครื่องดื่มชูกำลังเรดบูลในการจัดจำหน่าย รวมทั้งช่องทางร้านอาหาร ผับ บาร์ โดยโมเดลดังกล่าวนำร่อง ที่ประเทศอังกฤษ และขณะนี้กำลังวางแผนขยายตลาดไปยังสแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันออกกลาง
"อาหารไทยกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับทำตลาดไวน์ไทย เพราะพฤติกรรมการดื่มไวน์มักจะควบคู่กับการกินอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนยังนำไวน์มาปรุงอาหาร เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่นำสาเกมาปรุงอาหารถึง 60%"
ปูพรมสร้างพฤติกรรมดื่มไวน์
นายเฉลิม กล่าวถึงการสร้างพฤติกรรมการดื่มไวน์ให้กับคนไทยว่า บริษัทได้เปิดตัวสปาย ไวน์ คูลเลอร์ในปี 2529 เครื่องดื่มที่มีพื้นฐานมาจากไวน์และมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อ่อนๆ กับสมุนไพรไทย ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวและเหมาะกับลิ้นคนไทยและภูมิอากาศร้อนอบอ้าว นี่ถือว่าได้เป็นกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดประสาทการรับรู้รสคนไทยไปสู่การรับรู้รสชาติไวน์ ขณะนี้คนไทยดื่มไวน์ในระดับหนึ่งเท่านั้น และยังจำกัดอยู่ในวงแคบ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาสูง
นายคิม ว๊าซไฟท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท สยาม ไวเนอรี่ จำกัด กล่าวเสริมว่า ในตลาดต่างประเทศขณะนี้ไวน์ คูลเลอร์ กำลังเป็นเครื่องดื่มเริ่มได้รับความนิยม โดยเทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ที่ ผ่านมานี้ ซึ่งบริษัทดิอาจิโอ ฯ ได้เปิดตัวเครื่องดื่มไวน์ คูลเลอร์ในบางประเทศแล้ว ล่าสุดได้ส่งออกไวน์คูลเลอร์สบายรสชาติใหม่ ผสมทับทิมไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อรองรับกับกระแสสุขภาพที่มาแรง ขณะที่ภายในประเทศกำลังวางแผนขยายช่องทางจำหน่ายไวน์ เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันช่องทางหลักเป็นโรงแรมระดับ 5ดาว ส่วนระดับ 3-4 ดาวยังมีน้อย ซึ่งคู่แข่งสำคัญคือไวน์ราคาถูก 2 ลิตร ราคา 400 บาท และมีอัตราการเติบโตถึง 30-40%
สำหรับตลาดไวน์คูลเลอร์กับอาร์ทีดีมูลค่า 3,000 ล้านบาท คาดว่าตลาดไวน์คูลเลอร์ จะมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว โดยปัจจุบันสปาย ไวน์ คูลเลอร์ เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 95% ที่เหลือ 5% เป็นคูลเลอร์ คลับ ผลประกอบการปีนี้ตั้งเป้าไวน์ มีอัตราการเติบโต 30% แบ่งเป็น ในต่างประเทศ 3 แสนขวด และในประเทศ 9 หมื่นขวด ส่วนสปาย ไวน์ คูลเลอร์ ตั้งเป้าเติบโต 10% แบ่งเป็น ยอดขายสปาย ไวน์ คูลเลอร์ในต่างประเทศ 60ล้านขวด และประเทศ 80ล้านขวด สำหรับในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ยอดขายภายในประเทศมีอัตราการเติบโต 74% และต่างประเทศโต 23%