กระทรวงพลังงาน ยืนยันจะจัดรับฟังความคิดเห็นการทำแผนพีดีพีครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายแน่นอน แจงตัวเลขโรงไฟฟ้าใหม่ 1,400 เมกะวัตต์ เหมาะสม พร้อมคาดโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะเข้าระบบรวม 1,100-1,200 เมกะวัตต์ ภายใน 15 ปีข้างหน้า
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 มีนาคมนี้ สนพ.ได้จัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเปิดรับซื้อจากผู้ผลิตที่ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป โดยคาดว่าน่าจะได้ไฟฟ้าจากส่วนนี้ รวมประมาณ 500 เมกะวัตต์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะมีต้นทุนสูงกว่าเชื้อเพลิงทั่วไป ดังนั้น กระทรวงพลังงานจะจัดสรรเงินส่วนเพิ่ม (adder) ให้โดยจะอ้างอิงจากการรับซื้อไฟฟ้าในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (วีเอสพีพี) ที่กำหนดมีส่วนเพิ่มจากขยะ 2.50 บาท/หน่วย ส่วนเพิ่มจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ (น้ำ, ไบโอแมส) ประมาณ 0.30 บาท/หน่วย โดยจะเปิดให้เอกชนเสนอประมูล หากมีข้อเสนอส่วนเพิ่มต่ำที่สุด และมีข้อเสนอทางเทคนิคที่ดี ก็จะได้รับการคัดเลือก
ทั้งนี้ หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว สนพ.จะสรุปความเห็นเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในปลายเดือนนี้ และจะประกาศรับซื้อในเวลาใกล้เคียงกับเอสพีพี พลังความร้อนร่วม 1,700 เมกะวัตต์ ให้ได้ในปลายเดือนมีนาคมนี้ หลังจากนั้น เดือนเมษายนนี้ก็จะมีการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากไอพีพี หรือผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ต่อไป คาดว่าจะรับซื้อประมาณ 3,000 เมกะวัตต์
นายวีระพล กล่าวว่า หลังจากเปิดรับฟังความเห็นกลุ่มย่อยในเรื่องการทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี (พีดีพี 2007) มาหลายครั้งแล้ว ทางกระทรวงเห็นว่ายังจำเป็นต้องจัดรับฟังครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายแน่นอน ในขณะนี้กำลังหาสถานที่และวันเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังความเห็นมาหลายครั้ง มีข้อเสนอแนะในเรื่องการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน โดยทางกระทรวงก็ขอยืนยันว่า ได้มีการบรรจุเรื่องเหล่านี้อยู่ในแผนแล้ว และการทำแผนได้ยึดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่า จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5-5.5 และการจัดทำตัวเลขว่าจะมีอัตราการใช้ไฟฟ้า 1,400 เมกะวัตต์/ปี นับเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยขณะนี้มีกลุ่มองค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) เสนอว่า ควรจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพียง 1,200 เมกะวัตต์ /ปี ซึ่งกระทรวงก็พร้อมรับฟัง เพียงแต่ขอให้มีข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนว่า คำนวณจากอะไร จีดีพีเป็นอย่างไร เพราะหากในอนาคตไฟฟ้าขาดแคลน ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ การจัดทำแผนพีดีพี จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
“แผนพีดีพี 2007 คาดว่า จะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 1,100-1,200 เมกะวัตต์ ซึ่งหากมีการผลิตไฟฟ้ามากกว่านี้ กระทรวงพลังงานก็พร้อมรับซื้อและขยายการผลิตเพิ่ม แต่ที่ประมาณการไว้แค่นี้ เพราะทราบดีว่า พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถสร้างเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้เหมือนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล” นายวีระพล กล่าว
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 มีนาคมนี้ สนพ.ได้จัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเปิดรับซื้อจากผู้ผลิตที่ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป โดยคาดว่าน่าจะได้ไฟฟ้าจากส่วนนี้ รวมประมาณ 500 เมกะวัตต์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะมีต้นทุนสูงกว่าเชื้อเพลิงทั่วไป ดังนั้น กระทรวงพลังงานจะจัดสรรเงินส่วนเพิ่ม (adder) ให้โดยจะอ้างอิงจากการรับซื้อไฟฟ้าในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (วีเอสพีพี) ที่กำหนดมีส่วนเพิ่มจากขยะ 2.50 บาท/หน่วย ส่วนเพิ่มจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ (น้ำ, ไบโอแมส) ประมาณ 0.30 บาท/หน่วย โดยจะเปิดให้เอกชนเสนอประมูล หากมีข้อเสนอส่วนเพิ่มต่ำที่สุด และมีข้อเสนอทางเทคนิคที่ดี ก็จะได้รับการคัดเลือก
ทั้งนี้ หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว สนพ.จะสรุปความเห็นเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ในปลายเดือนนี้ และจะประกาศรับซื้อในเวลาใกล้เคียงกับเอสพีพี พลังความร้อนร่วม 1,700 เมกะวัตต์ ให้ได้ในปลายเดือนมีนาคมนี้ หลังจากนั้น เดือนเมษายนนี้ก็จะมีการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากไอพีพี หรือผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ต่อไป คาดว่าจะรับซื้อประมาณ 3,000 เมกะวัตต์
นายวีระพล กล่าวว่า หลังจากเปิดรับฟังความเห็นกลุ่มย่อยในเรื่องการทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี (พีดีพี 2007) มาหลายครั้งแล้ว ทางกระทรวงเห็นว่ายังจำเป็นต้องจัดรับฟังครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายแน่นอน ในขณะนี้กำลังหาสถานที่และวันเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังความเห็นมาหลายครั้ง มีข้อเสนอแนะในเรื่องการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน โดยทางกระทรวงก็ขอยืนยันว่า ได้มีการบรรจุเรื่องเหล่านี้อยู่ในแผนแล้ว และการทำแผนได้ยึดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่า จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5-5.5 และการจัดทำตัวเลขว่าจะมีอัตราการใช้ไฟฟ้า 1,400 เมกะวัตต์/ปี นับเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยขณะนี้มีกลุ่มองค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) เสนอว่า ควรจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพียง 1,200 เมกะวัตต์ /ปี ซึ่งกระทรวงก็พร้อมรับฟัง เพียงแต่ขอให้มีข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนว่า คำนวณจากอะไร จีดีพีเป็นอย่างไร เพราะหากในอนาคตไฟฟ้าขาดแคลน ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ การจัดทำแผนพีดีพี จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
“แผนพีดีพี 2007 คาดว่า จะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 1,100-1,200 เมกะวัตต์ ซึ่งหากมีการผลิตไฟฟ้ามากกว่านี้ กระทรวงพลังงานก็พร้อมรับซื้อและขยายการผลิตเพิ่ม แต่ที่ประมาณการไว้แค่นี้ เพราะทราบดีว่า พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถสร้างเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้เหมือนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล” นายวีระพล กล่าว