ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อคิดเห็นในประเด็นการเปิดให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมดังนี้
1. ความล่าช้าในการให้ใบอนุญาตใหม่อันเนื่องมาจากการไม่มีองค์กรอิสระเข้ามาดูแลการให้ใบอนุญาตนั้น ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการใช้คลื่นความถี่ให้กับประเทศอื่น ในขณะที่การแพร่ภาพออกอากาศนั้นได้ผ่านสัญญาณคลื่นเข้ามาให้บริการในประเทศ หากผู้ประกอบการสามารถให้บริการโดยผ่านการส่งสัญญาณจากในประเทศได้แล้ว รัฐจะมีรายได้จากการเปิดสัมปทานคลื่นใหม่เข้ามาและเพื่อไม่ให้เป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด
2. การที่ผู้ให้บริการไปใช้ใบอนุญาตประกอบการจากประเทศอื่นนั้น ทำให้การกลั่นกรองเนื้อหาของรายการทำได้ยาก ซึ่งการกลั่นกรองรายการในที่นี้หมายถึงการจัดให้มีรายการที่สอดคล้องกับสังคม ศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งการเปิดให้บริการในประเทศอื่นนั้นทำให้หน่วยงานของไทยไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า แนวโน้มการเติบโตของการให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลนั้น ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ทั้งนี้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนั้นได้ทำให้ต้นทุนในการให้บริการมีแนวโน้มต่ำลง ในขณะเดียวกับผู้ให้บริการเองก็มีความต้องการที่จะขยายบริการหรือเพิ่มช่องสัญญาณขึ้นอีก
นอกจากนี้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้รูปแบบของการออกอากาศมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น IPTV (internet protocol TV) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile TV) ซึ่งนับเป็นเทรนด์การออกอากาศที่น่าจับตามอง เพราะมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนผู้ใช้บริการสื่อเหล่านั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ต้องเข้ามารับผิดชอบในการใช้สื่อต่างๆ และต้องเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านกฎระเบียบที่จะเข้ามาควบคุมและจัดระเบียบการให้บริการให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะพัฒนาให้การนำทรัพยากรคลื่นความถี่ไปใช้อย่างเกิดประโยชน์ต่างๆ ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ เช่น ทำให้เกิดการพัฒนาบริการใหม่ๆ ส่งเสริมให้ตลาดโทรทัศน์มีการแข่งขันมากขึ้น มีการใช้คลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ต้นทุนในการแพร่ภาพของผู้ประกอบการในระยะยาวลดลง และรัฐมีรายได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ เป็นต้น
สำหรับความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจของทีวีดาวเทียมนั้น แม้ว่าจะมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงเมื่อเทคโนโลยีใหม่นั้นทำให้การลงทุนในการให้บริการลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นธุรกิจโทรทัศน์อยู่ก่อนแล้ว โดยต้องลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการเดิมจากระบบอนาล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล หรือการลงทุนในเครื่องมือออกอากาศ การสร้างสตูดิโอในผลิตรายการ การพัฒนาคอนเทนท์หรือเนื้อหา
ในขณะเดียวกันผู้รับชมก็ต้องมีการซื้อเครื่องมือในการรับสัญญาณเพิ่มเติม ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของจานดาวเทียมเพื่อรับสัญญาณออกอากาศ ในลักษณะ DTH (Direct to Home) ซึ่งในปัจจุบันนั้นยังจัดว่ามีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของครัวเรือนไทย ทำให้มีข้อจำกัดในการขยายจำนวนผู้ชม ซึ่งในเรื่องของจำนวนผู้ชมหรือการเข้าถึงบริการนั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะมีผลต่อเนื่องไปยังรายได้ที่กลับมาในรูปของค่าโฆษณาที่จะเป็นรายได้ของสถานีให้สามารถผลิตรายการออกอากาศได้อย่างต่อเนื่อง
ในกรณีของประเทศไทยนั้น กระบวนการในการเปิดให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมอย่างถูกกฎหมายนั้น มีความยากลำบากหลากหลายขั้นตอน เนื่องมาจากการยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการ กสช. ที่เป็นหน่วยงานหลักในการเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ การออกใบอนุญาตใหม่ และการจัดระเบียบการใช้คลื่นโดยเทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การให้บริการกิจการโทรทัศน์ของไทยนั้นอยู่ในลักษณะที่มีการแข่งขันน้อยราย
โดยเฉพาะกิจการฟรีทีวีของเอกชน ซึ่งมีเพียง 2 รายใหญ่คือ ช่อง 3 และ ช่อง 7 ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง ร้อยละ 50 (คิดจากมูลค่าโฆษณาที่ใช้ผ่านทางโทรทัศน์ในปี 2549) ทำให้ความหลากหลายของรายการที่นำเสนอนั้นมีจำนวนไม่มากนัก ในขณะที่การให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกในระดับประเทศนั้นก็มีแนวโน้มผูกขาดให้บริการเพียงรายใหญ่รายเดียวและมีค่าบริการค่อนข้างสูง ในขณะที่ธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิกในระดับท้องถิ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการขนาดเล็กมีเงินทุนในการทำธุรกิจน้อย ทำให้ความหลากหลายในการเสนอรายการค่อนข้างน้อยและมักจะประสบกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เสมอ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ในการจัดระเบียบของธุรกิจสื่อโทรทัศน์นั้นยังมียุ่งยากซับซ้อนค่อนข้างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการออกอากาศได้รับการพัฒนาขึ้น การหลอมรวมของสื่อหลายหลายชนิดทั้งในด้านการหลอมรวมในระดับเครื่องมือที่ใช้ในการออกอากาศ และเนื้อหารายการ มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้การควบคุมเพื่อให้การใช้สื่อนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาประเทศ การเสริมสร้างวัฒธรรม จริยธรรม การเป็นสื่อกลางในการนำเสนอข่าวสารของประเทศทำได้อย่างจำกัด ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคสื่อน้อยอันเนื่องมาจากการแข่งขันของสื่อโทรทัศน์ในประเทศมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นและมีปัญหาการละเมิดหรือการใช้สื่อโดยผิดกฎหมายอยู่เสมอ ก็ทำให้มีความจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาถึงแนวทางเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยที่รัฐเองก็มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้คลื่น ส่งเสริมการพัฒนาให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างทางเลือกให้กับผู้ชมมากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
1. ความล่าช้าในการให้ใบอนุญาตใหม่อันเนื่องมาจากการไม่มีองค์กรอิสระเข้ามาดูแลการให้ใบอนุญาตนั้น ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการใช้คลื่นความถี่ให้กับประเทศอื่น ในขณะที่การแพร่ภาพออกอากาศนั้นได้ผ่านสัญญาณคลื่นเข้ามาให้บริการในประเทศ หากผู้ประกอบการสามารถให้บริการโดยผ่านการส่งสัญญาณจากในประเทศได้แล้ว รัฐจะมีรายได้จากการเปิดสัมปทานคลื่นใหม่เข้ามาและเพื่อไม่ให้เป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด
2. การที่ผู้ให้บริการไปใช้ใบอนุญาตประกอบการจากประเทศอื่นนั้น ทำให้การกลั่นกรองเนื้อหาของรายการทำได้ยาก ซึ่งการกลั่นกรองรายการในที่นี้หมายถึงการจัดให้มีรายการที่สอดคล้องกับสังคม ศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งการเปิดให้บริการในประเทศอื่นนั้นทำให้หน่วยงานของไทยไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า แนวโน้มการเติบโตของการให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลนั้น ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ทั้งนี้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนั้นได้ทำให้ต้นทุนในการให้บริการมีแนวโน้มต่ำลง ในขณะเดียวกับผู้ให้บริการเองก็มีความต้องการที่จะขยายบริการหรือเพิ่มช่องสัญญาณขึ้นอีก
นอกจากนี้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้รูปแบบของการออกอากาศมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น IPTV (internet protocol TV) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile TV) ซึ่งนับเป็นเทรนด์การออกอากาศที่น่าจับตามอง เพราะมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนผู้ใช้บริการสื่อเหล่านั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ต้องเข้ามารับผิดชอบในการใช้สื่อต่างๆ และต้องเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านกฎระเบียบที่จะเข้ามาควบคุมและจัดระเบียบการให้บริการให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะพัฒนาให้การนำทรัพยากรคลื่นความถี่ไปใช้อย่างเกิดประโยชน์ต่างๆ ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ เช่น ทำให้เกิดการพัฒนาบริการใหม่ๆ ส่งเสริมให้ตลาดโทรทัศน์มีการแข่งขันมากขึ้น มีการใช้คลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ต้นทุนในการแพร่ภาพของผู้ประกอบการในระยะยาวลดลง และรัฐมีรายได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ เป็นต้น
สำหรับความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจของทีวีดาวเทียมนั้น แม้ว่าจะมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงเมื่อเทคโนโลยีใหม่นั้นทำให้การลงทุนในการให้บริการลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นธุรกิจโทรทัศน์อยู่ก่อนแล้ว โดยต้องลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการเดิมจากระบบอนาล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล หรือการลงทุนในเครื่องมือออกอากาศ การสร้างสตูดิโอในผลิตรายการ การพัฒนาคอนเทนท์หรือเนื้อหา
ในขณะเดียวกันผู้รับชมก็ต้องมีการซื้อเครื่องมือในการรับสัญญาณเพิ่มเติม ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของจานดาวเทียมเพื่อรับสัญญาณออกอากาศ ในลักษณะ DTH (Direct to Home) ซึ่งในปัจจุบันนั้นยังจัดว่ามีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของครัวเรือนไทย ทำให้มีข้อจำกัดในการขยายจำนวนผู้ชม ซึ่งในเรื่องของจำนวนผู้ชมหรือการเข้าถึงบริการนั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะมีผลต่อเนื่องไปยังรายได้ที่กลับมาในรูปของค่าโฆษณาที่จะเป็นรายได้ของสถานีให้สามารถผลิตรายการออกอากาศได้อย่างต่อเนื่อง
ในกรณีของประเทศไทยนั้น กระบวนการในการเปิดให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมอย่างถูกกฎหมายนั้น มีความยากลำบากหลากหลายขั้นตอน เนื่องมาจากการยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการ กสช. ที่เป็นหน่วยงานหลักในการเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ การออกใบอนุญาตใหม่ และการจัดระเบียบการใช้คลื่นโดยเทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การให้บริการกิจการโทรทัศน์ของไทยนั้นอยู่ในลักษณะที่มีการแข่งขันน้อยราย
โดยเฉพาะกิจการฟรีทีวีของเอกชน ซึ่งมีเพียง 2 รายใหญ่คือ ช่อง 3 และ ช่อง 7 ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง ร้อยละ 50 (คิดจากมูลค่าโฆษณาที่ใช้ผ่านทางโทรทัศน์ในปี 2549) ทำให้ความหลากหลายของรายการที่นำเสนอนั้นมีจำนวนไม่มากนัก ในขณะที่การให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกในระดับประเทศนั้นก็มีแนวโน้มผูกขาดให้บริการเพียงรายใหญ่รายเดียวและมีค่าบริการค่อนข้างสูง ในขณะที่ธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิกในระดับท้องถิ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการขนาดเล็กมีเงินทุนในการทำธุรกิจน้อย ทำให้ความหลากหลายในการเสนอรายการค่อนข้างน้อยและมักจะประสบกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เสมอ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ในการจัดระเบียบของธุรกิจสื่อโทรทัศน์นั้นยังมียุ่งยากซับซ้อนค่อนข้างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการออกอากาศได้รับการพัฒนาขึ้น การหลอมรวมของสื่อหลายหลายชนิดทั้งในด้านการหลอมรวมในระดับเครื่องมือที่ใช้ในการออกอากาศ และเนื้อหารายการ มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้การควบคุมเพื่อให้การใช้สื่อนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาประเทศ การเสริมสร้างวัฒธรรม จริยธรรม การเป็นสื่อกลางในการนำเสนอข่าวสารของประเทศทำได้อย่างจำกัด ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคสื่อน้อยอันเนื่องมาจากการแข่งขันของสื่อโทรทัศน์ในประเทศมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นและมีปัญหาการละเมิดหรือการใช้สื่อโดยผิดกฎหมายอยู่เสมอ ก็ทำให้มีความจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาถึงแนวทางเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยที่รัฐเองก็มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้คลื่น ส่งเสริมการพัฒนาให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างทางเลือกให้กับผู้ชมมากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้