การพัฒนาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ธุรกิจแพร่ภาพโทรทัศน์มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตของธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา รัศมีของสัญญาณดาวเทียมสามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ครอบคลุมหลายพื้นที่ โดยผู้ลงทุนไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งเสาสัญญาณ เพียงพัฒนาเนื้อหาหรือรายการที่ออกอากาศ และขอใบอนุญาตส่งสัญญาณโทรทัศน์ ก็สามารถให้บริการได้ ซึ่งในปัจจุบันมีธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมออกอากาศทั่วโลกจำนวนมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐ สำหรับในประเทศไทยเองก็มีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจที่จะเปิดให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มสื่อขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจโทรทัศน์ออกอากาศอยู่แล้วและกลุ่มผู้ผลิตคอนเทนท์หรือเนื้อหาพร้อมให้บริการ อย่างไรก็ตามการให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยนั้นยังติดขัดปัญหาทางด้านระเบียบในการออกอากาศเนื่องจากยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ที่จะเข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่และออกใบอนุญาตประกอบกิจการใหม่ให้กับผู้ประกอบการไทยได้ แม้ว่าในช่วงระหว่างที่มีการสรรหาคณะกรรมการ กสช. นั้นจะมีหน่วยงานดูแลแต่ก็ไม่สามารถออกใบอนุญาตใหม่ให้กับผู้ให้บริการรายใดเพิ่มเติมได้อีก
การเปิดให้บริการสถานีโทรทัศน์ในประเทศขณะนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี คือ ผู้ชมสามารถรับชมรายการต่างๆ ได้โดยผ่านเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรง ทั้งนี้ผู้ชมอาจต้องซื้อเสาสัญญาณมาติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อให้รับสัญญาณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน การให้บริการฟรีทีวีนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ 1) สถานีฟรีทีวีของภาครัฐ เช่น ช่อง 5 ช่อง 9 และ ช่อง 11 และ 2) สถานีฟรีทีวีของภาคเอกชน ซึ่งได้รับสัมปทานคลื่นความถี่จัดตั้งสถานีฟรีทีวี ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง ITV ที่คลื่นความถี่แตกต่างกันออกไป และเงื่อนไขของสัมปทานที่แตกต่างกัน โดยเอกชนจะต้องจ่ายค่าสัมปทานเป็นรายปี โดยทางสถานีจะมีรายได้จากการให้โฆษณาเป็นหลัก สำหรับการเข้าถึงรายการโทรทัศน์แบบฟรีทีวีนั้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 93 ของครัวเรือนทั่วประเทศสามารถรับชมรายการของฟรีทีวีได้
2. สถานีโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก คือ สถานีโทรทัศน์ที่ผู้ชมต้องจ่ายค่าบริการในลักษณะรายเดือน ให้กับบริษัทที่ให้บริการ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการในระบบโทรทัศน์บอกรับสมาชิกโดยตลาดในระดับประเทศหรือรายใหญ่ที่สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศมี 1 ราย นอกจากนี้เป็นผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่นหรือเคเบิลท้องถิ่นอีกประมาณ 300 ราย ทั่วประเทศและมีผู้ชมประมาณ 2.5 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.22 ของครัวเรือนทั่วประเทศ
การพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การแพร่ภาพสัญญาณและการใช้ความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกอากาศในระบบดิจิทัล ทำให้ช่วงคลื่นหนึ่งสามารถบีบอัดสัญญาณให้สามารถออกอากาศได้ถึง 30 ช่อง จากเดิมการใช้เทคโนโลยีอนาล็อกสามารถออกอากาศได้เพียง 1 ช่องเท่านั้น ทำให้สามารถมีสถานีโทรทัศน์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศมีผู้ให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก ซึ่งในต่างประเทศนั้นการแข่งขันของธุรกิจโทรทัศน์ได้ทำให้เกิดความหลากหลายของรายการอันเนื่องมาจากการแข่งขันทางด้านการพัฒนาคอนเทนท์หรือรายการเพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้ชมมากที่สุด เพราะนั้นหมายถึงรายได้ของสถานีที่จะมาจากการขายโฆษณาจากสินค้าและบริการต่างๆ ที่จะเข้ามาใช้บริการจากทางสถานีด้วย
สำหรับการเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศไทยนั้น ในช่วงที่ผ่านมามีผู้ได้รับสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์และผู้ผลิตรายการหลายรายให้ความสนใจที่จะเปิดให้บริการทีวีดาวเทียมในประเทศเพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ แต่ยังติดขัดที่ยังไม่มีการออกใบอนุญาตใหม่สำหรับประกอบกิจการเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีการเปิดให้บริการ “โทรทัศน์ดาวเทียม” สำหรับออกอากาศในประเทศไทยเกิดขึ้นหลายราย โดยเลี่ยงไปออกอากาศโดยใช้คลื่นความถี่ของประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง ลาว กัมพูชา โดยการส่งเนื้อหารายการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและออกอากาศโดยผ่านสัญญาณดาวเทียมจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ โดยมีเป้าหมายผู้ชมในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการอีกส่วนหนึ่งที่ออกอากาศโดยผ่านเครือข่ายดาวเทียมในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกิจการโทรทัศน์ที่ยังไม่ได้การอนุญาตอย่างถูกกฎหมายของประเทศ และเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ์การออกอากาศโดยผ่านทางคลื่นความถี่ในประเทศไทยจากผู้ให้บริการหลายรายอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาการนำเสนอรายการที่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของประเทศด้วย สำหรับผู้ที่จะสามารถรับชมรายการผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมที่ให้บริการเหล่านั้น ผู้ที่ชมรายการจะต้องซื้อจานดาวเทียมมาติดตั้งเพื่อรับสัญญาณเพิ่มเติมโดยมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 1,000-4,000 บาท หรือสามารถรับชมรายการได้จากการสมัครเป็นสมาชิกเคเบิลท้องถิ่นที่สามารถรับสัญญาณภาพได้และนำมาเผยแพร่ให้กับผู้ชมโดยเรียกเก็บค่าสมาชิกรายเดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 200-350 บาทต่อเดือน
การที่หน่วยงานอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่และการออกใบอนุญาตใหม่ให้กับผู้ประกอบการยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นนั้น ทำให้ธุรกิจทีวีดาวเทียมอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยก็อาจจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้ และก่อให้เกิดความขัดแย้งเมื่อมีการเปิดให้บริการโดยหลีกเลี่ยงไปใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการในประเทศอื่น ในขณะที่คลื่นความถี่สามารถส่งเข้ามาถึงในประเทศไทยได้ นอกจากนี้การเชื่อมต่อเข้ากับสัญญาณโทรทัศน์ในธุรกิจบอกรับสมาชิกก็เป็นการขยายฐานลูกค้าในประเทศให้เพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะยังมีแนวโน้มจะมีการเปิดให้บริการทีวีดาวเทียมโดยอาศัยช่องทางอื่นๆ ในการออกอากาศ นอกเหนือไปจากการใช้คลื่นความถี่ของประเทศอื่น โดยเฉพาะการใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตในการแพร่ภาพรายการ
การเปิดให้บริการสถานีโทรทัศน์ในประเทศขณะนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี คือ ผู้ชมสามารถรับชมรายการต่างๆ ได้โดยผ่านเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรง ทั้งนี้ผู้ชมอาจต้องซื้อเสาสัญญาณมาติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อให้รับสัญญาณได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน การให้บริการฟรีทีวีนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ 1) สถานีฟรีทีวีของภาครัฐ เช่น ช่อง 5 ช่อง 9 และ ช่อง 11 และ 2) สถานีฟรีทีวีของภาคเอกชน ซึ่งได้รับสัมปทานคลื่นความถี่จัดตั้งสถานีฟรีทีวี ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง ITV ที่คลื่นความถี่แตกต่างกันออกไป และเงื่อนไขของสัมปทานที่แตกต่างกัน โดยเอกชนจะต้องจ่ายค่าสัมปทานเป็นรายปี โดยทางสถานีจะมีรายได้จากการให้โฆษณาเป็นหลัก สำหรับการเข้าถึงรายการโทรทัศน์แบบฟรีทีวีนั้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 93 ของครัวเรือนทั่วประเทศสามารถรับชมรายการของฟรีทีวีได้
2. สถานีโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก คือ สถานีโทรทัศน์ที่ผู้ชมต้องจ่ายค่าบริการในลักษณะรายเดือน ให้กับบริษัทที่ให้บริการ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการในระบบโทรทัศน์บอกรับสมาชิกโดยตลาดในระดับประเทศหรือรายใหญ่ที่สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศมี 1 ราย นอกจากนี้เป็นผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่นหรือเคเบิลท้องถิ่นอีกประมาณ 300 ราย ทั่วประเทศและมีผู้ชมประมาณ 2.5 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.22 ของครัวเรือนทั่วประเทศ
การพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การแพร่ภาพสัญญาณและการใช้ความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกอากาศในระบบดิจิทัล ทำให้ช่วงคลื่นหนึ่งสามารถบีบอัดสัญญาณให้สามารถออกอากาศได้ถึง 30 ช่อง จากเดิมการใช้เทคโนโลยีอนาล็อกสามารถออกอากาศได้เพียง 1 ช่องเท่านั้น ทำให้สามารถมีสถานีโทรทัศน์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศมีผู้ให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก ซึ่งในต่างประเทศนั้นการแข่งขันของธุรกิจโทรทัศน์ได้ทำให้เกิดความหลากหลายของรายการอันเนื่องมาจากการแข่งขันทางด้านการพัฒนาคอนเทนท์หรือรายการเพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้ชมมากที่สุด เพราะนั้นหมายถึงรายได้ของสถานีที่จะมาจากการขายโฆษณาจากสินค้าและบริการต่างๆ ที่จะเข้ามาใช้บริการจากทางสถานีด้วย
สำหรับการเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศไทยนั้น ในช่วงที่ผ่านมามีผู้ได้รับสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์และผู้ผลิตรายการหลายรายให้ความสนใจที่จะเปิดให้บริการทีวีดาวเทียมในประเทศเพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ แต่ยังติดขัดที่ยังไม่มีการออกใบอนุญาตใหม่สำหรับประกอบกิจการเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีการเปิดให้บริการ “โทรทัศน์ดาวเทียม” สำหรับออกอากาศในประเทศไทยเกิดขึ้นหลายราย โดยเลี่ยงไปออกอากาศโดยใช้คลื่นความถี่ของประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง ลาว กัมพูชา โดยการส่งเนื้อหารายการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและออกอากาศโดยผ่านสัญญาณดาวเทียมจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ โดยมีเป้าหมายผู้ชมในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการอีกส่วนหนึ่งที่ออกอากาศโดยผ่านเครือข่ายดาวเทียมในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกิจการโทรทัศน์ที่ยังไม่ได้การอนุญาตอย่างถูกกฎหมายของประเทศ และเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ์การออกอากาศโดยผ่านทางคลื่นความถี่ในประเทศไทยจากผู้ให้บริการหลายรายอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาการนำเสนอรายการที่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของประเทศด้วย สำหรับผู้ที่จะสามารถรับชมรายการผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมที่ให้บริการเหล่านั้น ผู้ที่ชมรายการจะต้องซื้อจานดาวเทียมมาติดตั้งเพื่อรับสัญญาณเพิ่มเติมโดยมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 1,000-4,000 บาท หรือสามารถรับชมรายการได้จากการสมัครเป็นสมาชิกเคเบิลท้องถิ่นที่สามารถรับสัญญาณภาพได้และนำมาเผยแพร่ให้กับผู้ชมโดยเรียกเก็บค่าสมาชิกรายเดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 200-350 บาทต่อเดือน
การที่หน่วยงานอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่และการออกใบอนุญาตใหม่ให้กับผู้ประกอบการยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นนั้น ทำให้ธุรกิจทีวีดาวเทียมอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยก็อาจจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้ และก่อให้เกิดความขัดแย้งเมื่อมีการเปิดให้บริการโดยหลีกเลี่ยงไปใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการในประเทศอื่น ในขณะที่คลื่นความถี่สามารถส่งเข้ามาถึงในประเทศไทยได้ นอกจากนี้การเชื่อมต่อเข้ากับสัญญาณโทรทัศน์ในธุรกิจบอกรับสมาชิกก็เป็นการขยายฐานลูกค้าในประเทศให้เพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะยังมีแนวโน้มจะมีการเปิดให้บริการทีวีดาวเทียมโดยอาศัยช่องทางอื่นๆ ในการออกอากาศ นอกเหนือไปจากการใช้คลื่นความถี่ของประเทศอื่น โดยเฉพาะการใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตในการแพร่ภาพรายการ