รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เชื่อหลังการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น จะไม่มีขยะเป็นพิษจากญี่ปุ่นไหลเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศจะมีแนวทางควบคุมดูแลอย่างชัดเจน โดยไทยจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาด้านบุคลากร การอบรม การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องจักร พร้อมประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า การลงทุนอุตสาหกรรมจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อน
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เท่าที่คณะเจรจาภายใต้กรอบข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ได้มีการหารือกรณีที่คนไทยกังวลในกรอบข้อตกลงเกี่ยวกับจุลชีพธรรมชาติ และขยะอุตสาหกรรมเป็นพิษ ว่า หลังการลงนามข้อตกลงดังกล่าว ญี่ปุ่นจะนำสิ่งเหล่านี้มายังประเทศไทย ซึ่งได้รับคำยืนยันจากญี่ปุ่น ที่รับปากจะดูแลป้องกันไม่ให้ความเป็นห่วงของคนไทยทั้ง 2 กรณี มาทำลายบรรยากาศการค้าระหว่างกัน ในส่วนของไทยจะมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ร่วมกับทางญี่ปุ่น เข้มงวดเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ประเทศไทยสบายใจ ว่า จะไม่มีขยะพิษสู่ประเทศไทยแน่นอน โดยคาดว่า การลงนามตามกรอบข้อตกลงดังกล่าว จะมีขึ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากมีการลงนามจะทำให้การค้าการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมากขึ้น และจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมไทย
นายปิยะบุตร กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้หลายอุตสาหกรรมของไทยยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ ดังนั้น ทางญี่ปุ่นจะร่วมกับฝ่ายไทย จัดหลักสูตรถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับภาคเอกชนไทย โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมงบประมาณกว่า 60 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านบุคลากร การอบรม การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องจักร โดยเฉพาะการพัฒนาระบบรองรับทักษะฝีมือแรงงานแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2553 และในวันนี้ (12 มี.ค.) ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับกระทรวงแรงงาน และสถาบันยานยนต์ ในโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะเน้นสร้างทักษะฝีมือ ยกระดับเทียบเท่าสากลรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เพราะเชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงของไทย และทางญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหรรม ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ว่า เศรษฐกิจไทยจะขับเคลื่อนภาคการส่งออกอย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากภาคส่งออกทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างน้อย 1-2 ปี จึงจำเป็นจะต้องหาสิ่งทดแทนภาคการส่งออก โดยประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ภาคการลงทุน และเห็นว่า ภาคการลงทุนของไทยจะต้องเร่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนรูปแบบต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อชดเชยการส่งออกที่ทั่วโลกชะลอตัวลง รวมทั้งไทย แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าหมายตัวเลขส่งออกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 12.5 แต่ถือเป็นตัวเลขชะลอลงเมื่อเทียบกับการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมา ดังนั้น การลงทุนอุตสาหกรรมทั้งหมดจะเป็นตัวจักรสำคัญ จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม จำเป็นต้องปรับเสริมทักษะ และอาจจะมีแนวทางส่งเสริมเพื่อดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ให้ต่อเนื่องมากขึ้นต่อไป
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เท่าที่คณะเจรจาภายใต้กรอบข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ได้มีการหารือกรณีที่คนไทยกังวลในกรอบข้อตกลงเกี่ยวกับจุลชีพธรรมชาติ และขยะอุตสาหกรรมเป็นพิษ ว่า หลังการลงนามข้อตกลงดังกล่าว ญี่ปุ่นจะนำสิ่งเหล่านี้มายังประเทศไทย ซึ่งได้รับคำยืนยันจากญี่ปุ่น ที่รับปากจะดูแลป้องกันไม่ให้ความเป็นห่วงของคนไทยทั้ง 2 กรณี มาทำลายบรรยากาศการค้าระหว่างกัน ในส่วนของไทยจะมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ร่วมกับทางญี่ปุ่น เข้มงวดเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ประเทศไทยสบายใจ ว่า จะไม่มีขยะพิษสู่ประเทศไทยแน่นอน โดยคาดว่า การลงนามตามกรอบข้อตกลงดังกล่าว จะมีขึ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากมีการลงนามจะทำให้การค้าการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมากขึ้น และจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมไทย
นายปิยะบุตร กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้หลายอุตสาหกรรมของไทยยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ ดังนั้น ทางญี่ปุ่นจะร่วมกับฝ่ายไทย จัดหลักสูตรถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับภาคเอกชนไทย โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมงบประมาณกว่า 60 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านบุคลากร การอบรม การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องจักร โดยเฉพาะการพัฒนาระบบรองรับทักษะฝีมือแรงงานแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2553 และในวันนี้ (12 มี.ค.) ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับกระทรวงแรงงาน และสถาบันยานยนต์ ในโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะเน้นสร้างทักษะฝีมือ ยกระดับเทียบเท่าสากลรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เพราะเชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงของไทย และทางญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหรรม ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ว่า เศรษฐกิจไทยจะขับเคลื่อนภาคการส่งออกอย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากภาคส่งออกทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างน้อย 1-2 ปี จึงจำเป็นจะต้องหาสิ่งทดแทนภาคการส่งออก โดยประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ภาคการลงทุน และเห็นว่า ภาคการลงทุนของไทยจะต้องเร่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนรูปแบบต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อชดเชยการส่งออกที่ทั่วโลกชะลอตัวลง รวมทั้งไทย แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าหมายตัวเลขส่งออกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 12.5 แต่ถือเป็นตัวเลขชะลอลงเมื่อเทียบกับการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมา ดังนั้น การลงทุนอุตสาหกรรมทั้งหมดจะเป็นตัวจักรสำคัญ จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม จำเป็นต้องปรับเสริมทักษะ และอาจจะมีแนวทางส่งเสริมเพื่อดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ให้ต่อเนื่องมากขึ้นต่อไป